การวางแผนยุทธศาสตร์เชิงกลยุทธ์


คนไทยทำไปวางแผนไป ญี่ปุ่นวางแผนก่อนค่อยทำ & โครงการ ที่ไม่สอดคล้องกับ KPI จะไม่ค่อยได้เงิน

วิทยากร  ดร.ชาญชัย จารุภาชน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การวางแผนกลยุทธ์ผู้บริหารระดับต้น

If you fall plan, you plan to fail ถ้าคุณล้มเหลวในการวางแผน คุณวางแผนที่จะล้มเหลว

คนไทยทำไปวางแผนไป ญี่ปุ่นวางแผนก่อนค่อยทำ

หลักพื้นฐานการบริหารเชิงกลยุทธ์

•   Strategic planning

•   Strategic Implementation

•   Strategic Evaluation

 หลักการของ Performance Management : PM  ของ ก.พ.

(๑)     การวางแผนปฏิบัติงาน

(๒)     การติดตามผลการปฏิบัติงาน

(๓)     การประเมินผลการปฏิบัติงาน

(๔)     การพัฒนาการปฏิบัติงาน

(๕)    รางวัล        

ส่วนใหญ่สนใจข้อ (๓) กับ (๕)


Strategic Planning

หลักการวางแผนกลยุทธ์

1.  ภาพฝัน:สร้างภาพฝันก่อน ว่าควรจะเป็นอย่างไร

2.  สภาพปัจจุบัน:อยู่ที่ไหน วิเคราะห์องค์กรให้เป็น

3.  หาวิธีการทำฝันให้บรรลุ:จะทำอย่างไร

 “สร้างภาพฝัน ปัจจุบันอยู่ที่ไหน จะทำฝันให้บรรลุได้อย่างไร”

กรอบการวางแผนกลยุทธ์

  • การกำหนดทิศทางในอนาคต : vision Mission Goals(Objective)
  • การวิเคราะห์สถานภาพขององค์กร :ความเป็นไปได้อย่างไร  ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก
  • การกำหนดกลยุทธ์

“จิตที่ส่งออกไปคือสมุทัย คนเกิดทุกข์เพราะจิตส่งไป ผลของจิตที่ส่งออกไปเป็นทุกข์ จิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลของจิตเห็นจิตคือนิโรธ”

ความสัมพันธ์ของยุทธศาสตร์และโครงการ

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

(ประเด็น)ยุทธศาสตร์

เป้าประสงค์:อยากได้อะไร

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย  :

กลยุทธ์:วิธีการอย่างไร: วิธีการหลักๆ จะนำไปสู่โครงการ

โครงการ:

งบประมาณ:

สิ่งที่นักวางแผนกลยุทธ์ต้องเข้าใจก่อนทำแผนกลยุทธ์
ระดับกลยุทธ์มีหลายระดับ  อย่างน้อย มี 2 ระดับเสมอ ๑.ทิศทางองค์กร:ผู้บริหาร , ๒.กลุ่มงานผู้ปฏิบัติ

ระดับที่ ๑ นโยบาย: ระดับนโยบาย   ต้องบอกให้ทำสิ่งที่ถูกต้อง ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร

ระดับที่ ๒  ฝ่ายต่างๆ ระดับปฏิบัติ มีหน.ฝ่าย,ผู้ปฏิบัติ ทำในสิ่งที่ถูกบอก ให้ดี (กลยุทธ์วิธีการดำเนินงาน)

Model การทำแผนกลยุทธ์ มีหลายสิบ Model มีหลายรูปแบบ ขึ้นกับประสบการณ์ วิธีการ ไม่เน้นขั้นตอนวิธีทำแต่เน้นความสอดคล้องเชื่อมโยง  ควรใช้ของ ก.พ.ร. เพราะสั้น กะทัดรัด ตรงกับสายการประเมิน ให้ดาวน์โหลด ก.พ.ร.

TERM,TECHNIQUE & TOOL

•   TERM แตกต่างกัน

•   TECHNIQUE ไม่เหมือนกัน

•   TOOL ไม่เหมือน/ไม่เท่ากัน

แผนกลยุทธ์และ PMQA และ HA

เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ PMQA

(๑)     การนำองค์กร

(๒)     การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

(๓)     การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(๔)     การวัด  วิเคราะห์ และการจัดการความรู้

(๕)     การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล

(๖)     การจัดการกระบวนการ

(๗)     ผลลัพธ์การดำเนินการ

การวิเคราะห์ทางกลยุทธ์

หัวใจกลยุทธ์ คือ การทำ Swot  ส่วนใหญ่ Swot แบบไม่มีหลักเกณฑ์ Swot ไม่ดี ข้อมูลไม่แน่น

หัวใจของ Swot

ระดับที่ ๑  Swot หาทิศทางองค์กร (ให้บรรลุ KPI)

ระดับที่ ๒  ระดับปฏิบัติ ทำ KPI ให้บรรลุ

ถึงจะทำเหมือนกันแต่เป้าหมายจะไม่เหมือนกัน ระดับแรกดูองค์กร ระดับปฏิบัติทำให้บรรลุ

วิธีวิเคราะห์

๑. ปัจจัยภายนอก ควบคุมไม่ได้

•   หาโอกาลแล้วเอามาใช้ ฉกฉวยให้ได้ ต้องรู้ว่าไรคืโอกาส

•   ถ้าคุกคาม ให้หลีกเลี่ยง อย่าใช้ ทำอย่างไรจะหลีกเลี่ยงได้

๒. ปัจจัยภายใน ควบคุมได้

•   จุดแข็ง เอามาใช้

•   จุดอ่อน แก้ไข

การวิเคราะห์องค์กร แบบ Swot Analysis

เพราะสั้น เร็ว กระชับ ตรงประเด็น มีส่วนร่วมทุกคน ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพได้บางเรื่อง

ก่อนการวิเคราะห์องค์กร

Swot ไปทำอะไร จำเป็นหรือที่ต้องใช้เทศนิค Swot

วัตถุประสงค์

(๑)    ระดับองค์องค์กร เพื่อการกำหนดทิศทางที่ถูกต้อง

(๒)    ระดับปฏิบัติ เพื่อกำหนดวิธีการที่ดีที่สุดที่จะให้เปาประสงค์ของกลยุทธ์บรรลุ

คำถามก่อนการ Swot

(๑)     ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ว่าปัจจัยใดเป็นปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยภายใน

(๒)     ควรวิเคราะห์ปัจจัยภายในหรือภายนอกก่อน  - ปัจจัยภายนอกก่อน เพราะวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หาโอกาสให้พบ และหาวิธีฉกฉวยและใช้โอกาสให้เป็น ด้วยวิธีการที่ดีที่สุด(อย่างไร)

ปัจจัยภายนอก มี ๒ ระดับเสมอ

๑. สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป,สิ่งแวดล้อม  (PEST) เช่นน้ำมันแพง

๒.สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน

•   ผู้รับบริการ

•   กลุ่มผู้นำชุมชน

•   องค์กรชุมชนในพื้นที่

•   Suppliers

•   คู่แข่งขัน

ทฤษฎีกระบวนการและลำดับการประเมิน

(๑)     ทรัพยากรของสถาบันหรือหน่วยงาน

(๒)     ชุดของกิจกรรม

(๓)     ผลงานตามที่ต้องการ

(๔)     การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

(๕)     จุดมุ่งหมายของแผนงาน

BALANCED SCORECARD คืออะไร

เดิมเป็นกรอบในการประเมินการดำเนิน(กลยุทธ์)ขององค์กร
ปัจจุบันเป็นเครื่องมือในการบริหารกลยุทธ์

BALANCED SCORECARD  มี 4 มิติ มีความเป็นเหตุเป็นผล สัมพันธ์กันจากมิติล่าง ขึ้นบน  อดีต ปัจจุบัน อนาคต

  • ประชาชนผู้รับบริการ
  • ชุมชน-สังคม
  • กระบวนการบริหารภายใน
  • นวกรรมการเรียนรู้

การประเมินผลการบริหารที่ดีควรจะมีความสมดุล

(๑)    สมดุลระหว่างปัจจัยที่เป็นเหตุและปัจจัยที่เป็นผล

(๒)    สมดุลการวัดผลงานที่เป็นเงินและไม่ใช่เงิน

(๓)    สมดุลยระหว่างอดีตปัจจุบันและอนาคต

(๔)    สมดุลระหว่างทรัพย์สินที่จับต้องได้และที่จับต้องไม่ได้

Balanced Scorecard (BSC) ประกอบด้วยมุมมอง  4 ด้าน

  • มุมมองทางด้านการเงิน (Financial perspective)
  • มุมมองทางด้านลูกค้า (Customer perspective)
  • กระบวนการธุรกิจภายใน(Internal business process)
  • การเรียนรู้และการเติบโต(Learning and Growth perspective)

กระบวนการคิด Balanced Scorecard (BSC)  มีหลายรูปแบบ เช่น
ก.พ.ร.,กระทรวงสาธารณสุข

โครงการ ที่ไม่สอดคล้องกับ KPI จะไม่ค่อยได้เงิน

VISION

หลักการวางแผนกลยุทธ์

(๑)     ภาพฝัน

(๒)     สภาพปัจจุบัน

(๓)     หาวิธีการทำฝันให้บรรลุ

กรอบการวางแผนกลยุทธ์

(๑)    การกำหนดทิศทางในอนาคต

(๒)    การวิเคราะห์สถานภาพขององค์กร

(๓)    การกำหนดกลยุทธ์

การวางแผนกลยุทธ์เริ่มต้นด้วยการทำภาพในอนาคตและหน้าที่ขององค์กรให้ชัดเจน

วิสัยทัศน์ ต้องใช่ เท่านั้น ถึงจะเป็นวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน

วิสัยทัศน์ขององค์กร

สิ่งที่เหมาะสมสูงสุดที่องค์กรปรารถนา อยากจะให้บรรลุในอนาคต เป็นผลลัพธ์ ขั้นสุดท้ายขององค์กร

หน้าที่หลักของผู้บริหาร ต้องทำให้วิสัยทัศน์องค์กรบรรลุ

•    ชี้นำการตัดสินใจที่ชัดเจน ต้องเป็น ควรเป็น ให้ชัดเจน ไม่ใช่ ทั่วๆไป

•    สะท้อนความเป็นเลิศ จุดประกาย การแข่งขัน ท้าทาย

•    กระตุ้นให้คนในองค์กร ฮึกเหิม มุ่งมั่นรู้สึกร่วมโดยทุกฝ่าย โค่นคู่ต่อสู้

ตัวอย่าง เช่น     

  ล้ำเลิศบริการ บริหารโปร่งใส ประทับใจประชาชน (รพ.พิมาย)

  เป็นเมืองน่าอยู่ เคียงคู่ธรรมาภิบาล บริการประทับใจ

  เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการวิจัย การมีคุณภาพ ความเป็นเลิศทางวิชาการ
และพึ่งพิงได้

  คุณภาพได้มาตรฐาน บริการประทับใจ

  คุณภาพเหนือมาตรฐาน บริหารดี ภาคีมีส่วนร่วม

  บริการได้มาตรฐาน บริหารจัดการดี ภาคีมีส่วนร่วม

  บริการเหนือมาตรฐาน บริหารดี ภาคีมีส่วนร่วม

การกำหนดวิสัยทัศน์ พบได้หลายลักษณะ

ลักษณะที่ 1    การกำหนดเวลา/ไม่กำหนดเวลา

ลักษณะที่ 2    เป็นการเปรียบเทียบกับภายนอกองค์กร คู่แข่ง

ลักษณะที่ 3    เป็นการดำเนินการภายในให้ดีกว่าเดิม การไปสู่ความเป็นเลิศ
การมีเป้าหมายไปสู่ความสมบูรณ์แบบ เน้นหนักความเป็นเลิศภายใน

ลักษณะที่ 4    ความสั้น/ยาว ของข้อความ

การเขียนวิสายทัศน์ทีดี  : สั้น ชัด เข้าใจง่าย ให้พลัง

วิสัยทัศน์ที่มีพลังที่สุด   : วิสัยทัศน์ที่ทุกคนในองค์กรมีความรู้สึก
เป็นเจ้าของ

ปัญหาที่พบบ่อย

(๑)     ไม่นำไปปฏิบัติ(ผู้บริหารไม่ใส่ใจ/ไม่กล่าวถึง/จำไม่ได้)

(๒)     ไม่ชัดเจน/ไม่สื่อสาร (ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน/ไม่เข้าใจ มีวิสัยทัศน์ แต่ไม่เห็นภาพ)

(๓)     ไม่กระตุ้นไม่ท้าทาย (แต่เพ้อฝันชั้นนำ วิสัยทัศน์โหล)

(๔)     ไม่มีส่วนร่วม (เป็นของผู้บริหาร)

(๕)     ไม่มีเจ้าของ (จรจัด วิสัยทัศน์กำพร้า)

MISSION

คำถามในการกำหนดพันธกิจของหน่วยราชการ

๑.  ทำไมจึงต้องมีหน่วยงานนี้ (ไม่มีได้หรือไม่ ทำไมรัฐบาลต้องจ่ายงบประมาณให้)

๑.๑ หน่วยงานเราต้องทำอะไร(เราขายบริการ- สินค้าอะไร) ถ้าดุลูกค้า เป็นการไร้มารยาท

๑.๒ ให้บริการแก่ ใคร(ใครคือลูกค้า) ถ้าไม่ตาย ซื้อIMF RMF ดีกว่า ซื้อประกัน

๒.  ทำอย่างไร จะบรรลุ วิสัยทัศน์

การกำหนดพันธกิจที่ดี(ราชการ)

  รู้ว่าต้องทำอะไร(ตามกฎหมาย)

  ต้องทำอะไรที่จะนำไปสู่วิสัยทัศน์

ภารกิจตามกฤษฎีกา (กฎหมาย) ขึ้นก่อน

ที่มาของพันธกิจ

ลำดับที่ ๑   พันธกิจหลัก ตามที่ถูกกำหนดด้วยกฎหมาย กฤษฎีกา อาณัติ
ซึ่งจะเป็นพันธกิจที่จะคงอยู่ควบคู่ตลอดกับองค์กร เป็น Organization
Charter

ลำดับที่ ๒   เป็นการกำหนดพันธกิจที่องค์กรจะต้องดำเนินการให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่องค์กรกำหนดขึ้น

ลำดับที่๓    เป็นการกำหนดตามความต้องการของ Policy Need, Stakeholder Need และ Organization Need

ในลำดับที่ ๒,๓ อาจจะมีการปรับเปลี่ยนได้ตาม Vision, policy หรือสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

ค่านิยมองค์กร

ค่านิยม
คือ หลักการและพฤติกรรมชี้นำที่คาดหวังให้คนในองค์กรปฏิบัติ เป็นความเชื่อ ปรัชญาในการทำงาน ว่าคิดแล้วทำอย่างนี้องค์กรจะบรรลุวิสัยทัศน์

ค่านิยม

  เป็นสรณะให้ทุกคนยึดถือในการทำงานร่วมกัน(DNA ของคนในองค์กร)

  เป็นรากฐานของการสร้างวัฒนธรรมขององค์กรเข้มแข็งไม่แกว่งไปมาตรฐานตามบุคคลิกและพฤติกรรมของผู้บริหาร

ค่านิยมควรประกอบด้วย

•    หลักการทำงาน และการทำงานร่วมกัน

•    ความรับผิดชอบและการให้บริการต่อผู้รับบริการ    ผู้ป่วยผู้ป่วย

•    ประเด็นทางจริยธรรม ต่อตนเอง วิชาชีพ องค์กร

คำสำคัญ (Tags): #If you fall plan#you plan to fail
หมายเลขบันทึก: 450735เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2011 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท