ลำพลอย
อาจารย์ ณัฐพร ลำพลอย ปันธินวน

มาตรา 1300-1306


การเพิกถอนการได้ทรัพยสิทธิทางทะเบียน

วิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์สิน 

มาตรา 1300- 1307

โดย ณัฐพร   ปันธินวน

การเพิกถอนการได้ทรัพยสิทธิทางทะเบียน

มาตรา 1300

มาตรา 1300  มาดูเรื่องการเพิกถอนการได้ทรัพยสิทธิทางทะเบียน เป็นบทต่อเนื่องจาก 1299

คือกรณีมีการซื้อขายกันแล้วแต่ยังไม่มีการจดทะเบียน  ต่อมามีการโอนขายให้บุคคลภายนอกไปแล้วไปจดทะเบียนให้คนนอก  ผู้ที่ทำสัญญาคนแรกคือผู้ที่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนได้อยู่ก่อน

กรณีนี้หากคนนอกที่รับไป ไม่สุจริตหรือไม่เสียค่าตอบแทน  ผู้ที่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนได้อยู่ก่อน  ก็สามารถฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนของบุคคลภายนอกได้

เพราะ 1299 วรรคแรกบอกว่าถ้าไม่จดทะเบียนไม่บริบูรณ์

ส่วน 1299  วรรคสอง  การได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม  ถ้าไม่ได้จดทะเบียน จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ที่สุจริต  เสียค่าตอบแทน  จดทะเบียนไม่ได้ 

แต่คนที่ได้มาทางอื่นนอกจากเป็นที่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนได้อยู่ก่อน  ก็สามารถฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียนของบุคคลภายนอกได้ ถ้าคนนอกที่รับไป ไม่สุจริตหรือไม่เสียค่าตอบแทน 

เจตนารมณ์หลักๆก็น่าจะเพื่อ วรรคสองเป็นพิเศษ แต่ก็ใช้กับทั้งสองวรรคแหละครับ คือใครก็ตามมีสิทธิก่อน คือ อยู่ในฐานะที่จะจดทะเบียนสิทธิได้ ก่อน คล้ายๆ

บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน  เพิกถอนการจดทะเบียนของบุคคลภายนอกได้ ถ้าคนนอกที่รับไป ไม่สุจริตหรือไม่เสียค่าตอบแทน 

บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน?

กลุ่มแรก  คนที่ทำนิติกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งอสังหา  ตกลงกันเรียบร้อยแล้ว  เหลือเพียงแต่ยังไม่ทันได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนเท่านั้น

เช่น 

1. ตกลงกันเรียบร้อยแล้ว  การซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแล้ว  นัดกันไปโอนที่ดิน  แต่วันโอนที่  เอกสารไม่ครบขาดสำเนาบัตรประชาชน  จึงไม่สามารถโอนได้  ระหว่างนั้นถ้าเอาไปโอนให้คนนอก  คนแรกถือว่าเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนของตนได้อยู่ก่อน  เพิกถอนการโอนของคนนอกได้ถ้าคนนอก ไม่สุจริต หรือไม่เสียค่าตอบแทน

1/1.  สมมุติว่า ก ยกที่ดินที่มีโฉนดตีใช้หนี้ให้ ข โดยไม่จดทะเบียน ต่อมา ก ขายให้ ค ถามว่า ข จะฟ้องเพิกถอนได้หรือไม่ ถ้าได้ก็เรียกว่าอยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน

2.  ก. ตกลงขายบ้านให้ ข.แล้ว  ทำหนังสือกันเอง  จ่ายเงินแล้ว  แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนเพราะเจ้าพนักงานทีดินส่งโฉนดไปกรมที่ดิน  จึงมอบการครอบครองให้ไปพรางก่อน  แล้วจะทำการโอนให้ในภายหลัง ถือว่า ข. อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน

3. ก.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินพร้อมบ้านให้ ข. โดยจะโอนที่ให้เมื่อ ข.อายุครบ 20 ปี  ศาลพิพากษาตามยอม  ต่อมา ข. อายุ 24  ก.ยังไม่ไปจดทะเบียนโอนให้  ต่อมา ก.โอนที่ดินให้ ค.เพื่อตีใช้หนี้  ข.อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน  ถ

4. ตกลงกันแล้วเจ้าของที่ผัดผ่อนไม่ยอมไปโอน 

เป็นหรือกรณีที่ศาลพิพากษาตามยอม ให้ใครคนใดคนหนึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินถือว่าบุคคลนั้น อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน

มาตรา 1300 เป็นเครื่องมือของผู้ได้มาซึ่งทรัพย์สิทธิ หรืออสังฯ ในทางนิติกรรมที่ไปฟ้องเค้าเพิกถอนการโอนสิทธิตัวนั้น

ฎ.1007/2529

ก ได้ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้ ข แล้ว ได้มอบที่ดินพิพาทให้เข้าครอบครองทำนาในที่ดินตลอดมาโดยสัญญาว่าจะโอนสิทธิทางทะเบียนให้ในภายหลังซึ่งขณะนั้นที่ดินพิพาทมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)แล้ว

ต่อมา กได้จดทะเบียนขายฝากที่ดิน ค   ไม่ไถ่คืนภายในกำหนดโดย ค  ไม่เคยเกี่ยวข้องกับที่ดินเลยทั้งซื้อฝากที่ดินพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทนและไม่สุจริตเป็นทางให้ ข ซึ่งอยู่ในฐานะที่จะบังคับให้  ก จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้ตนได้อยู่ก่อนแล้วเสียเปรียบ ข มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทระหว่าง  ก กับ ข  ได้ตามมาตรา 1300 และบังคับให้  ก  จดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้ตน  ค ไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเอาคืนที่ดินพิพาทที่ตนได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทนและไม่สุจริต.

 

กรณีสัญญาประเภทจะ  ไม่ถือว่าเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนได้อยู่ก่อน

เพราะเป็นการได้มาโดยทางนิติกรรมที่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิเท่านั้น(มิใช่สิทธิที่จะนำมาจดทะเบียนการได้มาดั่งเช่นทรัพยสิทธิ)  เช่น  สัญญาจะซื้อจะขาย  ไม่สามารถบังคับให้ไปจดทะเบียนได้    เพียงแต่บังคับให้ผู้จะขายทำสัญญาซื้อขายได้เท่านั้น

 

ดังนี้คู่ผู้จะซื้อไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิได้อยู่ก่อน

 

ทางแก้

ใช้ 237 (เจ้าหนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้ทำลงโดยรู้อยู่แล้วว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ)  เป็นหนี้ที่มีเจ้าหนี้ ต้องเกิด เรื่องบุคคลสิทธิก่อน เป็นเรื่องที่มีเจ้าหนี้ แต่ 1300 ไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหนี้

 

จริงๆก็สืบเนื่องจากข้อสองแหละคือเริ่มจากไม่มีเจ้าหนี้ลูกหนี้กันก็ชิงตัดหน้าโอนไปก่อน

 

237 เป็นเรื่องของหนี้ หรือ บุคคลสิทธิ แต่มาตรา 1300 เป็นเรื่องของทรัพย์สิทธิ เป็นเรื่องของการครอบครอง ไว้ โดยได้ หรือศาล ให้พิพากษาตามยอมว่าได้ ให้มีสิทธิโดย เขาชำระหนี้เท่านั้นเท่านี้แล้ว

 

237 เกี่ยวกับอสังฯ

 

เวลาเราไปทำงานถ้าเป็นการเพิกถอน สังหาฯ ก็ต้องเข้า 237 ก็เป็นการเตือนใจท่านว่า 237 กับ 1300 ก็ใกล้เคียงกันมาก   

 

กลุ่มที่สอง คือ ผู้ได้โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้ มา 1299 วรรค 2 นี่คือจุดประสงค์ที่ตรงไปตรงมาที่สุดคือต้องการให้สิทธิผุ้ที่ได้มาทางอื่นนอกจากนิติกรรม นั่นแหละ

 

ผู้ได้อยู่ในฐานะที่จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน คือ

ได้สิทธิโดยศาลพิพากษา ,  ครอบครองปรปักษ์ ,  มรดก

 ฎ.

รับมรดกทั้งแปลงร่วมกันหลายคน  ผู้รับมรดกคนหนึ่งโอนที่มรดกทั้งแปลงให้ลูกโดยไม่สุจริต  ทายาทคนอื่น  ฟ้อง 1300 เพิกถอนได้

ศาลพิพากษาให้ โอนที่ดินให้ (มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ยังไม่โอนไปขายให้คนอื่น 

ซื้อที่ดินและครอบครองมาเกิน 10 ปี แต่ยังไม่จดทะเบียน ถือว่าอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน เพราะได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว 

ก.ครองครองปรปักษ์มา 10 ปี  ต่อมา ที่ตกเป็นมรดกของ ข. ข.รับจดทะเบียนโอนมรดก  / ก.ถือว่าเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน  ต่อสู้ ข.ได้  เพราะการรับมรดกถือว่าเป็นการได้มาโดยไม่เสียค่าตอบแทน ตาม 1300

ข้อสังเกต

1300  ใช้ยันระหว่าง ผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนของตนได้อยู่ก่อน  กับคนนอกที่รับโอนไปโดยไม่สุจริตและไม่เสียค่าตอบแทน

แต่ไม่ใช้ยันกับเจ้าของเดิมที่แท้จริง

ผู้ที่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนได้  ต้องไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์  คนเดิม  แต่ต้องเป็นคนนอกจ๊ะ

ก.ปลอมลายมือชื่อ ข. เจ้าของที่  ไปจดทะเบียนจำนองให้ ค.  กรณีนี้  สิทธิระหว่าง ข. กับ ค.ใครดีกว่ากัน  เพราะ ค.ต่อสู้ว่า ตนเองรับโอนไปโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ตาม 1300 ใช้ไม่ได้

เพราะ ข.เป็นเจ้าของที่แท้จริงไม่ใช่คนที่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน

กลับไปใช้หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน  ค.ไม่ได้สิทธิไป

ผู้ที่อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน    จะขอให้เพิกถอนได้เมื่อ

การจดทะเบียนการโอน

  1. 1.       ทำให้ตนเสียเปรียบ
  2. 2.       ผู้รับโอนไม่เสียค่าตอบแทน  หรือกระทำการโดยไม่สุจริต

 

  1. 1.     ทำให้ตนเสียเปรียบ  ?  อะไรก็ตามที่ทำให้ไม่ได้สิ่งที่ตนเองควรจะได้  เช่น ชำระราคาแล้วเข้าครอบครองแล้ว  ไม่ได้รับโอน  แต่ไปโอนให้คนนอก  คนซื้อคนแรกก็เสียเปรียบ  ส่วนมากเสียเปรียบทั้งนั้น  เว้นแต่เป็นทรัพยสิทธิคนละประเภทกัน

 

  1. 2.       คนภายนอกผู้รับโอนไม่เสียค่าตอบแทน 

        หรือกระทำการโดยไม่สุจริต     

        อย่างใดอย่างหนึ่ง

 

ดูเรื่องความสุจริต 1299  สุจริต สองตอน  ตอนได้มา  ตอนจดทะเบียนการโอน

1300  สุจริต     (ทั้งตอนทำสัญญา และตอนจดทะเบียนโอนด้วย)

เสียค่าตอบแทน  อาจจะจ่ายในอนาคต  ผ่อนจ่ายก็ได้  อาจเป็นเงินหรืออย่างอื่นก็ได้ เช่นตอบแทนโดยการวาดรูปให้  ค่าตอบแทนจะมากน้อยเท่าไรก็ได้ 

แต่จำนวนค่าตอบแทนอาจสะท้อนให้เห็นถึงความไม่สุจริตได้  เช่น ที่ดินราคาหลายสิบล้านแต่โอนขายให้กันแค่สองแสน  อาจไม่สุจิต  คือรู่ว่ามีคนอื่นมีสิทธิอันจะจดทะเบียนได้อยู่ก่อนแล้ว

ต้องพิสูจน์ ความสุจิรต  โดยอาศัยพฤติการณ์แวดล้อม  สืบพยานหลักฐาน  เช่นเห็นมีคนปลูกบ้านอยู่แต่ไม่สอบถาม  ถือว่าไม่สุจริต  เพราะการซื้อขายที่ดินตามปกติต้องใช้ความระมัดระวังพอสมควร  คือถ้าเห็นคนปลูกบ้าน ก็ต้องไปถาม  ไม่ถามถือว่าไม่ใช้ความระมัดระวังพอสมควรถือว่าไม่สุจริต

ถ้าคนนอกรับโอนไปโดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตผู้อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนก็เพิกถอนไม่ได้

เช่น  ภรรยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเข้าใจว่าตนเองมีสิทธิได้รับมรดก  จึงโอนขายให้คนนอก  คนนอกรับโอนไปโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน  ทายาทที่แท้จริงเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนได้อยู่ก่อน  จะพาฟ้องเพิกถอนการโอนไม่ได้

ไปดูเองจะได้ไม่เสียเวลา มีแง่มุมเล็กน้อย

 

 1301      ห้เอา 1299 และ 1300  มาใช้กับการเปลี่ยนแปลง  ระงับและกลับคืน

                        ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาด้วย 

เช่น  การขายฝาก  ตอนขาย(ได้มาต้องจด)   1299 วรรคแรก

                        ตอนไถ่ถอนการขาย  (ระงับไปซึ่งสิทธิของผู้รับฝาก)  1301 + 1299 ก็ต้องจด

 

ไม่ใช้กับอสังหา นะ

เช่น ที่ดินหมดไปเพราะน้ำเซาะ   บ้านไฟไหม้  ไม่เอา 1299 มาใช้ คือไม่ต้องจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลง ระงับสิทธิ    เหมือนการได้มา  /  กรณีอสังหาใช้เฉพาะการได้มาเท่านั้น

1299 วรรคสอง   + 1301

เปลี่ยนแปลง  ระงับและกลับคืนซึ่งทรัพยสิทธิเกี่ยวกับอสังหา  โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ถ้าไม่จดทะเบียนจะใช้ยันคนนอกที่ผู้สุจริต  เสียค่าตอบแทน จดทะเบียนมิได้

        Ex การระงับแห่งภารจำยอม เพราะไม่ได้ใช้ 10 ปี  ถ้าไม่จดทะเบียนการระงับ  และเจ้าของที่(ไม่ติดถนน) โอนขายที่ให้คนอื่นรับไปโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน  จดทะเบียน  เจ้าของที่ติดถนน(ภารยทรัพย์) อ้างความระงับไปแห่งภารจำยอมมายันคนภายนอกไม่ได้

 

1302   = เอา 1299 ,1300.1301 ไปใช้กับสังหาพิเศษด้วย

                เรือ =  มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป  ทั้งเรือยนต์และเรือธรรมดา

                แพ =  แพที่คนอยู่อาศัย

                สัตว์พาหนะ = ช้าง ม้า วัว ควาย ล่อ ลา ซึ่งได้และต้องทำตั๋วรูปพรรณตามพรบ.สัตว์พาหนะ

 

1303  หลายคนเรียกร้องสังหารายดียวกัน คนไหนครอบครอง + สุจริต+ เสียค่าตอบแทน สิทธิดีกว่า

                Ex   ขายปากกาให้ ก. ยังไม่ส่งมอบ ต่อมาขายให้ ข. ส่งมอบ ให้ ข. ครอบครอง + สุจริต+ เสียค่าตอบแทน ข.สิทธิดีกว่า ก.

แต่ 1303 ใช้กับ สังหา

                ไม่ใช่กับ สังหาพิเศษ

                                ทส.หาย

                                ทรัพย์ที่ได้จากการกระทำความผิด

                                เช่า คนเช่าคนใดครอบครองทรัพย์ก่อนมีสิทธิดีกว่าคนอื่น

......................................................................................................................................

 

ทรัพย์สินของแผ่นดิน – สาธารณสมบัติของแผ่นดิน

 

มาดูหลักของมันก่อนแล้วกัน เราศึกษาเรื่องทรัพย์สินของแผ่นดินนั้นมีสองประเภท

 

คือ ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา อันนี้ ไม่มีปัญหาอะไรมากก็เป็นของรัฐ เป็นของราชการ

Ex  รถยนต์หลวง  ,หนังสือ ,กระดาษ , ที่ดินราชพัสดุ,  ที่ ส.ป.ก. นอกจากนี้ยังแปลความรวมถึงสิ่งที่ศาลสั่งริบในคดีอาญา ไม่ว่าจะเป็นอาวุธปืน หรือ สิ่งอื่นใด

 

ส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  คือ ทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน  ก็เป็น สี่มาตรา 1304 – 1308

 

เรามาดู 1304 ( 1 ) ที่รกร้างว่างเปล่า ตรงนี้ หมายถึงที่ดินที่ไม่เคย มีเอกชนเข้ามาครอบครองมาก่อนเลย

 

การเวนคืนก็เพื่อสาธารณประโยชน์เท่านั้นอันนี้ไม่ค่อยมีปัญหา

 

( 2 ) ที่ชายตลิ่ง หมายถึงที่ที่อยุ่ติดกับแม่น้ำลำคลองและในฤดุน้ำ น้ำจะท่วมถึงทุกปี เป็นที่ชายตลิ่งคนล่ะอย่างกับที่งอกริมตลิ่ง

 

ที่ชายตลิ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

 

ฎ.149/2543

เดิมที่พิพาทเป็นที่ชายตลิ่งที่น้ำท่วมถึงจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)ที่พิพาทเพิ่งกลายเป็นที่งอกหลังจากมีการสร้างถนนเมื่อ 4 ถึง 5 ปี มานี้ ดังนั้นก่อนหน้าที่พิพาทเป็นที่งอกแม้โจทก์จะครอบครองมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ หลังจากที่พิพาทกลายเป็นที่งอกที่เชื่อมติดกับที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่งอกพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ครอบครองยังไม่ถึง 10 ปี โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382

ทรัพย์สินใดมันจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้จะต้องอยู่ในสภาพที่ทรัพย์สินนั้นราษฏร์ใช้ร่วมกัน ไม่ใช่อยู่เฉพาะกายภาพ ยกตัวอย่างเช่น

ฎ.244/2545

ทรัพย์สินของแผ่นดินจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาพของตัวทรัพย์นั้นว่าราษฎรได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เมื่อที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน แม้ทางราชการจะไม่ได้ทำหลักฐานหรือขึ้นทะเบียนไว้ ที่ดินพิพาทก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามกฎหมายที่ไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินและไม่อาจโอนให้แก่กันได้ เว้นแต่จะอาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา

 

ต้องมีสภาพที่ชาวบ้านใช้ร่วมกัน ฏีกานี้ยังไม่ชัดเท่า

ฎ.3093/2523

แม้น้ำจะเซาะที่ดินจนกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งไปแล้วก็ตาม  แต่ ก. ก็ยังใช้สิทธิเป็นเจ้าของโดยใช้เป็นทางเข้าออกอยู่ มิได้ทอดทิ้งให้เป็นที่สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ที่พิพาทจึงไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิ 

ดูฏีกานี้ที่ว่า แม้เป็นที่น้ำท่วมถึงแต่เจ้าของยังไม่ได้สละสิทธิ์ ให้ประชาชนเข้ามาใช้ อย่างที่สาธารณะ

ฎ.2744/2546

จำเลยปลูกบ้านในที่ดินพิพาทที่เช่าจากโจทก์ ต่อมาที่ดินพิพาทใต้อาคารบ้านที่จำเลยปลูกสร้างถูกน้ำกัดเซาะเป็นเหตุให้ตลิ่งพังทลายลงสู่แม่น้ำ ที่ดินพิพาทกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งโดยที่จำเลยยังคงทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับโจทก์ตลอดมาซึ่งโจทก์ก็ยังคงสงวนสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เป็นค่าเช่าที่ดินพิพาทอยู่ มิได้ปล่อยทิ้งให้เป็นที่ชายตลิ่งที่ประชาชนทั่วไปจะเข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทสิ้นสุดลงและล่วงเลยเวลาที่โจทก์ผ่อนผันให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์อีกต่อไป โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้

 

ฎ.1206/2530

ฟ้องโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงแห่งข้อหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศเหนือซึ่งอยู่ติดกับแม่น้ำโขง เนื้อที่150 ตารางวา ทำให้โจทก์เสียหาย โดยมีแผนที่สังเขปแสดงแนวเขตที่ดินของโจทก์ส่วนที่จำเลยบุกรุกแนบมาท้ายฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วยและมีคำขอบังคับขอให้ขับไล่และให้ใช้ค่าเสียหาย ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักข้อหาชัดเจนชอบด้วย ป.ว.พ. มาตรา 172 แล้ว จึงไม่เคลือบคลุม

 

โจทก์เป็นวัดที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้บางครั้งจะไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ในวัดโดยมีลักษณะเป็นวัดร้าง แต่เมื่อไม่มีการยุบเลิกวัด จึงต้องถือว่ายังคงมีฐานะเป็นวัดอยู่

 

ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เป็นที่ลาดลงไปสู่แม่น้ำถูกน้ำท่วมถึงเป็นบางฤดูกาล เพราะที่ดินส่วนนี้ถูกน้ำเซาะพังเป็นที่ลาดต่ำลงไป เมื่อไม่ปรากฏว่ามีประชาชนเข้าใช้ที่ส่วนนี้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ที่ส่วนนี้ก็ยังเป็นที่ดินของโจทก์ หากลายเป็นทางน้ำหรือที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

 

อันที่สอง การที่ที่ดินได้เป้นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ทำได้โดยปริยายเช่นกัน

 

ฎ.127/2536

ที่สาธารณสมบัติยังไม่มีการถอนสภาพไปแล้วก็ยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ การถอนสภาพก็ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 ออกเป็นพระราชบัญญัติ แต่ถ้าสาธารณสมบัตินี้พลเมืองเลิกใช้ประโยชน์แล้ว รัฐเพิกถอนได้เป็นพระราชกฤฎีกา

 

ฎ.428/2511 

ลำคลองอันเป็นทางน้ำที่ประชาชนใช้สัญจรไปมาร่วมกันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 แม้ลำคลองนั้นได้ตื้นเขินขึ้นโดยธรรมชาติ ไม่มีสภาพเป็นลำคลองมาประมาณ 30 ปีเศษ และไม่มีราษฎรได้ใช้ประโยชน์ก็ตามแต่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพลำคลองนั้นจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง และทางราชการยังถือเป็นที่หลวงหวงห้ามลำคลองนั้นจึงยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จะโอนแก่กันมิได้ และจะยกอายุความขึ้นต่อสู้แผ่นดินก็ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305,1306

 

 

หมายเลขบันทึก: 450384เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2011 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แล้ว การซุกหุ้น เกี่ยวข้อง กับกฏหมายอะไร

ทำไม ถึง ยากในการตัดสิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท