วรรณกรรมท้องถิ่น


ทบทวน

แบบทดสอบทบทวนวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น

๑.  ความหมายของเพลงพื้นบ้าน ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด

ก.       เพลงที่ชาวบ้านร้อง 

ข.       เพลงที่ชาวบ้านประดิษฐ์ขึ้น 

ค.       เพลงที่ชาวบ้านร่วมกันรื่นเริง 

ง.        เพลงที่ชาวบ้านร่วมกันแสดง

. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของเพลงพื้นบ้านเด่นชัดที่สุด

ก. แสดงเอกลักษณ์ของคนในหมู่บ้าน                  ข.  ทุกคนร้องได้
ค. มีสัมผัสคล้องจอง                                    ง. ให้ความบันเทิง

. โดยทั่วไปแล้วเพลงพื้นบ้านจะมีลักษณะเด่น คือ

ก. มีความสนุกสนาน ใช้ภาษาคมคาย มีภาษาบาลีสันสกฤต

ข.  มีความเรียบง่ายทั้งด้านแต่งกาย และการเล่น

ค.  เป็นวรรณกรรมอมุขปาฐะ มีความเป็นพื้นบ้านพื้นเมือง

ง.   มีภาษาถิ่นปะปนอยู่ จังหวะเร้าใจ ใช้ศัพท์สูงชวนฟัง

. เพลงพื้นบ้านที่ประกอบการทำงาน คือเพลงอะไร

ก.  เพลงเต้นกำรำเคียว                                 ข.  หมอลำ

ค.  เพลงเรือ                                            ง.  เพลงฉ่อย

. เพลงแห่นางแมวจัดเป็นเพลงชนิดใด

ก. เพลงปฏิพากย์                                       ข. เพลงประกอบการเล่น

ค. เพลงประกอบพิธี                                    ง. เพลงเข้าผีเชิญผี 

. เพลงที่ใช้ร้องเกี้ยวพาราสีกัน หลังจากทำบุญตักบาตรแล้วมานั่งรอบโบสถ์ เรียกว่าเพลงอะไร

ก.  เพลงพวงมาลัย                                     ข. เพลงลำตัด 

ค. เพลงรำวง                                            ง. เพลงพิษฐาน

 

. "จะให้นั่งแต่หอทอแต่หูก นั่งเลี้ยงแต่กันแต่ไร" จากบทเพลงนี้ทำให้เราได้รับความรู้เกี่ยวกับสิ่งใดบ้าง

ก. การทำงาน การเลี้ยงดูบุตร 

ข. การเลี้ยงลูกในสมัยโบราณ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 

ค. การทอผ้า การแต่งกาย 

ง. การปลูกเรือน การเลี้ยงดูบุตร

 . "วัดเอ๋ย วัดโบสถ์ ปลูกข้าวโพดสาลี เจ้าลูกเขยตกยาก แม่ยายก็พรากลูกสาวหนี ต้นข้าวโพดสาลี ตั้งแต่นี้จะโรยรา" เพลงกล่อมเด็กนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

ก.       สอนให้รู้จักมีสัมมาอาชีพ 

ข.       สอนให้มีความประพฤติดี

ค.       สอนเกี่ยวกับความรัก การทำมาหากิน

ง. สอนให้เป็นผู้มีคุณธรรม

. เพลงกล่อมเด็กมีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

ก. อบรมสั่งสอน                                       

ข. แสดงความในใจของแม่ที่มีต่อลูก 

ค. ต้องการให้เด็กนอนหลับ                           

ง.  ถูกทุกข้อ

๑๐. ข้อใดเป็นประโยชน์และคุณค่าของเพลงพื้นบ้าน

ก. ทราบเกร็ดย่อยความรู้ในด้านต่างๆ      

ข. ได้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมในยุคสมัยนั้น

ค. ทำให้ทราบลักษณะของวรรณกรรมลายลักษณ์ท้องถิ่น

ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก

๑๑.  ข้อใดไม่ใช่เพลงพื้นบ้านที่อยู่ภาคเดียวกัน

ก.  เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย                         ข.  เพลงโคราช ขับลำสั้น

ค.  มโนราห์ เพลงบอก                                 ง.  ลำตัด ลำกลอน

๑๒.  ข้อใดไม่ใช่เพลงกล่อมเด็ก

ก.  แม่ศรีเอย แม่ศรีสวยสะ ยกมือไหว้พระ ก็จะมีคนชม ขนคิ้วเจ้าก็ต่อ ขนคอเจ้าก็กลมชักผ้าปิดนม ชมแม่ศรีเอย

ข.  อื่อ อื่อ อือ จา ป้อนายแตงสา แม่นายก็ไปนานอกบ้าน เก็บบ่าส้านใส่โถง

ค.  แม่ไปไฮ่ หมกไข่มาหา แม่ไปนา จี่ปามาป้อน แม่เลี้ยงม่อน ในป่าสวนม่อน

ง.  พ่อเนื้อเย็นเอย แม่มิให้เจ้าไปเล่นที่ท่าน้ำ จระเข้หรา มันจะคาบเจ้าเข้าถ้ำ

เจ้าทองคำพ่อคุณ

๑๓.  ข้อใดไม่ใช่คุณค่าของวรรณกรรมท้องถิ่น

ก.  ให้ความบันเทิงใจแก่ชุมชน              

ข.  ก่อให้เกิดความรักถิ่นหวงแหนมาตุภูมิ

ค.  ให้ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจในชุมชน

ง.  ให้ความเข้าใจในค่านิยม/วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น

๑๔.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของวรรณกรรมท้องถิ่น 

ก.  เป็นภูมิปัญญาทางภาษา

ข.  เป็นวรรณกรรมที่ไม่เป็นเอกลักษณ์อักษร

ค.  เป็นวรรณกรรมที่มีผู้บันทึกไว้เป็นตัวหนังสือ

ง.  เป็นงานเขียนที่ใช้ภาษาทางราชการ

๑๕.  ข้อใดไม่ใช่วรรณกรรมท้องถิ่น 
            ก.  เพลงเกี่ยวข้าว     ลำตัด                           
            ข.  เพลงซอ            ค่าว
            ค.  ลำเต้ย             เพลงโคราช                    
          ง.  เพลงนา            เพลงบอก
๑๖.  ข้อใดไม่ใช่วรรณกรรมท้องถิ่น
            ก.  ปริศนาคำทาย                                  
            ข.  พระราชพิธีต่างๆ
            ค.  นิทานและตำนาน                               
            ง.  เพลงประกอยการละเล่น
๑๗.  ข้อใดไม่จัดเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ  
            ก.  นิทาน                                                    
                ข.  เพลงฉ่อย
            ค.  ลิลิตพระลอ                                     
            ง.  ปริศนาคำทาย
๑๘.  ข้อใดไม่ใช่วรรณกรรมท้องถิ่นของภาคกลาง 
            ก.  ปลาบู่ทอง                                              
            ข.  พระรถ-เมรี
            ค.  ท้าวก่ำกาดำ                                           
            ง.  พญากงพญาพาน
 ๑๙.  ข้อมูลจัดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทเดียวกัน
            ก.  การะเกด          ตาม่องล่าย            ท้าวแสนปม
            ข.  เพลงกล่อมเด็ก    ลอยกระทง            สงกรานต์
            ค.  บุญข้าวจี่          ฟ้อนสาวไหม          ฟ้อนเทียน
            ง.  มอญซ่อนผ้า       งูกินหาง               ดาวลูกไก่
๒๐.  พระลอจัดเป็นวรรณกรรมท้องถิ่นของภาคใด 
            ก.  กลาง                                                   
            ข.  อีสาน
            ค.  เหนือ                                                   
            ง.  ใต้

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ทบทวน
หมายเลขบันทึก: 448055เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2011 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท