คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เทคโน มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

การวิจัยในชั้นเรียน


การวิจัยในชั้นเรียน
      การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยของผู้สอนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอนของตนและสอดคล้องกับการสอนตามปกติ โดยมุ่งเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติ และไม่มีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างแต่จะใช้จำนวนผู้เข้าเรียนทั้งหมดในการวิจัย เพื่อให้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนโดยเร็วที่สุด โดยไม่มีการกำหนดกรอบแนวความคิด ทฤษฏี แต่จะใช้องค์ความรู้หรือประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้สอนเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้เรียนมากที่สุด เช่น การให้แบบฝึกหัดเพื่อเป็นพื้นฐานก่อนการเรียนครั้งต่อไปแล้วดูผลการเรียนรู้ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจะมุ่งเน้นที่เนื้อหา ซึ่งไม่เน้นการวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูง เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำของคะแนน เป็นต้น
      การสรุปผลเป็นการสะท้อนผลร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เกี่ยวข้อง เช่น ใช้วิธีอะไรให้สัมฤทธิ์ผล อาจได้จากการสัมภาษณ์ร่วมกับผู้สอนท่านอื่นที่สอนในวิชาเดียวกัน ช่วงเวลาในการทำวิจัยให้ทำเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถนำผลมาใช้ได้ทันที เช่น เป็นช่วงเวลาระหว่างสัปดาห์ หรือหลังจากการเรียนครั้งนั้น ส่วนการนำไปใช้ต้องสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ได้ทันที และตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นได้โดยไม่เน้นการตีพิมพ์ เพื่อลดภาระการเขียนของอาจารย์ผู้สอน หรือเขียนเพียงหน้าเดียวในการรางานผลการวิจัย
หมายเลขบันทึก: 448975เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2011 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท