ความปลอดภัยทางถนน


จะเห็นว่าปัญหานี้ถือเป็นปัญหาที่ทั้งระดับนโยบายและสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติต่างเห็นตรงกัน และมีความตั้งใจที่ต้องการลดการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และการที่จะทำให้นโยบายสาธารณะนี้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายจริงได้ ล้วนต้องอาศัยพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม นับเป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่ง

ครั้งก่อนได้นำเสนอเรื่องราว “ความตายบนถนน” โดยได้ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเรามียอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ยวันละ ๓๑ คน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการตายของประเทศในทวีปเอเซีย

นอกจากนั้นยังได้นำเสนอให้ผู้อ่านทราบว่า ปัญหานี้ได้ถูกหยิบยกไปถกแถลงกันในเวทีการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๒ เมื่อปลายปี ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา และสุดท้ายได้มีฉันทามติให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมมือกันทำงานเพื่อลดอัตราการสูญเสียที่เกิดขึ้น

ผมได้ติดตามที่มาที่ไปของเรื่องนี้ จึงทราบว่า ไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่กำลังประสบกับปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศทั่วโลก จนองค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมระดับรัฐมนตรีทั่วโลกเรื่องความปลอดภัยทางถนน ขึ้น ณ กรุงมอสโก ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ภายใต้ชื่อ “ถึงเวลาแล้วที่จะต้องลงมือแก้ไข” หรือ Time For Action และได้มีการประกาศปฏิญญามอสโกเพื่อให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกนำไปดำเนินการให้เกิดผล

ปฏิญญามอสโกได้รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนของโลกว่ามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ปีละประมาณ ๑.๓ ล้านคน หากไม่มีการผลักดันหรือดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจะทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น จึงเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกของยูเอ็นได้มีการผลักดันและให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยกำหนดเป้าหมายลดการเสียชีวิตของโลกให้ลดลงครึ่งหนึ่ง ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ภายใต้การดำเนินการ ๓ ข้อ คือ

ข้อ ๑ ประกาศให้ ปี ๒๕๕๔ – ๒๕๖๓ เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for Road Safety)

ข้อ ๒ กำหนดเป้าหมายในระดับที่ท้าทาย เพื่อดำเนินการให้เหมาะสมในแต่ละประเทศ และ

ข้อ ๓ ให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ แผนงานและงบประมาณโดยมีกรอบในการดำเนินงานที่สำคัญ ๕ ประการ คือ (๑) การพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการ (Building management capacity) (๒) การดำเนินการในการออกแบบถนนและการจัดการโครงข่ายถนนที่รองรับผู้ใช้ถนนทุกกลุ่ม (Influence road design and network management) (๓) การดำเนินการเพื่อให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยของรถ (Influence vehicle safety design) (๔) การดำเนินการเพื่อให้มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้ถนนทุกกลุ่ม (Influence road user behavior) และ (๕) การปรับปรุงการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ (Improve post crash care)

ถัดจากการประชุมที่มอสโกไม่นาน สมัชชาสหประชาชาติได้มีการประชุมครั้งที่ ๖๔ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ได้รับรองคำประกาศเจตนารมณ์ปฏิญญามอสโก และประกาศให้ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๖๓ เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน  และเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกมีการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการพร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายการลดการเสียชีวิตในระดับที่ท้าทายให้เหมาะสมกับปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในแต่ละประเทศเมื่อสิ้นสุดทศวรรษ

ประเทศไทยเราในฐานะประเทศสมาชิกหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ก็ได้ดำเนินการตามข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๓ พิจารณาเห็นว่าประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ควรมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนวาระความปลอดภัยทางถนนของโลก จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานความปลอดภัยทางถนนตามกรอบปฏิญญามอสโก และมีมติให้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

และเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ ครม. ก็มีมติเห็นชอบกำหนดให้ปี ๒๕๕๔ – ๒๕๖๓ เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (Decade of Action for Road Safety) เพื่อบูรณาการการดำเนินงานจากทุกภาคส่วน และให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับ โดยมีเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่ำกว่า ๑๐ คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคนในปี ๒๕๖๓

จะเห็นว่าปัญหานี้ถือเป็นปัญหาที่ทั้งระดับนโยบายและสมาชิกสมัชชาสุขภาพแห่งชาติต่างเห็นตรงกัน และมีความตั้งใจที่ต้องการลดการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และการที่จะทำให้นโยบายสาธารณะนี้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายจริงได้ ล้วนต้องอาศัยพลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม นับเป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่ง

หมายเลขบันทึก: 450496เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2011 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ผู้ผลิตป้ายความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์ด้านการจราจร

ผู้ผลิตป้ายความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์ด้านการจราจร ความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับแรก TAS ผู้ผลิตป้ายความปลอดภัยทุกรูปแบบค่ะ ผู้ผลิต ป้ายความปลอดภัย safety signs บริษัท ที เอ เอส กราฟฟิค ดีไซน จำกัด http://www.tasgd.com โทร 0-2-277-0137-40 แฟกซ์ 02-277-0150 เป็นผู้ผลิตป้ายสัญลักษณ์เพื่อความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ( Safety Sign ) ป้ายจราจร ( Traffic Sign ) และจำหน่ายอุปกรณ์เพื่อการจราจร เช่น

  • ป้ายความปลอดภัย ( Safety ) – ป้ายเครื่องหมายจราจร – ป้ายสถิติ ความปลอดภัย

  • ป้ายในโรงงานอุตสาหกรรม - และป้ายในรูปแบบต่างๆ ป้ายงานสั่งทำ ฯลฯ

  • ป้ายทางหนีไฟชนิดเรื่องแสง – ป้ายกล่องไฟและตู้ไฟฉุกเฉิน

– ป้ายระวัง – ป้ายระวังอันตราย

  • แผงกั้นจราจร และกรวยยางจราจรสะท้อนแสง - เสื้อจราจรคาดแถบสะท้อนแสง

  • กระจกโค้งรอบทิศทาง - ยูโรเทป

  • หมุดแบ่งเลนสะท้อนแสง - ผลิตภัณฑ์ เพื่อชีวอนามัย ( ถังขยะ )

  • แขนกั้นรถแบบธรรมดา (ไม้กระดก) มีหลายรูปแบบให้เลือกมากมาย ทั้งแบบแขนตรงและแขนที่พับได้เหมาะสำหรับ อาคารที่จอดรถ คอนโด หรือ อาคารสำนักงาน ฯลฯ

ติดต่อ 022770137-40 #11 E-mail : [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท