ร่างประเด็นเชิงนโยบายการพัฒนาระบบการให้บริการด้านสุขภาพ


PC เป็นการดูแลสุขภาพที่เข้าถึงง่าย มีคุณภาพ เชื่อมโยงกับบริการ รพ.

ร่างประเด็นเชิงนโยบายการพัฒนาระบบการให้บริการด้านสุขภาพ

เป้าหมายหลัก

ปี 2557 รพ. จะรับเฉพาะ Case Refer จากหน่วย PC จะไม่มี OP walk-in

tern :-  Primary Care Unit  PC = หน่วยบริการปฐมภูมิ

           OP walk-in                = ผู้ป่วยนอกเข้ารับบริการตรวจรักษา(ตรง)

นโยบายและทิศทาง 

  • ระบบบริการสุขภาพจำเป็นต้องปรับปรุง(Re-design)
  • ปรับปรุงควรอยู่บนฐานความรู้ทางวิชาการและข้อจำกัดด้านทรัพยากร  (Set
    Priority & Phasing)
  • สธ. ต้องทำหน้าที่เป็นกลไกหลักในการเปลี่ยนแปลง ทำหน้าที่เชื่อมประสานกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง  

กรอบแนวทางในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 

  • Satellite OP/PC & Centralized IP หรือ Cluster IP
  • พัฒนา Excellence Center
  • พัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วย
  • พัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ
  • พัฒนาระบบคุณภาพและการประเมินเทคโนโลยี
  • พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการใหม่

กรอบแนวทาง Satellite OP/PC & Centralize IP

หลักการ จัด Satellite OP

  • เป็นบริการ PC เพื่อกระจาย OP ออกจาก รพ.
  • เน้นมองภาพเป็น  District  Health System
  • PC เป็นบริการด่านแรกให้ ปชช. เข้าถึงบริการ ที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม
  • PC เป็นการดูแลสุขภาพ ที่เข้าถึงง่าย มีคุณภาพ เชื่อมโยงกับบริการ รพ.
    และภาคส่วนอื่นในการดูแลสุขภาพ
  • จัด PC เป็น Network หรือ Stand Alone ตามที่เหมาะสม

กำหนดงานบริการของระดับ รพ.   

  • ระดับ 2.1  บริการ OP-IP ไม่ซับซ้อน +ดูแล เครือข่ายบริการ PC (OP+PP)
  • ระดับ 2.2  จัดบริการ (OP+PP) +  OP เฉพาะทาง  ตามระดับการมีแพทย์เฉพาะทาง (4 สาขา+) + ทีมสนับสนุน + เครื่องมือที่สอดคล้องกัน
  • ระดับ 2.2  ที่เป็น Node  + อีก 2 สาขา (ศัลยกรรมกระดูก+วิสัญญี)
  • ระดับ 2.3 จัดบริการสาขา Minor ระดับ 3 ขึ้นไป : Sub-Board

กรอบแนวทาง  Excellence Center 

o      ต้องมีนโยบาย และข้อสั่งการที่ชัดเจน  เพื่อเป็นกรอบแนวทางปฏิบัติให้ รพ.  ที่เป็น Center

o   ให้มีคณะกรรมการกลางในระดับกระทรวง  เป็น คณะกรรมการบริหาร 1 ชุด และคณะอนุกรรมการวิชาการชุดย่อย 3 ชุด และ คณะกรรมการ ระดับเขต (มีผู้แทน  Center  และ ดึงอาจารย์และหน่วยงานนอกมาร่วม)

o      ต้องมีกลไก กำกับ ติดตามในภาพรวม

o   ข้อเสนอเพื่อพัฒนา Cardio Center  ควรเน้นการจัดบริการที่ศูนย์และการบริการเชิงรุก , Trauma    Center ควรเน้นบริการในระดับเครือข่ายและเน้นวิชาการ, high tech instrument และ Cancer    Center  ควรเน้นรวมทีมผู้ให้การรักษาพยาบาลและการป้องกัน รวมทั้งการค้นหาผู้ป่วย

กรอบแนวทางระบบส่งต่อ

o      ให้มีศูนย์ประสานการส่งต่อของเขต ที่ รพศ./รพท. ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง มีหัวหน้าทีม และมี จนท. ประจำ 24 ชม.

o      ให้มีศูนย์ประสานการส่งต่อของจังหวัด เพื่อประสานทุก รพ.  และเป็นพี่เลี้ยงในจังหวัด

o      ศูนย์ฯ ทำหน้าที่ประสานข้อมูลกับ สปสช. , สสจ. เกี่ยวกับ Hi cost , DRG เพื่อการบริหารงบประมาณ  

o      ศูนย์ฯ เขต ประสานภายในเครือข่าย เพื่อ Update ข้อมูล ทั้ง คน เงิน ของ  กับศูนย์ฯ จังหวัด

ให้พิจารณาการบริหารจัดการศูนย์ส่งต่อผู้ป่วยกับศูนย์ EMS ตามความเหมาะสม

กรอบแนวทาง New Management

กลไกส่วนกลาง

  • คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการระดับกระทรวง
    ทำหน้าที่กำกับ ดูแล สนับสนุน ในระยะยาว (ปลัด สธ.-ประธาน, สบภ.-เลขา)
  • ทีม คณะทำงาน ย่อย Support ด้านวิชาการ ให้ คกก.
    เช่น ทีม GIS ทีมแพทย์ประจำบ้าน ทีมแก้ปัญหากำลังคน ฯลฯ
  • ปรับโครงสร้าง สบกส. ให้เข้มแข็ง
    (รวมหลายหน่วยย่อย) เป็นหน่วยงานหลัก สนับสนุน/ดูแลหน่วยงานภูมิภาค

กลไกส่วนภูมิภาค

กลไกระดับเขต
-         คกก.ระบบบริการเขต บริหารภาพเขต

-         สนง.สธ. เขต ทำหน้าที่สนับสนุนวิชาการ

กลไกระดับจังหวัด

-         คกก.ระบบบริการจังหวัด : กำกับติดตามงาน PC, ทบทวน SP , ระบบส่งต่อ , ระบบ รพ. พี่เลี้ยง

กลไกระดับอำเภอ

-         DHB : บริหารจัดการงบประมาณ และระบบบริการ PC

-         มีหน่วยรับผิดชอบPC แยกอยู่ในเวชกรรมสังคม/เวชศาสตร์ชุมชน

กรอบแนวทาง Quality &Technology Management

  • การประเมินคุณภาพบริการ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ต้องเชื่อมประสานกับ พรพ. และ สปสช. เพื่อกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพบริการ 
  • สธ. ควรกำหนดเกณฑ์ความเสี่ยงในการบริการ เพื่อสื่อให้ประชาชนรับรู้รับทราบ
  • ต้องมีระบบข้อมูลการประเมินคุณภาพบริการ
  • การประเมินเทคโนโลยี ต้องมีการประเมินความคุ้มค่าการลงทุนเครื่องมือราคาแพง
  • การดูแลด้านการกระจายเครื่องมือราคาแพง

กรอบแนวทางของ HRH (HRD/HRM)

การวางแผน (Planning)

  • ควรจัดทำแผนความต้องการ HR ประเภทต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาระบบบริการ และต้องทบทวนเป็นระยะ

การผลิต (Production)

  • ทิศทางการผลิต ต้องให้ความสำคัญกับ HR ที่ปฏิบัติงานอยู่ใน DHS ได้แก่ FM พยาบาลชุมชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  • ส่งเสริมการผลิต HR เพื่อแก้ปัญหาการกระจายในระยะยาว โดยยึดแนวคิดการรับนักเรียนจากพื้นที่เข้าสู่ระบบการผลิต
  • การผลิตกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  ต้องพิจารณาให้สอดคล้องต่อความจำเป็น (ทั้งระดับประเทศ/พื้นที่) โดยต้องมีกลไกในการจัดการ
  • HR กลุ่มนี้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  (Maximize Utility)

การใช้งาน (Utilization)

  • ปรับระบบการจ้างงานของ สธ. ใหม่ ที่มีแรงจูงใจมากพอ เพื่อรองรับ HR
    กลุ่มที่ไม่ได้รับการบรรจุเข้าเป็นราชการ
  • ใช้แนวคิด Resource pooling and sharing เพื่อบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะในกลุ่มทีมีจำนวนจำกัด เช่น แพทย์เฉพาะทาง
  • ปรับแนวทางและมาตรการสร้างแรงจูงใจ เน้นไปในทิศทางที่ตอบสนองต่อผลิตผลของงาน (performance based)  เน้นการแก้ไขปัญหาการกระจายระหว่างเขตเมืองและชนบท

New Topics

  • Service Plan
  • Tambon Health  Promotion Hospital and 10 year-plan development
  • New HRD
  • Cost of medical care
  • Disaster
  • Speed of Change
  • Local Government
คำสำคัญ (Tags): #District Health System
หมายเลขบันทึก: 450732เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2011 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท