งานวิจัยเกียวกับการสอน


แก้ไขปัญหานักเรียน

การวิจัย เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นได้ดี วิธีหนึ่ง ทุกงานทุกสาขาอาชีพ สามารถนำมาใช้ในการหาองค์ความรู้หรือข้อค้นพบในการแก้ปัญหา หรือพัฒนางานได้อย่างเป็นระบบ จึงอาจกล่าวได้ว่า “การวิจัยช่วยให้การพัฒนางานเป็นระบบแ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการอ่าน - เขียนภาษาไทย ด้วยวิจัยในชั้นเรียน บทนำ การวิจัย เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นได้ดี วิธีหนึ่ง ทุกงานทุกสาขาอาชีพ สามารถนำมาใช้ในการหาองค์ความรู้หรือข้อค้นพบในการแก้ปัญหา หรือพัฒนางานได้อย่างเป็นระบบ จึงอาจกล่าวได้ว่า “การวิจัยช่วยให้การพัฒนางานเป็นระบบและเป็นไปอย่างน่าเชื่อถือ” สะท้อนถึงความชัดเจน รอบคอบ และตรวจสอบได้ http://gotoknow.org/file/khajitfoythong/ksnsamut5.JPG งานการจัดการเรียนการสอนของครู ถือว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องการความเชื่อถือได้ในผลงานการสอนที่เกิดขึ้น หากครูผู้สอนได้นำการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน หรือแก้ปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน จะสามารถพัฒนานักเรียนได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งเป็นการประกัน คุณภาพการศึกษาได้อย่างดียิ่ง ทั้งนี้จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งบิดามารดา ผู้ปกครองของนักเรียนจะ มีความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี “การวิจัยแบบง่าย” จึงเป็นแนวทางหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยมีขอบเขตของเรื่องที่จะดำเนินการวิจัยที่ไม่ซับซ้อน ไม่ใหญ่มาก แล้วมีการสรุปผลการวิจัยที่สมบูรณ์ครอบคลุมประเด็นสำคัญ โดยมีจำนวนหน้าไม่มากนัก อาจเป็นหนึ่งหน้า หรือมากกว่าหนึ่งหน้า ก็ได้ และปัจจุบันจึงเรียกงานวิจัยในชั้นเรียนลักษณะนี้ว่า “วิจัยแผ่นเดียว” หรือ “วิจัยหน้าเดียว” การแก้ไขปัญหาการอ่าน - เขียน ภาษาไทย หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ปัญหาการอ่านไม่ออก - เขียนไม่ได้ อ่านไม่คล่อง - เขียนไม่คล่อง ในขณะนี้เป็นปัญหาเร่งด่วน ที่ครูผู้สอนทุกคน ไม่เฉพาะแต่ครูภาษาไทยเท่านั้น ต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขเพื่อให้เยาวชนผู้เป็นอนาคตของชาติ มีการพัฒนาหรือได้รับการแก้ไขปัญหา ด้วยเหตุที่ว่า หากเยาวชนของเราอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ การเรียนรู้สรรพวิชาต่างๆ ก็ย่อมจะมืดมน เพราะทักษะการอ่าน - เขียน เป็นทักษะพื้นฐานจำเป็น ในการรับสาร - ส่งสาร นอกเหนือจากทักษะฟัง - ดู - พูด ซึ่งผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำกระบวนการวิจัยที่เป็นการวิจัยแบบง่าย หรือวิจัยแผ่นเดียวมาใช้ในการแก้ปัญหา การอ่าน - เขียนภาษาไทย จึงเป็นเรื่องสำคัญจำเป็นสำหรับครูและต้องเป็นเรื่องที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน และส่งผลต่อคุณภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง เพราะภาษาไทยเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผู้เรียนจะใช้ในการแสวงหาความรู้ในโลกกว้างได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดขั้นตอนในการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการอ่าน - เขียนภาษาไทย การกำหนดขั้นตอนการวิจัยแบบง่ายที่เสนอนี้ เป็นขั้นตอนหลักซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ทั่วไป ผู้สอนจะกำหนดให้ละเอียดกว่านี้ก็ได้ ในที่นี้ขอเสนอไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ การกำหนดปัญหา หรือเป้าหมายการวิจัย การกำหนดวิธีการวิจัย หรือวิธีหาคำตอบ หรือวิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน การรวบรวมข้อมูลตามวิธีการที่กำหนด การวิเคราะห์ประมวลผล ตีความ โดยนำข้อมูลที่รวบรวมมาพิจารณา การสรุปและเขียนรายงานการวิจัยแบบง่าย (วิจัยแผ่นเดียว) กรณีศึกษาการแก้ปัญหาการอ่าน - เขียน ภาษาไทย กรณีศึกษาที่เสนอเป็นตัวอย่างนี้ ครูผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียน ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถการอ่าน - เขียน คำควบกล้ำ ร ล ว นักเรียนชั้น ป.6 ใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ชื่อผู้วิจัย นางสาวใจดี รักสอน สภาพปัญหา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 20 คน ส่วนใหญ่อ่านและเขียนคำที่ ควบกล้ำ ร ล ว ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะ เมื่อตรวจสมุดงานในวิชาต่างๆ จากการตรวจงานการเขียนเรียงความ และสอบถามจากครูผู้สอนท่านอื่น ต่างก็มีความเห็นเช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ผู้สอนได้ใช้แบบประเมินการอ่าน - เขียน ภาษาไทย ตรวจสอบพบว่าคำที่นักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นคำควบกล้ำ ร ล ว ซึ่งเป็นสาเหตุให้นักเรียนไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงออก และขาดความมั่นใจ เวลาให้นักเรียนสรุปหรือรายงานหน้าชั้นเรียน จะรู้สึกว่าเป็นตัวตลกให้เพื่อนหัวเราะเวลาพูดผิดหรือออกเสียงผิด เวลาเขียนก็เกิดความลังเลไม่มั่นใจ มีลักษณะการขีดฆ่าและลบบ่อย ดังนั้นหากนักเรียนได้รับการแก้ไขโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน - เขียน คำภาษาไทย ที่เป็น คำควบกล้ำ ร ล ว จะช่วยพัฒนาความสามารถการอ่าน - เขียน คำควบคล้ำ ร ล ว ของนักเรียนได้ดีขึ้น เป้าหมายการวิจัย เพื่อฝึกและพัฒนาความสามารถการอ่าน - เขียน คำควบกล้ำ ร ล ว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 20 คน วิธีการวิจัย สร้างแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน - เขียน คำภาษาไทยที่เป็นคำควบกล้ำ ร ล ว โดยใช้คำที่นักเรียน อ่าน - เขียน ไม่ถูกต้อง ปรากฏในแบบฝึกให้ครบถ้วน จำนวน 5 ชุด รวม 20 แบบฝึกดังนี้ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน - เขียน คำควบกล้ำ ร ล ว โดยใช้คำประพันธ์ 5 แบบฝึก แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน - เขียน คำควบกล้ำ ร ล ว โดยใช้ข้อความ/นิทาน 3 แบบฝึก แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน - เขียน คำควบกล้ำ ร ล ว โดยใช้ปริศนาคำทาย 3 แบบฝึก แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน - เขียน คำควบกล้ำ ร ล ว โดยใช้เกมปริศนาอักษรไขว้ 5 แบบฝึก แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน - เขียน คำควบกล้ำ ร ล ว โดยใช้บทเพลง 4 แบบฝึก สร้างแบบประเมินการอ่าน – เขียน คำควบกล้ำ ร ล ว ก่อน และหลังการใช้แบบ ฝึกเสริมทักษะ จำวน 40 คำ ประเมินการอ่าน - เขียน คำควบกล้ำ ร ล ว ก่อนใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่าน - เขียนคำ ควบกล้ำ ร ล ว ควบคู่กับแบบฝึก ดำเนินการพัฒนาการอ่าน - เขียนคำควบกล้ำ ร ล ว โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ชุดที่ 1-5 โดยใช้คาบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นเวลา 20 ชั่วโมง (สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง) ขณะฝึกการอ่าน - เขียนคำควบกล้ำ ร ล ว บันทึกผลการอ่าน - เขียน นักเรียนเป็นรายบุคคล สรุปผลการอ่าน - เขียน คำควบกล้ำ ร ล ว ในแต่ละแบบฝึกเสริมทักษะ ประเมินการอ่าน - เขียนคำควบกล้ำ ร ล ว หลังใช้แบบฝึกเสริมทักษะ สรุปผลและเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการพัฒนาความสามารถ การอ่าน - เขียน คำควบกล้ำ ร ล ว ก่อน - หลัง การใช้แบบฝึกเสริมทักษะเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม (ทั้งชั้น) ผลการวิจัย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ทุกคน มีความสามารถในการอ่าน - เขียน คำควบกล้ำ ร ล ว สูงขึ้น โดยมีนักเรียนจำนวน 5 คน ได้พัฒนาความสามารถจากระดับปรับปรุง เป็นระดับพอใช้ นักเรียนจำนวน 12 คน ได้พัฒนาความสามารถจากระดับพอใช้เป็นระดับดี นักเรียนจำนวน 3 คน ได้พัฒนาความสามารถจากระดับปรับปรุง เป็นระดับดี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โดยภาพรวมมีความสามารถในการอ่าน - เขียน คำควบกล้ำ ร ล ว อยู่ในระดับพอใช้ มีพฤติกรรมการแสดงออกดีขึ้น กล้าพูด กล้าแสดงออกหน้าชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น ใช้ภาษากลางในการสื่อสารมากขึ้นกว่าเดิม ที่มา พิน อินทะยะ สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 8. เชียงใหม่ : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 8, 2539., สพฐ http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=11634&Key=news_research เข้าชม : 115656 นำเสนอโดย : สุวารี โสมาบุตร โรงเรียนบ้านเกาะรัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต2 อยู่ในขั้น : ปรมาจารย์

หมายเลขบันทึก: 448106เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2011 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท