สามเรื่องสั้น (จริงๆ)..ชวนคิด เรื่องการเรียนรู้


เรื่องที่ 1 : กิ่งไม้ของหนู
..ฤดูร้อนอากาศแจ่มใส  ขณะที่ข้าพเจ้า เดินเล่นผ่านต้นไม้ข้างทาง จังหวะเดียวกับสาวน้อยอายุประมาณ 5 ขวบ วิ่งไปยกกิ่งไม้ยาวราว 2 เมตรอย่างทุลักทุเล เอียงไปมา
..คุณแม่ของสาวน้อยที่อยู่ห่างๆ ได้ร้องบอกประโยคหนึ่ง...ท่านคิดว่าคืออะไร
ก. วางกิ่งไม้ลง!
ข. ระวัง เดี๋ยวก็ตกใส่หน้าตัวเองหรอก
ค. ออกมาห่างๆ ทางเดิน เดี๋ยวไปโดนคนอื่น
..คะ คำตอบคือ ข้อ ค.

คุณแม่ไม่ห้ามให้สาวน้อยเรียนรู้ว่าการยกอะไรหนักเกินตัว อาจทำให้เธอเจ็บ แต่ทีสำคัญ  สิ่งนั้นต้องไม่ก่อความเดือดร้อนให้กับคนอื่น 
..สาวน้อย ยังหันไปเถียงคุณแม่ "ตอนยก ยังไม่เห็นใครเดินมาเลย..."

เรื่องที่ 2 : Disparity?
..นักสังคมศาสตร์ ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับ พฤติกรรม การพักผ่อนในวันหยุด เปรียบเทียบระหว่าง Hispanic (คนที่พูดภาษาสเปน เช่น เม็กซิกัน) กับ White พบว่า
- Hispanic รู้สึกได้รับบริการจากอุทยานแห่งชาติต่างๆ ต่ำกว่า
- Hispanic มักไปกันเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ ขณะที่ White ไปกันแบบพ่อ แม่ ลูก
หากท่านอ่านวิจัยนี้ ท่านคิดว่า
ก. รู้แล้วไง
ข. ลองขยายโต๊ะปิ้กนิ้กในอุทยานดูสิ
ค. ต้องเรียกร้องความเป็นธรรม ขจัดความเหลื่อมล้ำทางเชื้อชาติ

..คำตอบที่เกิดขึ้นจริงคือ ข้อ ข. และปรากฎว่า หลังจากขยายขนาดโต๊ะปิ้กนิ้กในอุทยาน พบว่า ความพึงพอใจสูงขึ้น
..เมื่อรู้ปัญหา หากไม่แก้ปัญหาเลย งานวิจัยก็สูญเปล่า ขณะเดียวกัน วิธีแก้ปัญหาบางครั้งก็แสนจะใกล้ตัว simple แต่ตรงจุดกว่า การคิดวิธีอันสลับซับซ้อน

เรื่องที่ 3 : เมื่อต้องนำ "ช้างทั้งตัว มาอยู่ในห้อง"
..ผู้ป่วยโรคตับวายระยะสุดท้ายชาวเวียดนาม นอนใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ใน ICU คณะแพทย์ผู้ดูแล นัดพบปะ บุตรสาวของผู้ป่วย..เธอเป็นคนที่ครอบครัวยอมรับว่าเฉลียวฉลาด เรียนสูงที่สุด..
บุตรสาว : ถ้าเราถอดเครื่องช่วยหายใจออก คุณพ่อจะเหนื่อยไหม
แพทย์ : เราจะให้ยาช่วยควบคุมอาการ ในระดับที่ไม่เร่ง และไม่ยื้อ ผู้ป่วย
บุตรสาว :  เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าระดับนั้นถูกต้อง...
etc
เวลาผ่านไปเกือบ 2 ชั่วโมง กับการชี้แจงรายละเอียด ..แพทย์ผู้อาวุโสในทีม เหลือบมองนาฬิกา ควรได้เวลาในการไปราวน์ผู้ป่วยรายอื่นแล้ว
ท่านคิดว่า แพทย์อาวุโสจะพูดว่า
ก. เราต้องไปแล้ว
ข. วันนี้เราคงต้องพอแค่นี้ก่อน แล้ววันพรุ่งนี้มาคุยกันต่อ 
ค. เรามีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยในลักษณะเดียวกับคุณพ่อคุณ เมื่อถึงเวลานั้นเราจะดูแลอย่างดีที่สุด 

..คำตอบคือ ข้อ ค. ทางทฤษฎี เราควรให้ข้อมูลกับผู้ป่วยและญาติมากที่สุด แต่..ในโลกแห่งความเป็นจริง เราไม่สามารถบอกได้ทั้งหมด อธิบายได้ทั้งหมด บางสถานการณ์ ต้องใช้ intuitive  ที่ไม่ได้มาจากการแก้สมการแบบ linear
ดังนั้น การให้ข้อมูลอาจไม่ใช่ "ยิ่งมากยิ่งดี" แต่ควรเป็นระดับที่ "เพียงพอ"
..เหมือน ระดับการศึกษา ไม่ใช่ว่า คนยิ่งเรียนสูงยิ่งประสบความสำเร็จ เพียงแต่ควรมีระดับการศึกษาที่ "เพียงพอ" เพราะมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่มีผลต่อความสำเร็จ..

*****************************************************
เอดิสันกล่าวว่า "ฉันไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ ฉันเป็นนักประดิษฐ์"
นักวิทยาศาสตร์ต้องการรู้ความจริงของธรรมชาติ
นักประดิษฐ์ ต้องการสร้างสิ่งที่ "ใช้ได้ และคุ้มค่า" 

หมายเลขบันทึก: 448380เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2011 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท