ร่างฝัน


ร่างฝัน

   ตอนนี้การทำงานกับสมาชิกในรุ่นที่ 20 ก็เริ่มกันได้มาประมาณสองสัปดาห์ครับแต่ก็ยังปรับสภาพกันได้ไม่เท่าไร แต่ก็พอไปได้ก็มีบางคนเช่นว่า ซังกับมะ คู่หูแห่งความช้ายังปรับเรื่องสติกันไม่ค่อยได้ แต่ก็เอาครับค่อยไป หรือว่าเจ้า กล้ายังสร้างความเข้าใจในหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะตนยังไม่ค่อยได้ ยังคอยไปจุ้นจ้านในเรื่องต่างๆที่เช่นการทำอาหาร กล้า นั้นเปิดร้านอาหารมาก่อนก็เข้าใจนะครับว่าอยากกินดีกินอร่อย เลยชอบดูแลและสั่งการน้องๆให้ทำอย่างที่ตนชอบ ก็ค่อยๆคอยบอกเอาละครับว่าไม่ถูกหน้าที่ท่าน และกินก็แค่อิ่ม

   ตอนนี้ได้ทราบข่าวว่าทางสำนักงานคุมประพฤติ ได้รับงบประมาณมาจากกรม 40 คนเร่งด่วนกันเอาตอนเร่งผลงานปลายปีงบประมาณกันอีกแล้ว เมื่อปีที่แล้วก็อย่างนี้แหละครับทำไม่ทันปกติปีก่อนหน้านั้นแค่ 20 คน ทำรุ่นเดียวก็เสร็จได้ทุกปีในงบประมาณครึ่งปีหลัง แต่ 40 คนคงไม่ไหว ปีที่แล้วพอดีทางคุมประพฤติไปติดต่อวัดอีกสองวัดให้เริ่มทำไม่รู้พูดคุยกันไงอะนะ

   ก็เป็นว่าปีที่แล้ว วัดเรา  20 คน วัดอีกสองวัด 10 คน แต่ปีนี้ไม่รู้ไปทำยังงัยในจังหวัดมีวัดดำเนินการเหมือนเราแล้วหลายวัด เลยจะแบ่ง วัดละ 10 คน 4 วัด (ก็ดีสบาย) อีกหลายวัดก็ไม่รู้ทำกันยังงัยแต่ก็เคยมีคนพูดว่า ใช้โมเดลของเรา เราทำมาก็สี่ปีกว่ายังไม่เห็นมีใครมาทำการเรียนรู้ทำความเข้าใจร่วมกันสักคนสักองค์เลย บอกได้ไงโมเดลเรา แถมมีคนไปดูงานมาเทียบกันเรายังบอกว่าคนละอย่างกันเลย จะให้เหมือนได้ไงต่างคนก็ต่างวิธีการและความคิดยิ่งไม่ทำความเข้าใจร่วมกันยิ่งจะเหมือนกันได้ไง ทำความเข้าใจร่วมก็ใช่ว่าจะเหมือน

  เกริ่นยาวเลยไม่ใช่อะไรที่เกริ่นเป็นเรื่องการดำเนินการในด้านบริหารและองค์ความรู้ที่จะบอกว่าเป็นปัญหาทั้งการบริหารทรัพย์สินทางปัญญาก็บอกยาก

  ไม่ใช่อะไรหรอกไอ้สมาชิกเดิม 6 คน พอรู้ว่าจะมีคนเพิ่มดีใจว่าจะสบายแต่หารู้ไม่ว่าคนเพิ่มยังงัยเราก็เพิ่มกิจกรรมแน่นอนแถมเข็มงวดในการประเมินอีกต่างหาก

  ไหนจะคนมากปัญหามันก็ต้องมากตาม ทั้งการกินอยู่หลับนอน การพาทำกิจกรรมต่างๆยุ่งไปหมดครับ ไอ้ที่จะพูดนั้นคือว่าสมาชิกเหล่านี้นั้นเขามักจะมีความคิดในการรักสบายโดยไม่ลงมือกระทำก่อนและความคิดไม่ดีหลายอย่าง เป็นกันมาตั้งแต่เริ่มโต เป็นเด็กรู้ความอายุ 6-7 ปี จนปัจจุบัน สิบกว่ายี่สิบต้นๆ พ่อแม่ยังไม่สอนให้รู้ความเลยหรือไม่ก็สอนไม่ถูกวิธีการ มาอยู่กับเราไม่กี่วันมันจะได้แค่ไหน

  บางทีพ่อแม่จะมาถาม "เป็นจังได๋พระอาจารย์มันดื้ออยู่บ่" ถ้าภาษาไทยก็ว่า "เป็นอย่างไรมันดื้ออยู่ไหม "จะบอกอย่างไรดีลูกตัวเองยังงัยพ่อแม่ก็รู้ดีกว่าเรายังจะมาถามอีก ก็บอกได้แค่ว่า "ก็สอนซ่ำสิสอนได้นี่ละ" ภาษาไทยก็ว่า "ก็จะสอนเท่าที่สอนได้"

  คือเขาจะคิดไปก่อนว่าคนมากต้องสบาย เลยต้องมาสอนกันว่าคนมาก ถ้าเราอยู่ก่อนเราไม่เป็นผู้นำ พาเขาทำมันก็จะยุ่งยาก เป็นตัวอย่างเขากิจกรรมต่างเราต้องแม่นอย่าหลง

  "อยู่ก่อนไม่ใช่ว่าจะใช้แต่เขาอยู่ก่อนนี่ยิ่งจะเหนื่อยอีกต้องทำให้เขาดูแล้วพาเขาทำอีกคอยแนะนำแก้ไขเวลาเขาทำกิจกรรมผิดไม่เช่นนั้น ท่่านก็จะโดนผมตำนิ"

   สมาชิกเหล่านี้เขาชอบมีความสุขสบายโดยไม่เรียนรู้ทุกข์กันซะก่อน การที่เราจะมีความสุขกันอย่างแท้จริงเราต้องเรียนรู้กันว่าทุกข์เป็นอย่างไรแล้วแก้ปัญหากันที่ทุกข์นั้น นั่นจึงจะเป็นความ สมบูรณ์แห่งความสุข

   วันนี้เป็นวันอาทิตย์มีญาติมาเยี่ยมบางคนพอญาติกลับก็คิดถึง พ่อ,แม่,พี่,น้อง,ลูกเมีย แต่ในการใช้ชีวิตในแต่ละวันเขากับใช้ให้มันหายไปเฉยโดยไม่คิดอะไร

   ซึ่งต้องมาสร้างความฝันในชีวิตให้เขาอีก ช่วงแรกนี้ก็เริ่มให้ สร้างฝันอย่างสั้นๆ คือให้ได้ใช้ชีวิตในศูนย์วัดนี้ 60 วันอย่างปกติและมีคุณค่าแล้วได้กลับไปใช้ชีวิตปกติ

   แค่ตรงนี้ก็ยากแล้วมาก็ไม่เต็มใจมา ก็เลยต้องหนักหน่อยในการปฏิบัติส่วนการทำงานของเรา แต่หลักการพยายามชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่ท่านหลวงปู่เมตตา ให้โอกาสให้ได้มีศูนย์นี้อยู่ ความเห็นใจจากชาวบ้านที่ไม่รังเกียจจากคุณงามความดีที่สมาชิกก่อนๆได้ทำมาแล้วเรามาต่อบุญของเขา จึงต้องรักษาคุณงามความดีนี้ไว้ต่อให้โอกาสกับผู้ที่ผิดพลาดกันอีก

  ตรวจตราความเรียบร้อยทุกอย่างแล้วก็บอกตักเตือนชี้ให้เห็นถึงว่าหากคิดและกระทำผิดพลาดจะเกิดข้อเสียอย่างไร แล้วชี้ให้เห็นว่าหากสร้างความคิดไปทางดีจะเกิดประโยชน์อย่างไร

  เช่นว่าทำไมตอนเช้าให้ตื่นกันแต่เช้าไปปัดกวาดบริเวณวัด แล้วแยกกันไปทำความสะอาดศาลาแล้วไปบิณฑบาตรกับพระ กลับมาทำวัตรสวดมนต์ ยกอาหารถวายอาหารแล้วค่อยกินข้าว ล้างถ้วยอีก ตั้งแต่ตื่นตีห้าจนสามโมงกว่าและครับจะได้พัก ก็จากล้างถ้วยเสร็จก็ประมาณสามโมงเช้าหน่อย ก็ได้พักกันจน สี่โมงเช้าค่อยลงกิจกรรมเช้า

  เราจะชี้ให้เห็นว่าหากเรามาอยู่แบบลอยๆไม่ลงมือกระทำอะไรนั่งกินๆนอนจะไม่ได้รับการดูแล จากแม่ออก,พ่อออกชาวบ้านดีอย่างนี้ การที่ได้ทำกิจกรรมต่างๆที่ให้กระทำนั้นเป็นคุณงามความดีสำหรับตนว่าการมาอยู่วัดนี้ไม่ได้นิ่งนอนใจอยู่อย่างสร้างคุณค่าอยู่นะ "ฉันก็อยากเป็นคนดี" มันเป็นกลอุบายแหละครับ ให้เขาได้คิดว่าเราทำดีคนก็เห็นคุณค่าและให้โอกาสเราดูแลในความดีของเราแต่ถ้าไม่ทำอะไรชาวบ้านไม่เอาแน่ต่อให้หลวงให้โอกาสอย่างไรก็ไม่สามารถทำได้

  เพราะวัดและชาวบ้านนั้นพึ่งพากันให้เขาได้คิดว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวนี่หว่ายังมีอีกหลายคนเราต้องทำตนให้มีคุณค่า หากอยู่ที่ไหนเราสร้างความดีมีคุณค่าก็ไม่ลำบาก

  นี่เป็นแค่บางตัวอย่างนะ อยากเล่าอีกหลายตัวอย่างแต่มันจะยาวไปถ้าอยากรู้กันอย่างลึกซึ้งแบบถึงรากเง้าต้อง เข้าวัดมาดูเอง ยิ่งช่วงนี้ท่านหลวงปู่เทศน์บ่อยมาก(เข้าวัดฟังธรรมจำศีล กินทานประหารกิเลส)

  ซึ่งเราต้องมา เริ่มกันตั้งแต่ การให้เขาได้คิด ก่อร่างสร้างความฝันในการเป็นคนดีมีคุณค่ากันก่อนแล้วถึงจะมา "เททับฉาบเรียบกันในความเป็นคนดี"กันอีกเป็นการวางโคลงสร้างการเป็นคนดีและการตบแต่งให้เป็นคนดีก็คงจะมาเล่าต่อในคราวต่อไปนะตอนนี้ก็ดึกแล้วไปพักผ่อนก่อนออมแรงไว้สู้กันวันพรุ่งนี้

ร่างฝันให้คนเป็นคนมีฝันในความดี

หมายเลขบันทึก: 450779เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2011 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท