cha
นางสาว มาลินี cha โต๊ะหลี

การถ่ายภาพภูเขาและการถ่ายภาพดวงอาทิตย์


การถ่ายภาพภูเขา ถ้าต้องการให้มีความลึกเข้าไปในภาพต้องเลือกมุมที่เห็นทิวเขาสลับ ซับซ้อน มีฉากหลัง เพราะฉากหลังทำให้ภาพมีความลึกลับ ไม่แบนและมีความต้องการให้เห็นสีสันของต้นไม้ โดยเฉพาะช่วงป่าเปลี่ยนสีผลัดใบใบๆ จะมีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สลับกันสวยงาม ถ้าองการให้เห็นสีสันของใบไม้พวกนี้ เราต้องถ่ายภาพตามแสงเป็นหลักยกเว้นว่าเป็นการถ่ายภาพช่วงดวงอาทิตย์กำลังขึ้น หรือกำลังตกก็นิยมถ่ายภาพทิวเขาสลับซับซ้อนเป็นฉากหน้า และมีดวงอาทิตย์ที่กำลังทดแสงเรืองๆ อยู่ตรงขอบฟ้า

การถ่ายภาพภูเขาและการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ 

 การถ่ายภาพภูเขา ถ้าต้องการให้มีความลึกเข้าไปในภาพต้องเลือกมุมที่เห็นทิวเขาสลับ ซับซ้อน มีฉากหลัง เพราะฉากหลังทำให้ภาพมีความลึกลับ ไม่แบนและมีความต้องการให้เห็นสีสันของต้นไม้ โดยเฉพาะช่วงป่าเปลี่ยนสีผลัดใบใบๆ จะมีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สลับกันสวยงาม ถ้าองการให้เห็นสีสันของใบไม้พวกนี้ เราต้องถ่ายภาพตามแสงเป็นหลักยกเว้นว่าเป็นการถ่ายภาพช่วงดวงอาทิตย์กำลังขึ้น
 หรือกำลังตกก็นิยมถ่ายภาพทิวเขาสลับซับซ้อนเป็นฉากหน้า และมีดวงอาทิตย์ที่กำลังทดแสงเรืองๆ อยู่ตรงขอบฟ้า อันนี้จะจำเป็นต้องถ่ายย้อนแสง แม้จะไม่เห็นรายละเอียดสีสันของทิวเขาก็ตาม แต่เรากลับจะได้เห็นรูปร่างของตัวทิวเขาที่สลับทับซ้อนกันไปมา สลับฟันปลากันอย่างสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง ประกอบภาพสีสันของท้องฟ้า ยามที่ดวงอาทิตย์กำลังลาลับขอบฟ้าก็เป็นภาพที่น่าสนใจมาก
แน่นอนว่าการถ่ายภาพวิว ทิวเขาเช่นนี้ก็ต้องระมัดระวังเรื่องของเส้นขอบฟ้าด้วยเช่นเดียวกันกับการถ่ายภาพวิวทั่วๆไป คือต้องระมัดระวังไม่ปล่อยให้เส้นขอบฟ้าอยู่ในรูปเอียง เพราะจะทำให้ภาพทั้งหมดดูเสียความสมจริงไปได้หากเส้นขอบฟ้าไม่อยู่ในแนวระดับส่วนการจัดวางเส้นขอบฟ้าก็ยังคงยึดหลัก 1 ในหรือกฎ ส่วน Rules of Third 
อยู่เช่นเดิมคือให้วางเส้นขอบฟ้าไว้ประมาณ 1ใน ของภาพเสมออาจจะเป็น 1ใน ทางด้านบน หรือทางด้านล่างก็ได้แล้วแต่จะเน้นทิวเขา หรือจะเน้นท้องฟ้าเป็นหลักการถ่ายรูปดวงอาทิตย์ขึ้น หรือตก มีเคล็ดลับที่น่าสนใจ กล่าวคือเราไม่ควรวัดแสงในขณะดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ในภาพด้วย  ให้เราเบี่ยงกล้องและเลนส์ออกไปดวงอาทิตย์สักเล็กน้อย และวัดแสงตรงท้องฟ้าตำแหน่งข้างๆ 
กับแทนจะทำให้ได้สีสันของท้องฟ้าที่ถูกต้องเหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากถ้าเราวัดแสงโดยอาทิตย์อยู่ในภาพด้วยจะทำให้ได้ค่าแสงที่มากเกินไป และเครื่องวัดแสงของกล้องก็จะบอกให้เราถ่ายภาพออกมา Under เกินไปกว่าที่ควรจะเป็นวิธีการก็คือให้เราเบี่ยงกล้องและเลนส์ออกไปจากดวงอาทิตย์สักเล็กน้อยและกดปุ่ม AE-L (Auto Exposure Lock)
      เพื่อให้กล้องจำค่าแสง ณ ตำแหน่งข้างๆ ดวงอาทิตย์นั้น จากนั้นจึงค่อยเบี่ยงกล้องกลับมาให้เห็นดวงอาทิตย์อยู่ในเฟรมภาพด้วย จัดองค์ประกอบให้เหมาะสมโดยที่ยังคงกดปุ่ม AE-L ค้างเอาไว้ด้วย จากนั้นก็กดปุ่มชัตเตอร์ลงไปเพื่อบันทึกภาพ กล้องก็จะใช้ค่าแสงด้านข้างๆดวงอาทิตย์ตามที่เรา Lockค่าเอาไว้ด้วยการกดปุ่ม AE-L 
นั่นสำหรับการถ่ายภาพ ภาพดังกล่าวก็จะได้ค่าแสงของท้องฟ้าที่เหมาะสมมากกว่าการวัดแสงโดยให้มีภาพดวงอาทิตย์อยู่ในเฟรมตั้งแต่แรกซึ่งมักจะได้ค่าที่Under เกินไปเพราะแสงจากดวงอาทิตย์มันรุนแรง และไปหลอกเครื่องวัดแสงภายในกล้องให้คิดว่ามีแสงมาก แต่จริงๆท้องฟ้าข้างๆแสงไม่ได้แรงขนาดนั้นเลยแต่ทั้งนี้ โดยปกติของการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกก็ตาม เราไม่อาจจะพยากรณ์ได้แน่ชัด 100% เหมือนกับการถ่ายภาพปกติ เนื่องจากเป็นการยากที่จะบอกได้ว่าท้องฟ้าในวันนั้นควรจะถ่ายพอดีถ่ายติด Under หรือถ่าย Over สักเล็กน้อยถึงจะสวย เนื่องจากท้องฟ้าเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกของแต่ละวันไม่เคยซ้ำรูปแบบกันเลย จึงแนะนำให้ถ่ายเผื่อเลือกไว้บ้าง 
โดยการใช้เทคนิคที่เรียกว่า การถ่ายภาพคร่อม หรือ Bracketing ซึ่งมีตัวย่อยว่า BKT นั่นเอง โดยการถ่ายภาพคร่อมนี้กล่องจะถ่าย ภาพติดต่อกันโดยที่เรากดปุ่มชัตเตอร์เพื่อบันทึกภาพแค่ครั้งเดียว แต่ภาพแรกจะถ่ายพอดี ภาพที่ จะถ่ายให้ Under ไปนิดหน่อย ส่วนภาพที่ ก็จะถ่ายให้ Over นิดหน่อย เพื่อให้เราได้เลือกว่าภาพไหนจากทั้ง ภาพที่สวยที่สุดเราสามารถตั้งความแตกต่างระหว่างภาพต่างๆในโหมด BKT นี้ได้ แต่โดยปกติจะเป็นการถ่าย 3ภาพที่แตกต่างกัน ภาพละ 1stop เช่น ถ่ายภาพแรก วัดแสงได้พอดีที่ F8 ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 วินาที ภาพที่ กล้องจะถ่ายที่ F8 ความเร็วชัตเตอร์1/125 วินาที และภาพที่ กล้องจะถ่ายที่ F8 ความเร็วชัตเตอร์ 1/30 วินาทีก็จะได้ภาพ ภาพที่ได้รับแสงแตกต่างกันคือ พอดี 1รูป Under ไป 1 stopอีก รูป และ Over ไป 1 stop อีก รูป หรือในบางครั้งอาจจะตั้งให้แตกต่างกันแค่เพียง…stop ก็ได้หากเป็นการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม Slide ซึ่งจะเห็นผลแตกต่างได้ชัด แม้สภาพแสงต่างกันเพียง…stop
       อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกนั้นมีเวลาไม่มากเลยจะมีช่วงเวลาประมาณแค่ 15-20 นาทีเท่านั้น ที่สามารถถ่ายภาพดวงอาทิตย์ขึ้นหรือตกได้อย่างสวยงาม และถ้าอยากจะได้ดวงอาทิตย์ดวงโตๆ สีแดงๆ แบบที่นิยมถ่ายภาพกันนั้นก็ต้องรอจนกว่าดวงอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้าเต็มทีซึ่งแทบจะถ่ายกันไม่ทันเลย
 ปกติจะอยู่ในช่วงแค่ 5-10 นาที สุดท้ายก่อนดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้าเท่านั้นที่จะสวยงามเหมาะกับการถ่ายภาพ สำหรับการถ่ายภาพดวงอาทิตย์คือเราต้องไปเลือกทำเลที่คาดว่าจะเห็นดวงอาทิตย์ตกได้ดีที่สุด และต้องขึ้นไปกางขากล้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมเมื่อถึงเวลาก็ถ่ายภาพในช่วงเวลาดังกล่าวให้ได้มากที่สุดเพราะมันจะผ่านไปเร็วมาก
 และเมื่อขอบของดวงอาทิตย์ด้านหนึ่งเริ่มแตะหายลับขอบฟ้าไปลองสังเกตจะใช้เวลาถัดมาอีกไม่เกิน 2 นาทีก็จะหายไปทั้งดวงช่วงเวลาดังกล่าวนี้จะรวดเร็วมากจนหลายๆคนพลาดเวลาสำคัญดังกล่าวไปอย่างน่าเสียดายเพราะมัวแต่เปลี่ยนเลนส์ และฟิล์มเพราะฉะนั้นจะต้องเตรียมพร้อมทุกเมื่อ เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ขึ้น แสงแรกที่ปรากฏขึ้นที่ขอบฟ้าคือขอบฟ้าเป็นสีฟ้าไล่มาสู่
สีแดงจะมีเวลาไม่เกิน นาทีเท่านั้น พอดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นที่ขอบฟ้าเท่านั้น ทุกอย่างที่สวยงามก็จะมลายลงไปในพริบตา  ส่วนในบางสถานการณ์บางวันที่ท้องฟ้ามีเมฆอยู่เยอะ เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นมาสูงได้สักระยะหนึ่ง หรือระหว่างที่กำลังจะตกอาจจะลับเข้าไปอยู่ด้านหลังของเมฆพวกนี้ทำให้มีลำแสงส่องออกมาจากก้อนเมฆอันนี้ถือว่าเป็น โบนัส สำหรับการถ่ายภาพดวงอาทิตย์จริงๆ
  จะต้องรีบฉวยโอกาสถ่ายภาพนั้นไว้ให้ได้ แต่มีเทคนิคที่จะแนะนำเล็กน้อย สำหรับการถ่ายดวงอาทิตย์ให้เห็นแสงเป็นลำแสงพุ่งออกมาจากเมฆว่าให้เราเน้นการถ่ายให้ Under สักเล็กน้อยเพื่อเน้นส่วนเงาให้เห็นชัดเจน และตรงส่วนลำแสงตัดผ่านเงาเหล่านี้ก็จะช่วยทำให้เน้นส่วนของลำแสงที่พุ่งผ่านไปได้อย่างชัดเจนมากกว่าการถ่ายภาพให้พอดีตามปกติ แต่ก็อย่าให้ Under
  มากจนเกินไปปกติจะถ่ายให้ภาพ Under ประมาณ 1 stop กำลังดีสำหรับการเน้นให้เห็นลำแสงพุ่งผ่านก้อนเมฆ นอกจานี้ข้อควรระวังเพิ่มเติมเวลาถ่ายบริเวณริมหน้าผา หรือจุดชมวิวตามยอดเขาต่างๆ หรือตามทางหลวง ก็คือทุกครั้งที่มีการเคลื่อนที่ควรละสายตาออกมาจากช่องมองภาพ และดูไปยังพื้นที่เรากำลังจะเดิน เพราะอาจจะสะดุดและหกล้มได้และอาจจะพลัดตกลงเหวได้
หรืออุปกรณ์อาจจะตกลงไปทำให้เสียหายได้

คำสำคัญ (Tags): #การถ่ายภาพ
หมายเลขบันทึก: 449097เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2011 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ภาพนี้จะถ่ายที่สวนกันไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท