Archy
นาย อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน

ธัมมจักกัปปวัตนสถาน


วันอาสาฬหบูชา ตำบลสารนาถ เมืองวาราณาสี ปัญจวัคคีย์

ตำบลที่ ๓  ธัมมจักกัปปวัตตนสถาน (ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณาสี เรียกปัจจุบันว่าสารนาถ)

ประวัติศาสตร์เมืองพาราณสี

พาราณสี เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดของอินเดียที่ไม่เคยล่มสลาย กระทั่งชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของวัฒนธรรมแห่งภารตชน สมัยพุทธกาล เป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำคงคา เป็นเมืองถูกเสนอชื่อให้มาปรินิพพาน ๑ ใน ๖ เรือง  คำว่า “พาราณสี” วรุณะ+อสี ทั้งสองคำนี้  เป็นชื่อของแม่น้ำ  เมื่อนำมา รวมกันจึงได้คำว่า “วาราณสี” ในกปิลชาดก มาจากคำว่า วานร+สีสะ = วานรสีสะ = วานรสี เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ ๑ ใน ๗ เมืองของอินเดีย คือ ๑. หริทวาร์  ๒. อุชเชนี  ๓. อโยธยา  ๔. มถุรา  ๕. ทวารก  ๖. กาญจีปุรัม  ๗. พาราณสี ในชาดกยังพบว่า มีชื่อเรียกอีก คือ สุรุนธนคร, สุทรรศนนคร, ปุปผาวดีนคร, พรหมวัฒนนคร, รัมมนคร, กาสีสุระ, รามนคร สมัยอังกฤษปกครอง เรียกว่า บานารัส หรือเบนาเรส

 

พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยมาเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ณ เมืองนี้ ๔๒๗ ชาติ (๕๔๗) เกิดเป้น นกพิราบ, นกยูง, นกแขกเต้า, แร้ง, กา, หงส์, ช้าง, ม้า, โค, หมู, เสือ, ลิง, ราชสีห์, สุนัข, กวาง, ลา, มนุษย์, ราชา, อำมาตย์, ปุโรหิต, พ่อค้า, มาณพ, ฤาษี, ดาบส และนายควาญช้าง ฯลฯ ในทศชาติ เกิด ๒ ครั้ง คือ พระเตมีย์ และพระสุวรรณสาม ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐   พาราณสีจะมีนามว่า  “เกตุมดี”  พระราชาพระนามว่า “สังขะ” พระศรีอาริยเมตไตรยจะอุบัติในตระกูลพราหมณ์ พระเจ้าสังขะจะได้อุปสมบทแล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ มนุษย์จะมีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ส่วนผู้หญิงสาวมีอายุ ๘,๐๐๐ ปีจึงจะมีสามีได้

 

ประวัติศาสนาเมืองสารนาถ

สารนาถ คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เป็น ๑ ใน ๔ สังเวชนียสถาน เป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนา ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” อยู่ห่างจากเมืองพาราณสี ๘ กิโลเมตร ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน คือ อิสิ + ปตน + มฤค + ทาย + วน คือ ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อเป็นสถานที่ประชุมตกลงของเหล่าฤาษี สารนาถ คือ สารังค + นาถ   สารนาถ แปลว่า ที่พึ่งของกวาง (สารังคะ แปลว่า กวาง)เป็นที่แสดงปฐมเทศนา คือ “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร”เป็นที่เกิดสังฆรัตนะ ครบพระรัตนตรัย และแสดงพระสูตรมากถึง ๓๓ พระสูตร ที่เกิดของวันอาสาฬหบูชา และสถานที่ส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา

ก่อนพุทธกาลเป็นสวนป่าของพระเจ้าพรหมทัตต์ เป็นที่อาศัยของกวางทั้งหลายก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี พระพุทธองค์เสด็จมาโปรดปัญจวัคคีย์ และแสดงธรรมหลังพระพุทธองค์ปรินิพพาน ถวายเป็นสังฆารามให้พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาอยู่อาศัยพ.ศ. ๒๓๔ พระเจ้าอโศกมหาราช เสด็จธรรมยาตรา สร้างสถูปใหญ่และปักเสาอโศกไว้

พ.ศ. ๓๙๕ พระเจ้าอัคนิมิตร ราชวงศ์สุงคะ สร้างกำแพงหินทรายแดงแกะสลักรอบสารนาถ พ.ศ. ๖๔๕ พระเจ้ากนิษกะมหาราช รางวงศ์กสุษาณะ (พระพาลา) สร้างรูปแกะสลักพระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์ ทำร่มจากหินทรายมากถวายไว้ที่นี่พ.ศ. ๙๔๓ หลวงจีนฟาเหียน มาเยือนและได้เขียนจดหมายเหตุไว้ ได้เล่าเกี่ยวกับป่าอิสิปตนมฤคทายวันไว้ด้วย

พ.ศ. ๙๙๘ พวกหูนะจากเอเชียกลาง ตีอินเดียถึงสารนาถอารามถูกทำลายเสียหายพ.ศ. ๑๑๕๕ พระเจ้าหรรษวรรธนะทำการฟื้นฟูบูรณะสารนาถใหม่พ.ศ. ๑๑๗๔ พระถังซัมจั๋ง ได้เยือนสารนาถแล้วบันทึกเรื่องสารนาถไว้อย่างละเอียด

พ.ศ. ๑๓๙๐ พระเจ้ามหิปาละ บูรณะอารามและพระสถูป

พ.ศ. ๑๖๕๗ พระนางกุมารราชเทวี ทำการฟื้นฟูบูรณะอีกครั้งหนึ่ง

พ.ศ. ๑๗๓๖ อิลตุชมิท อิสลาม โจมตีพาราณสี-สารนาถ พระสงฆ์ได้หนีตาย

พ.ศ. ๒๓๓๖ ชคัต ซิงห์ อำมาตย์ของ เจตซิงห์ รื้อธัมมราชิกสถูป

พ.ศ. ๒๓๖๘ ศาสนิกเชน รื้อพุทธสถานแล้วสร้างวัดเชนครอบ

พ.ศ. ๒๓๗๘ อเล็กซานเดอร์  คันนิ่งแฮม ได้ทำการขุดค้นสารนาถ

พ.ศ. ๒๓๘๒ นายเดวิดสัน นำพระพุทธรูป-โบราณวัตถุ

      ไปถมที่ทำสะพานคันแดน แม่น้ำวารุณะ

พ.ศ. ๒๔๑๔ (ของไทย พ.ศ. ๒๔๑๕) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จสารนาถ

พ.ศ. ๒๔๓๘ สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเยือนสารนาถ

 

 

 

โบราณสถาน-สถานที่สำคัญ

๑.      ธัมเมกขสถูป สถานที่แสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ สูง ๓๓ ม. เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๘ ม. พ.ศ.๒๓๔ พระเจ้าอโศกสร้าง  พ.ศ. ๒๓๖๕ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮมได้ขุดค้นพิสูจน์

๒.     ธัมมราชิกสถูป สถานที่แสดงอนัตตลักขณสูตร สูง ๖๐ ม. มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๓ ม. (ปัจจุบันสูง ๑ ม.) พระเจ้าอโศกมหาราชสร้าง

๓.     พระมูลคันธกุฎี ที่จำพรรษาแรกของพระพุทธองค์ สูง ๖๓ ม. กว้าง ๑๘ ม.

๔.     เสาอโศกฯ สูง ๑๕.๒๕ ม. ด้านบนเป้นสงห์ ๔ ตัว หันหลังชนกัน

๕.     ยสเจดีย์ สถานที่โปรดยสะลูกเศรษฐี แสดงอนุปุพพิกถา ๕

๖.      เจาคัณฑีสถูป ที่มี ๔ มุม พระอโศกสร้าง พ.ศ. ๒๓๔ สูง ๒๑ ม.

-         พ.ศ. ๒๐๗๕ หุมายุนมาหลบภัย เป็นเวลา ๑๕ ปี

-         พ.ศ. ๒๑๑๙ อักบาร์มหาราชย์ดัดแปลงเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมศิลปะอิสลาม

๗.     พิพิธภัณฑ์สารนาถ เก็บพระพุทธปฏิมา-โบราณวัตถุมากมาย

๘.     วัดไทยสารนาถ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๓๔ ไร่ โดยพระครู

ประกาศสมาธิคูร ปัจจุบันหลวงพ่อพระครูสรวิชัยเป็นเจ้าอาวาส

๙.      วัดพุทธนานาชาติ คือ วัดจีน, วัดธิเบต, วัดเกาหลี, วัดญี่ปุ่น, วัดพม่า, วัดศรีลังกา

๑๐. แม่น้ำคงคา

๑๑. มหาวิทยาลัย

บุคคลสำคัญ

          ๑.  ปัญจวัคคีย์                     ๒.  ยสกุลบุตรและสหาย

          ๓.  นางสุปปิยา                    ๔.  นันทิยามาณพ

          ๕.  ธัมมทินนะอุบาสก             ๖.  อนาคาริกธัมมปาละ

          ๗.  มหาทุคคตะ

สารธรรมสำคัญ

          ๑.  ธัมมจักกัปปวัตนสูตร         ๒.  อนัตตลักขณสูตร

          ๓.  สุวรรณสามชาดก              ๔.  นิโครธชาดก

          ๕.  กปิลชาดก                     ๖.  เนื้อ ๑๐ อย่างที่ห้ามภิกษุฉัน

 

 

คนที่ผัดวันประกันพรุ่งมีแต่ความเสื่อม
Those who procrastinate meet only with failure.
หัตถิปาลชาดก / Hatthipalajataka

หมายเลขบันทึก: 449597เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2011 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท