Archy
นาย อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน

เมืองนาลันทา


มหาวิทยาลัยนาลันทา สถูปพระสารีบุตร

เมืองนาลันทา

ประวัติศาสตร์นาลันทา

สมัยพุทธกาล เป็นขานเมืองนามว่า “นาลันทา” มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ผู้คนหนาแน่น เลื่อมใสในพระพุทธองค์ (เกวัฎฎสูตร ทีฆนิกาย) อยู่ทางทิศเหนือของเมืองราชคฤห์ประมาณ ๑ โยชน์ (๑๖ กิโลเมตร)พระบรมศาสนาเสด็จมาประทับหลายครั้ง ณ ปาวาริกัมพวัน ของท่านทุสสปาวาริกเศรษฐี เป็นสถานที่เกิดและนิพพานของท่านพระสารีบุตร นาลันทา (พระถังฯ) มาจาก น อลํ ททามิ = ไม่พอในการให้ทาน และมาจาก นาลํ ทา = ให้ความชื่นใจ บางตำนาน แปลว่า เมืองให้ดอกบัว  นาลํ = ดอกบัว  ทาน = ให้  บางตำนาน แปลว่า เมืองพญานาคนาลันทา  สมัยพุทธกาล ชื่อหมู่บ้านนาลกะ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเกิดที่นี่   เมื่อพระสารีบุตรนิพพานที่นี่ ชาวเมืองถือเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ จึงพากันปรับแต่งห้องเกิดและนิพพานของท่านให้เป็นเจติยสถาน เพื่อการสักการบูชา ต่อมาศิษย์ของท่านพระสารีบุตรสร้างกุฏิและวิหารรอบเจดีย์ ใช้เป็นที่ศึกษาและปฏิบัติธรรม จนถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

นาลันทามหาวิทยาลัยของโลก

          ฯพณฯ ศรีเยาวหราล เนห์รู (ใน Glimpses of World History) ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพในอินเดียยุคนั้น มี ๔ เมือง คือ ตักสิลา, มถุรา, อุชเชนี และนาลันทา แต่ต่างประเทศยอมรับคือ “มหาวิทยาลัยนาลันทา”

สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

          หลังสังคายนาครั้งที่ ๓ ประมาณ พ.ศ. ๒๓๕ พระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จมาสร้างเจดีย์บูชาไว้ ๒ องค์ เพื่อบูชาพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ และสร้างกุฏิหาร ณ บริเวณวัดปาวาริกัมพวัน ใกล้ๆ พระเจดีย์ ให้เป็นที่พำนักแก่พระสงฆ์ผู้คงแก่เรียน

สมัยนาคารชุนเป็นสมภาร

          สมัยนี้นิยมเรียนเรืองสุญยตา ความว่าง ความปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น มีการสอบสัมภาษณ์ปฏิภาณผู้เข้าเรียน

สมัยราชวงศ์คุปตะ

          พ.ศ. ๘๐๐ เศษ  พระเจ้ากุมารคุปตะที่ ๑ (ศักราทิตยีราชา) มานาลันทาเห็นการศึกษาเจริญรุ่งเรือง จึงให้การอุปถัมภ์สร้างสังฆารามถวายสงฆ์

            พระเจ้าพุทธคุปตะ-พระเจ้าตถาคตคุปตะ-พระเจ้าพาลาทิตยะ และพระเจ้าวัชระ ต่างสร้างวัดถวายและให้ความอุปถัมภ์อย่างดี

          พ.ศ. ๙๔๔-๙๕๓ หลวงจีนฟาเหียนมาแต่ไม่มีบันทึกอะไรมากนัก

สมัยพระเจ้าหรรษวรรธนะ

          พ.ศ. ๑๑๔๙-๑๑๙๑ พระองค์ให้ความอุปถัมภ์เป็นอย่างดีเยี่ยม เมตตาพระราชทานหมู่บ้าน ๑๐๐ ตำบล เพื่อผลประโยชน์ของนาลันทา จัดอาสาสมัครหมู่บ้านละ ๒ คน ต่อมาเพิ่มอีก ๑๐๐ ตำบล เป็น ๒๐๐ ตำบล พระองค์นิมนต์พระสงฆ์ประชุมและฉันที่วัง ณ เมืองกาโนช (ลักเนาว์) ปีหนึ่ง ๒๑ วัน จนถือเป็นประเพณีปฏิบัติ

          พ.ศ. ๑๑๗๒-๑๑๘๗ พระถังซัมจั๋ง มาสืบพระศาสนาได้บันทึกไว้ว่า มีนักศึกษา ๑๐,๐๐๐ ท่าน ครุ อาจารย์ ๑,๕๐๐ ท่าน วิชาการที่เล่าเรียนมี ๕ วิชา ๑) พุทธปรัชญา ๒) ตรรกวิทยา ๓) ไวยากรณ์ หรือ วรรณคดี ๔) ศาสนา ๕) แพทย์ศาสตร์ วิชาบังคับ คือ พระไตรปิฎกทั้งของเถรวาทและมหายาน

          ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันโมริยะสร้างพระพุทธรูปทองแดงขนาดสูง ๘ๆ ศอก ในวิหาร ๖ แห่ง และมีห้องสมุด ๓ แห่ง คือ รัตนาคร-รัตนรัญชกะ-รัตโนทธิ ขนาดสูง ๙ ชั้น มีนักศึกษาจากต่างประเทศ เช่น จีน ชวา, สุมตรา, มองโกเลีย, ธิเบต และเกาหลี

 พ.ศ. ๑๒๒๓ นาลันทามีนักศึกษาเพิ่มขึ้นอีก ๓-๔ พัน และเจริญรุ่งเรืองต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งจนถึงสมัยราชวงศ์ปาละ

สมัยราชวงศ์ปาละ

          ราชวงศ์ปาละปกครองชมพูทวีป ในปี พ.ศ. ๑๓๐๓-๑๖๘๕ ประมาณ ๔๐๐ ปี พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ได้สร้างสังฆารามเพิ่มขึ้นและพัฒนาขยายสาขาของมหาวิทยาลัยเพิ่มอึก ๔ แห่ง คือ

                   ๑)  มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา                ๒)  มหาวิทยาลัยโอทันตะบุรี

                   ๓)  มหาวิทยาลัยโสมปุระ                  ๔.  มหาวิทยาลัยชากันททละ

          พ.ศ. ๑๓๕๓-๑๓๙๓ สมัยพระเจ้าปาละ ได้มีกษัตริย์จากสุมาตราพระนามว่า พาลาปุตตเทวะ ส่งพระนักศึกษามาเรียน และขออนุญาตสร้างสังฆารามถวาย ๑ แห่ง เพื่อเป็นที่พัก

สมัยเสื่อม

พ.ศ. ๑๑๗๒ มุสลิมเติร์กรุกรานอินเดีย ขยายพื้นที่ยึดครองจากทางด้านทิศตะวันตก

พ.ศ. ๑๗๖๖ มาถึงนาลันทา มีแม่ทับใหญ่คือ ภัททียะ ขิลจิ มอบหมายลูกขาย

คือ อิคคิย ขิลจิ กรีฑาทัพมาทำลายมหาวิทยาลัยนาลันทา และเผาอาคาร, วิหาร, สถานที่, ตำรา บรรดาพระสงฆ์ถูกฆ่า ถูกทำร้าย บ้างก็หนีตาย เผาห้องสมุด ทำลายพระพุทธรูป เมือพวกเขาทำลายอย่างสาแก่ใจแล้ว จึงถอยทัพกลับไปที่ค่ายใหญ่

          ครูอาจารย์ประมาณ ๗๐ ท่าน นำโดยท่านมุทิตาภัทร พากันดับไฟและซ่อมแซม ทำการสอนต่ออีก ๑๒ ปี ในปี พ.ศ. ๑๗๗๘ มีนักบวชฮินดูหมางใจกับพระสงฆ์ในนาลันทา กู้ทำการเผาซ้ำอีกเป็นครั้งที่ ๒ จนวอดวายไม่สามารถฟื้นฟูได้ ถูกฝังจมอยู่ใต้ดินกินเวลาถึง ๖๒๕ ปี

          พ.ศ. ๒๓๕๘ ท่านหลอด ฮามินตัน อ่านบันทึกของพระถังซัมจั๋ง จึงเริ่มทำการขุดค้นพบเพียงพระพุทธรูปและเทวรูป ๒ องค์

          พ.ศ. ๒๔๐๓ ท่านเซอร์คันนิ่งแฮม จึงทำการขุดค้นใหม่ โดยมี Mr. M.M. บรอดเล่ย์ และ ดร.สปูนเนอร์ เป็นผู้ช่วยจึงประสบความสำเร็จ มหาวิทยาลัยจึงได้ปรากฏร่องรอยแห่งความยิ่งใหญ่อลังการให้เราได้ชม

สถานที่สำคัญ

          ๑)  มหาวิทยาลัยนาลันทาเก่า

          ๒)  มหาวิทยาลัยนาลันทาใหม่ ราเชนทร ประสาท ประธานาธิบดีคนแรกของอินเดีย วางศิลาฤกษ์ พ.ศ. ๒๔๙๔ ฯพณฯ ศรีเยาวหราล เนห์รู นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย เป็นประธานเปิด พ.ศ. ๒๔๙๗

พระสูตรสำคัญ

          ๑)  เกวัฏฏสูตร           ๒)  อุบาลีสูตร

สารธรรมสำคัญ

          ๑)  ปาฏิหาริย์            ๒)  กรรม ๓ (พุทธ)               ๓)  ทัณฑ์ ๓ (นิครนถ์)

บุคคลสำคัญ

          ๑)  พระสารีบุตร          ๒)  พระโมคคัลลานะ             

๓)  ปาวาริกเศรษฐี       ๔)  อุบาลีคหบดี

 

 

ไม่ควรขอในสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา
Do not ask for the object of another person's love.
มณิกัณฐชาดก / Manikanthajataka

หมายเลขบันทึก: 449619เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2011 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท