กรอบแนวความคิด


ทฤษฏีกับการวิจัย กรอบแนวความคิด

ทฤษฎีกับการวิจัย, กรอบแนวความคิด

ทฤษฎี หมายถึงข้อความที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างข้อความคิด หรือตัวแปรหลายๆ ตัวแปร ซึ่งข้อความเหล่านี้สามารถทดสอบได้ ทฤษฎีมีความสำคัญมากต่อการสร้างกรอบแนวความคิด เพราะการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จะช่วยในการจัดระเบียบความรู้ในเรื่องนั้นๆ ให้เป็นระบบ ทำให้ผู้วิจัยทราบว่ามีตัวแปรใดบ้างที่สำคัญ และมีความหมายต่อการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และ ยังช่วยในการตั้งสมมติฐานและคาดคะเนปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้

บทบาทของทฤษฎีต่อศาสตร์ในแต่ละสาขา
-ทฤษฎีจะช่วยกำหนดแนวความคิดและการแยกประเภทของปรากฏการณ์
-ทฤษฎีจะช่วยกำหนดจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของศาสตร์แต่ละสาขา
-ทฤษฎีจะช่วยสรุปข้อเท็จจริงของศาสตร์แต่ละสาขา
-ทฤษฎีมีบทบาทในการทำนายหรือพยากรณ์

กรอบแนวความคิด
ในการวิจัยปัญหาใดๆ ย่อมจะต้องมีกรอบแนวความคิดในการที่จะศึกษาในเรื่องนั้น ซึ่งการที่จะมีกรอบแนวความคิดได้ย่อมเกิดจาก การศึกษาทฤษฎีและผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูว่าปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ นั้นและเชื่อมโยงแนวความคิดและทฤษฎีต่างๆ เข้าด้วยกัน

แนวความคิดจากลักษณะต่างๆ ที่เหมาะสมที่สุด
-แนวความคิดที่มาจากทฤษฎีที่มีเนื้อหาสาระตรงกับเรื่องที่จะทำวิจัยมากที่สุด
-แนวความคิดที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆที่สอดคล้องกับประเด็นที่เรากำลังจะศึกษา
-แนวความคิดที่มาจากทฤษฎีที่เข้าใจง่ายที่สุด ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรได้ โดยไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากเกินไป -แนวความคิดที่มีประโยชน์ในเชิงนโยบายหรือสามารถกำหนดมาตรการต่างๆได้อย่างเป็นรูปธรรม

การเชื่อมโยงแนวความคิด เพื่อให้ผู้วิจัยวางแผนดำเนินการ
-ตัวแปร และการเก็บรวบรวมข้อมูล
-วิธีการเก็บข้อมูลที่เหมาะสมกับตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
-การวัดตัวแปรต่างๆ เพื่อออกแบบการวิจัยที่เหมาะสม
-วิธีการวิเคราะห์ที่เหมาะสมกับตัวแปรที่เลือก
-กรอบแนวความคิดจะช่วยในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ได้อย่างมีเหตุผล

กรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัย เป็นการนำแนวคิด และ ทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับสิ่งศึกษามาสนับสนุนงานวิจัย เพื่อให้เห็นว่าสิ่งที่จะทำต่อไป มีที่มาอย่างไร มีทฤษฎีอะไรบ้าง ใครเคยศึกษาไว้แล้ว ได้ผลอย่างไร และ ผู้วิจัย จะศึกษา แตกต่างไปจากผู้ที่เคยศึกษาไว้อย่างไร ผู้วิจัยจะต้องผสมผสาน แนวคิด ทฤษฎี และ งานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ที่รวบรวมมาได้ กับแนวคิดของ ผู้วิจัยเองมาใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้

โดย ธัชพนธ์ โชคสุชาติ


หมายเลขบันทึก: 450236เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2011 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท