การประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับค่านิยมร่วม (Common Values) และความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Sensitivity) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ครั้งที่ ๒ ตอนที่ ๑ ภาระงานและ Action Plan


Action Plan เป็นเพียงตัวอย่างของการดำเนินการ หากโรงเรียนใดสนใจจะดำเนินการ ควรมีการปรึกษาพูดคุย ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับปริบทของตน และร่วมกันวางแผนดำเนินงานต่อไป แนวทางปฏิบัตินั้นต้องมีความถี่สูง จึงจะกลายเป็นค่านิยมร่วม

การประชุมครั้งที่ ๒  จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๕-๙  กรกฎาคม  ๒๕๕๔  ณ โรงแรมแกรนด์เดอวิลล์ กรุงเทพฯ   ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยครูผู้ประสานงานโครงการฯและคุณครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ จำนวน ๒๓ โรงเรียนที่ลงนามคู่พัฒนากับประเทศอินโดนีเซีย เปลี่ยนสมาชิกหน้าใหม่จำนวน ๕ ท่าน  นับว่าเป็นส่วนน้อย จึงสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

  

         



คุณจันทรา 
ตันติวงศานุรักษี  เกริ่นนำแนวทางการปฎิบัติงาน  ที่สมาชิกต้องดำเนินการให้สำเร็จ ในช่วงการประชุม และทบทวนบทบาทและภาระงาน  ของโรงเรียนคู่พัฒนาฯ   

ดร ชยพร    กระต่ายทอง  ชี้แจงและอธิบายถึงภาระงานที่ต้องดำเนินการ  ในเรื่องการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ /โครงการฯ ( Action Plan) ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ตามค่านิยมร่วมที่กำหนดไว้จำนวน ๓ เรื่อง (ศึกษาข้อมูลจากบันทึกได้ที่นี่) การออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ครั้งนี้ต้องให้ผู้เรียนมีความรู้คงทน  โดยจัดลำดับขั้นตอนไปตามความ ยาก-ง่าย และมีกระบวนการที่ชัดเจน  สามารถวัดและประเมินผลได้

ดร.วิมลรัตน์  ศรีสุข  อธิบายถึงประเด็นสำคัญในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ต้องประกอบไปด้วย  กิจกรรมหลักจำนวน  ๔ ข้อ


๑ แนวทางในการสร้างความเสมอภาคทางเพศ  สร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
๒  แนวทางการสร้างความตระหนัก  จากกระบวนการเรียนรู้
๓ แนวทางในการจัดการเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จัดกิจกรรมอย่างใด
๔ แนวทางการจัดกิจกรรมเสริมในโอกาสพิเศษต่างๆ ที่ช่วยสร้างเสริมให้กับนักเรียน

    

   

 

Action Plan  เป็นเพียงตัวอย่างของการดำเนินการ   หากโรงเรียนใดสนใจจะดำเนินการ  ควรมีการปรึกษาพูดคุย  ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับปริบทของตน  และร่วมกันวางแผนดำเนินงานต่อไป  แนวทางปฏิบัตินั้นต้องมีความถี่สูง  จึงจะกลายเป็นค่านิยมร่วม

 
ข้อคำนึง: การจัดทำแผนการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้   เน้นค่านิยมควรมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เมื่อเห็นประโยชน์ของการปฏิบัติและตระหนักถึงความสำคัญจึงจะเกิดเป็นค่านิยมร่วม  ดังนั้นเวลาเขียนฯ จึงต้องเน้นให้เห็นกิจกรรมที่นำไปสู่การปฏิบัติที่ทุกคนมีส่วนร่วมและเกิดความรู้แบบคงทน 

ข้อคิด:   กิจกรรม/โครงการประเภทม้วนเดียวจบนั้นควรมีการนำเสนอขั้นตอน ให้เห็นปฏิทินทั้งปี   จะได้มองภาพออกว่ามีการให้ความรู้   มีการฝึกปฏิบัติ และกระทำอย่างต่อเนื่องจนสามารถเกิดค่านิยมร่วม

    
          
 



สมาชิกทั้ง ๓ กลุ่มรับผิดชอบ เขียน Action Plan  มีการนำเสนอวิพากย์-เสนอแนะ – ปรับแก้กันหลายรอบ  กว่าจะเข้าสู่ประเด็นตามจุดมุ่งหมาย ใช้เวลาจนนาทีสุดท้ายของการประชุมฯ โดยมีวิทยากรดูแลอย่างใกล้ชิด

คุณมัทนา  มรรคผล  คุณจันทรา  ตันติวงศานุรักษี  คุณอนุวินต์  ลาภธนาภรณ์  คุณวิมลรัตน์  ศรีสุข  คุณชยพร    กระต่ายทอง


ข้อคิดเสริม

 - เวลาเขียนกระบวนการดำเนินงาน  หากเน้นสาระความรู้เรื่องใด  ควรนำเสนอกิจกรรมด้านนั้นขึ้นมาก่อน  ส่วนเจตคติที่ได้ต้องไปอยู่ด้านหลัง

- การประเมินต้องวัดไปตามวัตถุประสงค์     

-  เมื่อสาระสำคัญไปเน้นที่การอ่าน   วัตถุประสงค์ต้องล้อไปตามสาระสำคัญไม่ใช่ไปวัดด้านการทำงานเป็นทีม ฯลฯ
- กิจกรรมโฮมรูม   ควรให้ ความรู้เรื่องสิทธิ-เสรีภาพ ก่อน  นักเรียนถึงจะได้มีความตระหนักและแยกแยะได้

- หากมีภาพประกอบ หรือตัวอย่าง…. ต้องมีทั้งสองเพศ  ให้มีการเปรียบเทียบอย่างชัดเจน   กิจกรรมสร้างทักษะ  ต้องมีกระบวนการ  ไม่ใช่แค่เกริ่นในแผน /โครงการ เท่านั้น
- การวางแผนดำเนินกิจกรรมหากเขียนไว้กว้างเกินไป  จะไม่ได้สาระตามเป้าหมายที่ต้องการ  กระบวนการของกิจกรรมจะไม่สามารถนำไปสู่ค่านิยมร่วมได้ 

 

 

                              
                                      ***   ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ   ***

หมายเลขบันทึก: 449140เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2011 07:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท