ผึ้งจิ๋ว


ผึ้งจิ๋ว ชันโรง ขี้สูด
    วันนี้ผมได้เดินสำรวจสวนหลังบ้านผมเอง ได้สังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงไม้ผลในสวนหลังบ้านในปีนี้ไม่ว่าจะเป็นมะม่วง ลำไย และกระท้อนติดดอกออกผลเยอะมาก อาจเป็นเพราะแมลงตัวเล็กๆ ชนิดหนึ่งที่ผมได้เอามาทดลองเลี้ยงเมื่อสามปีที่แล้ว โดยในระยะหลังนี้ไม่ค่อยได้ให้ความสนใจนักคือเลีี้ยงแบบบุพเฟ่หากินเอง ในการเรียกชื่อหลายพื้นที่เรียกขานต่างกันไป เช่น ภาคเหนือเรียกตัวขี้ตังนี หรือ แมลงขี้ตึง ภาคใต้เรียก อุง ภาคอีสานเรียก แมลงขี้สูด ภาคตะวันตกเรียก ตัวตุ้งติ้ง หรือ ตัวติ้ง ภาคตะวันออกเรียก ตัวชำมะโรง หรือ แมลงอีโลม ส่วนภาคกลากเรียกว่า ชันโรง เป็นแมลงที่ปรับตัวเก่ง มันอาศัยในรูอยู่ตามชอกหลืบ โพรงต้นไม้ โพรงใต้ดิน
    ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมคุณวิสิทธิ์ ธนูอาจ ที่สวนของท่านที่จังหวัดจันทบุรี ได้เล่าประสบการณ์ในการเลี้ยงผึ้งจิ๋วให้ฟังและแนวคิดในการต่อสู้ชีวิตจนถือเป็นแนวหน้าผู้บุกเบิกในการเลี้ยงผึ้งจิ๋วของจังหวัดจันทบุรี เลยถือโอกาสเอามาทดลองเลี้ยงที่สกลนครบ้าง โดยได้สายพันธุ์ขนเงินมาทดลองเลี้ยง สายพันธ์ุผึ้งจิ๋วที่เลี้ยงเป็นพันธ์ุบ้านมี 3 สายพันธุ์ คือพันธุ์หลังลาย พันธุ์ขนเงิน และพันธุ์รุ่งอรุณ ส่วนพันธุ์ผึ้งป่าที่นำมาเลี้ยงเช่น พันธุ์ปากแตร 

    ข้อดีของการนำผึ้งจิ๋วมาเลี้ยง เพื่อเป็นผู้ช่วยในการผสมเกสรไม้ดอกไม้ผลในสวนผลไม้เป็นหลัก เพราะพฤติกรรมในการออกหาอาหารของเขาจะมีรัศมีการบินได้ประมาณ 300 เมตร ดังนั้นเขาจึงจำเป็นต้องผสมเกสรดอกไม้ต้นไม้ทุกชนิดในรัศมีทำการ ส่วนผึ้งป่าหรือผึ้งเลี้ยงเขาบินได้ไกลประมาณ 5 กิโลเมตร จึงเลือกผสมเฉพาะเกสรดอกไม้ที่ต้องการเท่านั้น(หากินได้ไกลกว่า) และน้ำผึ้งจากผึ้งจิ๋วมีราคาสูงกว่าประมาณขวดละพัน ช่วยรักษาโรคกระเพาะเป็นยาอายุวัฐนะ ผู้ป่วยเป็นเบาหวานทานได้ เนื่องจากความหวานน้อยกว่าน้ำผึ้งทั่วไป และมีความเชื่อว่าชันที่ได้จากผึ้งจิ๋วช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ ป้องกันน้ำผึ้งทั่วไปบูดเสียหรือหมดอายุเร็วกว่าปกติ     

หมายเลขบันทึก: 450069เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท