มนุษยสัมพันธ์สิ่งสำคัญของชีวิต


มนุษยสัมพันธ์

มนุษยสัมพันธ์สิ่งสำคัญของชีวิต  

                                                                                                                                                   

 มนุษยสัมพันธ์หมายถึงอะไร?

                มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจของบุคคลอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ โดยมีความพอใจในทางเศรษฐกิจและสังคมมนุษย์สัมพันธ์ จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์เพื่อใช้ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคล การยอมรับนับถือ การให้ความร่วมมือ และการให้ความจงรักภักดีในการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลต่อบุคคลตลอดจนองค์กรต่อองค์กร (David, Keith, 1977) 

                มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์  ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน(ราชบัณฑิตยสถาน, 2546 : 833)

อัจฉริยภาพด้านมนุษยสัมพันธ์และการเข้าใจผู้อื่น ดีกับเราอย่างไร?

                มนุษยสัมพันธ์เป็นตัวแปรสำคัญที่จะกำหนดว่า เราจะไปถึงจุดไหนในชีวิต  และชีวิตของเราจะมีความสุขได้ยากหรือง่าย เราจะก้าวหน้าในด้านการงานหรือจะย่ำอยู่กับที่  เราจะมีความสุขในชีวิตสมรสหรือต้องอย่าร้าง หรืออยู่กันอย่างระหองระแหง  เราจะเป็นที่รักเอ็นดูของผู้ใหญ่หรือไม่มีใครอยากสนับสนุน สารพัดความสุขในโลกมนุษย์นั้นมักมาจากตัวแปรตามอัจฉริยภาพด้านนี้เสียมาก

จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีอัจฉริยภาพด้านมนุษยสัมพันธ์?

การตรวจสอบตัวเองทำได้ไม่ยาก ลองพิจารณาดูว่าคุณมักจะมีพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่ 

  • o มีเพื่อนหลายกลุ่ม กลุ่มละหลายคน  o สนทนากับผู้อื่นได้เป็นเวลานานๆ   o เพื่อนๆ วางใจหรือมักมาขอความคิดเห็น  o ชอบนั่งดูผู้คน   o ทักทายผู้อื่นก่อน  o เปิดโอกาสให้ผู้อื่นพูดคุยด้วยเสมอ  oสามารถทำให้ผู้อื่นสบายใจได้  o สังเกตอารมณ์ของผู้อื่นได้รวดเร็ว  oชอบให้ความช่วยเหลือผู้อื่น o ทำให้ผู้อื่นคล้อยตามได้  o เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นในสถานการณ์ต่างๆ  o ชอบทำงานกลุ่ม  o เพื่อนๆ มักเข้ามาปรึกษาปัญหา  o ชอบงานอาสาสมัคร  และ o มักเป็นผู้วางแผนกิจกรรมสำหรับสมาชิกในกลุ่ม

กิจกรรมใดที่ช่วยส่งเสริมอัจฉริยภาพด้านมนุษยสัมพันธ์และการเข้าใจผู้อื่น?

                - ยิ้ม  การยิ้มเป็นประตูการสร้างความสัมพันธ์ในระดับสูงขึ้นต่อๆ ไป

                - อ่านความหมายจากใบหน้า   จะทำให้เรามีข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับผู้ที่เราสื่อสารด้วย และนำมาใช้เพื่อให้การนำเสนอของเราโดนใจเขามากขึ้นได้

                - ฟังอย่างลึกซึ้ง วิธีฝึกคือ ให้เราตั้งใจฟังอย่างแท้จริง โดยไม่ตอบโต้ใดๆ ยกเว้นการสบสายตาและแสดงสีหน้า  จนกว่าเขาจะหยุดพูด จากนั้นจึงค่อยเริ่มบทสนทนาของเรา

                - ชวนคุยในเรื่องเขา บอกเล่าเรื่องของเรา หรือพูดคุยในเรื่องที่ทั้งสองฝ่ายสนใจ

                - คิดแบบWin-Win Situation / การแก้ปัญหาแบบชนะ-ชนะ  เป็นวิธีคิดที่พยายามหาทางออกของปัญหาที่จะสามารถทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์

                - นั่งดูผู้คน เพื่อมองหาจุดเด่นหรือจุดที่น่าสนใจของคนที่เดินผ่านจะเปิดวิธีคิดของเราให้มองเห็นด้านดีๆ ของผู้อื่นได้ง่ายขึ้น

                - เพื่อนสอนเพื่อน การแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วยวิธีการที่เป็นมิตร  ทำให้เราเก่งขึ้นและได้เพื่อนมากขึ้นด้วย

                - ร่วมกิจกรรมกลุ่มในโอกาสต่างๆ   เปิดโอกาสให้กับตัวเอง ด้วยการออกไปร่วมกิจกรรมแปลกๆ ใหม่ที่ต้องเข้ากลุ่มกับคนหมู่มาก  เพื่อเปิดโอกาสในการทำความรู้จักกับผู้คนใหม่ๆ

                มนุษยสัมพันธ์มีคุณค่ามาก  เพราะเมื่อเรามีเพื่อนไม่ว่าจะเป็นวัยใดก็ตามเรา  เราจะเรียนรู้การเป็นผู้ให้  ให้ความรัก ให้ความรู้ ให้ประสบการณ์ ให้ความช่วยเหลือ และสิ่งที่เราได้รับคือความสุขใจซึ่งมีค่ามากกว่าการมีเงินทอง ความรู้และความสามารถจึงสู้มนุษยสัมพันธ์ไม่ได้

 

 

 

 

ที่มา :    

วนิษา  เรซ, อัจฉริยสร้างได้, พิมพ์ครั้งที่ 1. (ปทุมธานี : บริษัทอัจฉริยะสร้างได้ จำกัด),  2550.

ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์), 2546.

http://socialscience.igetweb.com/index.php?mo=3&art=11923  วันที่ 15 กรกฎาคม  2554                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                        

 

 

คำสำคัญ (Tags): #มนุษยสัมพันธ์
หมายเลขบันทึก: 450540เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2011 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท