อยากเรียนให้เก่ง แต่ก็ยังแย่


เรียนยังไงให้เก่ง มาดูกันดีกว่า

ขั้นตอนที่ 1 เรียนให้สนุก
ให้ความสำคัญกับหนังสือเรียน
การเรียนควรเริ่มต้นจากการสำรวจว่า ตนเองชอบเรียนอะไร เก่งวิชาไหน อ่อนวิชาไหน เมื่อรู้จุดอ่อนของตัวเองแล้วก็ค่อยๆ ปรับปรุงแก้ไข การเรียนโดยไม่อ่านหนังสือเรียนก็เปรียบเสมือนการว่ายน้ำโดยไม่อบอุ่นร่างก่ายก่อน การอบอุ่นร่างกายก่อนลงน้ำจะทำให้ร่างกายปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิของน้ำได้ เช่นเดียวกับการอ่านหนังสือเรียนก่อนเข้าเรียน จะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาและส่วนสำคัญของบทเรียนได้เร็วขึ้น
การเรียนควรเข้าใจเนื้อหาในหนังสือเรียนให้ลึกซึ้ง เราต้องอ่านหนังสือเรียนก่อนจึงจะรู้ว่าควรทบทวนเรื่องอะไร และทำให้รู้แนวข้อสอบ แต่มีนักเรียนจำนวนมากที่ให้ความสำคัญกับการตอบคำถามถูกเพียงข้อเดียว โดยไม่สนใว่าคำถามนั้น ๆ มีที่มาที่ไปอย่างไร ดังนั้นหากวิเคาะห์เนื้อหาในหนังสือเรียน ลองตั้งคำถามหรือ เก็งข้อสอบแล้วตอบคำถามด้วยตนเอง จะช่วยให้การเตรียมตัวสอบได้ผลดี


สุดยอดเคล็ดลับการสร้างพลังแห่งการเรียน

สุดยอดเคล็ดลับการสร้างพลังแห่งการเรียนคือ อ่านบทเรียนที่จะเรียนต่อไปล่วงหน้า→ตั้งใจเรียนเวลาครูสอน→ทบทวนและฝึกทำแบบฝึกหัด
การอ่านบทเรียนมาก่อนอย่างละเอียดถี่ถ้วนจะทำให้เข้าใจยิ่งขึ้นเวลาครูสอน รวมทั้งรู้ว่าตนเองไม่เข้าใจสวนไหน และต้องฟังคำอธิบายเพิ่มเติมตรงส่วนไหน สิ่งที่จะชี้วัดระดับของเด็กเก่งและไม่เก่งคือการตั้งใจเรียน แล้วเราควรจะเตรียมบทเรียนอย่างไรดีละ การเตรียมบทเรียนมี 3ขึ้นตอน ยกตัวอย่างวิชาภาษาไทย
ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมคำศัพท์ที่ไม่แน่ใจหรือไม่รู้ในเนื้อหา แล้วหาความหมายในพจนานุกรม เราจะอ่านเข้าใจและวิเคาะห์ใจความได้ก็ต่อเมื่อรู้คำศัพท์มากๆ

ขั้นตอนที่ 2 อ่านทวนซ้ำๆ แล้ววิเคาะห์เนื้อหา หากอ่านไม่เข้าใจก็ให้ขีดเส้นใต้หรือทำเครื่องหมายไว้ แล้วมาถามครูในเวลาเรียน

ขั้นตอนที่ 3 ดูโทรทัศน์เพื่อการศึกษาหรือเว็บไซต์ความรู้จากอินเทอร์เน็ต แล้วจดสาระสำคัญ ของเนื้อหาที่อาจจะออกข้อสอบไว้ จากนั้นก็อ่านเนื้อหาที่จดกับเนื้อหาฟังครูอธิบายในคาบเรียน จะช่วยให้เรียนเจ้าใจยิ่งขึ้น หากเราเตรียมพร้อมอยู่เสมอการเรียนก็จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 การจดโน้ตย่อ
สิ่งสำคัญของการจดโน้ตย่อ
การจดโน้ตย่อเป็นการเก็บใจความสำคัญสิ่งที่ได้อ่าน แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้กระชับรัดกุมด้วยสำนวนภาษาของตนเอง การจดโน้ตย่อจึงช่วยพัฒนาความคิดให้เป็นระบบ และฝึกให้รู้จักวิเคราะห์สาระสำคัญจากการอ่าน คนที่เรียนเก่งจึงมักเรียบเรียงและลำดับความสำคัญของเนื้อหาได้ดี สิ่งสำคัญของการจดโน้ตย่อคือ ต้องทำความเข้าใจและจับประเด็นสำคัญของเนื้อเรื่องให้ได้ก่อน แล้วค่อยจดเฉพาะใจความสำคัญลงในสมุด เพื่อไม่ให้เสียเวลาอ่านเนื้อหาทั้งหมดเมื่อต้องกลับมาอ่านทบทวนอีกครั้ง
นอกจากนี้ควรจัดลำดับเรื่องให้เป็นหมวดหมู่ก่อนหลังไม่ปนกัน รวมทั้งฝึกตั้งคำถามถามตัวเอง หรือแสดงความคิดเห็นกับตัวเองขณะอ่านเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น


คนที่สอบได้คะแนนต่ำย่อมต้องขยันเรียนมากกว่า คนที่สอบได้คะแนนสูงๆ หลายเท่า
นักเรียนบางคนที่เรียนแย่หรือสอบได้คะแนนต่ำ มักเอาแต่คิดว่าหัวไม่ดีอ่านให้ตายก็ไม่จำ เรียนหนักแค่ไหนก็สู้คนอื่นไม่ได้ การคิดแบบนี้จะทำให้ราไม่มีแรงจูงใจหรือความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนและพัฒนาตนเอง เรียนไปก็เสียเวลาเปล่า เพราะชีวิตมีแต่ความท้อแท้ หมดหวัง เมื่อไม่ยอมปรับปรุงแก้ไข
ผลการเรียนก็จะแย่ลงเหมือนเดิม ในทางกลับกัน หากรู้จักแก้ไขจุดบกพร่องของตนเอง นำความผิดพลาดมาเป็นบทเรียน พยายามหาสาเหตุของการเรียนไม่เก่งมีความมานะพยายาม และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน สุดท้ายย่อมได้รับผลที่ดี
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้บางคนจะสอบได้คะแนนสูง ๆ หรือเรียนเก่งอยู่แล้ว แต่ถ้าประมาทหรือชะล่าใจ คิดว่าตนเองเก่งตลอดเวลาก็จะทำให้ไม่ขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมความตั้งใจหรือความขยันเรียนลดลงสุดท้ายผลการเรียนย่อมแย่ลงด้วย ฉะนั้น จงระลึกเสมอว่า เรายังไม่เก่งพอ ต้องหาความรู้ใส่ตัวอยู่เสมอ ต้องหาความรู้ใส่ตัวอยู่เสมอ จึงจะทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา และจะส่งผลดีต่ออนาคตในภายภาคหน้า

ขั้นตอนที่ 3 สิ่งที่เรียนวันนี้ ต้องอ่านทบทวนให้หมดวันนี้
อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เพราะการผัดวันประกันพรุ่งเป็นสาเหตุทำให้งานไม่เสร็จทันกำหนด หรือเสร็จอย่างไม่มีคุณภาพ เช่นเดียวกัน ถ้าเราเลื่อนการทบทวนเนื้อหาบ่อยๆ แล้วไปอ่านรวบยอดตอนใกล้สอบ จะทำให้เสียเวลาทบทวน และต้องใช้เวลาท่องจำนานจนส่งผลให้ไม่มีเวลาทำความเข้าใจเนื้อหารวมทั้งทำข้อสอบไม่ได้ด้วย ฉะนั้น ถ้าวันไหนเรียนวิชาอะไรมา ควรอ่านทบทวนให้จบในวันนั้น หรืออย่างน้อยทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ตลอดถาคเรียน นอกจากนี้ ก่อนจะเรียนในวันต่อไป เราควรรู้ว่าครูจะสอนหัวข้ออะไรบ้างในแต่ละวิชา จากนั้นก็ต้องเตรียมพร้อมโดยการอ่านเรื่องนั้นในหนังสือเรียนล่วงหน้า ซึ้งจะช่วยให้เข้าใจยิ่งขึ้นเวลามานั่งฟังครูอธิบายในห้องเรียน แต่หากมีจุดไหนที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ ควรทำเครื่องหมายหรือจดไว้แล้วมาถามครู

ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยให้เกิดประโยชน์
คนที่เรียนเก่งมักรู้จักบริหารเวลา การบริหารเวลาคือ การกำหนดและควบคุมการใช้เวลาในการทำสิ่งต่างๆได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
การประเมินสถานการณ์และจัดลำดับความสำคัญของงาน จะช่วยให้บริหารเวลามีประสิทธืภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การทำภารกิจภายใต้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดได้สำเร็จและเกิดประโยชน์ จะทำให้เราใช้เวลา 24 ชั่วโมงเพียงพอสำหรับทำกิจกรรมมากมายที่อยากจะทำ

ขั้นตอนที่ 4 เข้าใจเนื้อหาที่เรียนคือสิ่งสำคัญของการเรียน

การเรียนจะสมบูรณ์หากเริ่มจากความเข้าใจ
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ช่วยยกระดับชีวิตของคนให้สูงขึ้น ดังนั้นยิ่งเรียนรู้มาก ก็จะยิ่งพัฒนาตนเองได้มาก อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความเข้าใจและรู้วิธีค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งที่ตนสนใจหรือถนัดด้วย ดังนั้นเวลาอ่านหนังสือเรียน ควรอ่านด้วยความเข้าใจ และพยายามฝึกทำแบบฝึกหัดเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ่้น รวมทั้งหมั่นค้นคว้าหาความรู้จักแหล่งต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้อยู่เสมอ
สมองส่วนใหญ่จำเฉพาะสิ่งที่เข้าใจเท่านั้น
นักชีววิทยาด้านสมองกล่าวว่า สมองของมนุษย์เปรียบเสมือนหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ผู้เชียวชาญด้านคอมพิวเตอร์กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบขนาดหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กับสมองมนุษย์ พบว่า คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำเท่ากับ 1010 บิต ส่วนมนุษย์มีหน่วยความจำประมาณ 1015 - 1016 บิต ทั้งที่สมองมนุษย์มีหน่วยความจำมากกว่า แต่ทำไมเราถึงจำอะไรไม่ค่อยได้ นั่นก็เพราะว่าเราตั้งใจจำอย่างเดียว แต่ไม่มีความเข้าใจไงล่ะ
ความจำต่างๆ ที่เกิดจากการรับข้อมูลของสมองเรา จะถูกเก็บบันทึกไว้ใน สมองส่วน ฮิปโปแคมปัส (hippocampus : มีขนาดเท่านิ้วมือ โค้งอยู่ในใจกลางสมองทั้ง 2 ซีก)
ความจำที่เกิดขึ้นในสมองมี 2 ระดับคือ ความจำระยะสั้นและความจำระยายาว
ความจำระยะสั้นจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อต้องใช้งานเท่านั้น แต่ไม่มีการสร้างหน่วยความจำถาวรขึ้นในเซลล์สมอง จึงทำให้จำได้ชั่วคราวแล้วก็หายไป ส่วนความจำระยะยาวจะอยู่ได้นานหลายปีหรือตลอดชีวิต
สมองจะสร้างหน่วยความจำถาวรอยู่ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส เมื่อต้องการใช้หรือมีอะไรมากระตุ้น ความจำนั้นก็จะกระโดดออกมา ถ้าเราต้องการพัฒนาความจำก็ต้องช่วยสมองสร้างหน่วยความจำถาวรให้
มากๆ วิธีที่ช่วยให้สมองสร้างหน่วยความจำถาวรก็คือ อย่าจำเพียงอย่างเดียว แต่ต้องพยายามเข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะจำให้ลึกซึ้ง ในกรณีของนักเรียน ไม่ควรเรียนเพียงแค่ท่องจำเนื้อหาโดยปราศจากความเข้าใจ เพราะสมองจะไม่สร้างหน่วยความจำถาวร ดังนั้นต้องทำความเข้าใจเนื้อหาให้ละเอียดลึกซึ้งจนเกิดเป็นภาพในสมองแล้วสมองจะสร้างหน่วยความจำ พิเศษเอาไว้จนกลายเป็นความจำถาวร

ขั้นตอนที่ 5 ภาษาไทยต้องเรียนแบบนี้ !
เขียนไดอารีหลังการอ่าน
อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เป็นเซียนอ่านหนังสือก็คือ การเขียนไดอารีทุกครั้งหลังอ่านหนังสือว่าอ่านแล้วได้อะไรบ้าง ฝึกสรุปย่อหรือวิเคราะห์เนื่้อหาออกมาอย่างสั้นๆ
การเขียนบ่อยๆ จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการ ฝึกการใช้สำนวนภาษา และรู้จักเรียบเรียงความคิดอย่างเป็นระบบ
อ่านหนังสือสม่ำเสมอ
การอ่านหนังสือบ่อยๆ และอ่านหลายๆ วิชา จะทำให้รู้สึกสนุก ไม่ซ้ำซากจำเจ การเรียนภาษาไทยก็เช่นกัน ยิ่งอ่านหนังสือหลาย ๆ ครั้งก็จะยิ่งเข้าใจและรู้สึกสนุกมากขึ้น เพราะเข้าใจความหมายของเรื่องและจดจำคำศัพท์ได้ดียิ่งขึ้น แต่ถ้าเบื่อหนังสือเรียนอาจหาหนังสือเสริมความรู้ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับหนังสือเรียนมาอ่านเพื่มเติมก็ได้เพราะนอกจากช่วยให้อ่านสนุกแล้ว ยังได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นด้วย หากเด็ก ๆลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ อาจช่วยให้ผลการเรียนดีขึ้นก็ได้นะ
อ่านหนังสือเรียน → วิเคราะห์เนื้อหาแต่ละบท → ทำแบบฝึกหัด
วิเคราะห์เนื้อหาแต่ละบท → ทำแบบฝึกหัด → อ่านหนังสือเรียน
ทำแบบฝึกหัด → อ่านหนังสือเรียน → วิเคราะห์เนื้อหาแต่ละบท

ซื้อหนังสือดีๆ มาอ่านบ่อยๆ
นักเรียนส่วนใหญ่อาจไม่มีทักษะในการเขียน แต่หากอยากเขียนเก่งก็ไม่ใช่เรื่องยาก พื้นฐานของการเขียนอยู่ที่การอ่าน ยิ่งอ่านหนังสือมากเท่าไรก็จะยิ่งรู้คำศัพท์มากขึ้นเท่านั้น รวมทั้งรู้จักวิธีเรียบเรียงความคิดอย่างเป็นระบบด้วย เมื่อรู้คำศัพท์มากๆ จะทำให้เรานำคำศัพท์นั้นๆ มาเขียนประโยคได้ถูกต้องและใช้สำนวนภาษาได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นเพื่อให้เรียนรู้การใช้สำนวนภาษาที่ถูกต้องและรู้คำศัพท์หลากหลายขึ้น ควรอ่านหนังสือดีๆ มีสาระบ่อยๆ
อ่านหนังสือการ์ตูนความรู้บ่อยๆ
การเรียนควรเริ่มต้นจากความเข้าใจ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ควรเพิ่มพูนประสบการณ์และความรู้อยู่เสมอ ดังนั้น นอกจากตำราเรียนแล้ว เราควรหาความรู้จากแหล่งต่างๆ เพิ่มเติมด้วย ปัจจุบันหนังสือความรู้มีหลากหลายแนว และเพื่อไม่ให้รู้สึกเบื่อหน่ายกับการอ่านที่มีแต่เนื้อหาล้วนๆ หนังสือการ์ตูนความรู้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้อ่านสนุกและสร้างนิสัยรักการอ่าน
พกสมุดติดตัวไว้
หากอยากเรียนเก่งก็ต้องรู้จักค้นคว้าหาความรู้ และจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ ระเบียบ รวบรวมข้อมูลด้วยภาษาของตนเอง การจัดเก็บข้อมูลที่ดีที่สุดคือ การจดลงในสมุดพร้อมกับคิดและจินตนาการตาม เวลาเราทบทวนข้อมูลนั้นหลายๆ รอบสมองก็จะบันทึกข้อมูลเก็บไว้เป็นความจำ ดังนั้นเมื่อเกิดความคิดดีๆ ก็ให้รีบจดลงใสมุดทันที รู้ไหมว่าเด็กที่จดเก่งมักจะประสบความสำเร็จในการเรียนนะ

บทที่ 6 คณิตศาสตร์...หนังสือเรียนในกำมือ
สร้างพลังแห่งการเรียนคณิตศาสตร์
วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องอาศัยความเข้าใจและขยันทำแบบฝึกหัด หากพยายามทำความเข้าใจสาระสำคัญของเนื้อหาแต่ละบทในหนังสือเรียน และจดสิ่งที่ไม่เข้าใจไว้คนคว้าหรือถามผู้รู้ต่อไป รวมทั้งต้องขยันทำแบบฝึกหัดท้ายบทหลายๆรอบและหาโจทย์แปลกใหม่มาลองทำบ่อยๆ ก็จะทำให้เก่งคณิตได้ไม่ยาก นักเรียนส่วนใหญ่มักทำความเข้าใจเนื้อหาเพียงคร่าวๆ ไม่มีการทบทวนหรือฝึกทำแบบฝึกหัดจึงทำแบบฝึกหัดไม่ได้หรือทำผิดบ่อยๆ สุดท้ายก็เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่อยากเรียนอีกต่อไป การเรียนแบบนี้จะไม่มีวันเก่งคณิตศาสตร์เป็นอันขาด ฉะนั้นเมื่อทำแบบฝึกหัดผิด ควรย้อนกลับมาดูว่าผิดตรงไหนและผิดอย่างไร นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์โจทย์ให้ได้ก่อน เพราะเมื่อเจอโจทย์ลักษณะคล้ายกันก็จะทำได้
การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ควรเริ่มต้นจากหนังสือเรียน ไม่ว่าเนื้อหาจะยากแค่ไหนต้องอ่านทบทวนหลายๆ รอบ ควรให้ความสำคัญทั้งหนังสือเรียนและหนังสือคู่มือ นอกจากนี้ควรมีสมุดสำหรับจดขั้นตอนการคำนวณด้วย ถ้าคำนวณผิดให้ทำซ้ำอีกหลายๆรอบจนกว่าจะได้ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับโจทย์ ซื้งจะทำให้เรากลายเป็นคนเก่งคณิตศาสตร์ในที่สุด
เคล็ดลับในการเรียนและทำข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์
1 วิเคราะห์ใจความสำคัญของโจทย์ให้เป็น
2 อย่าเลือกทำแบบฝึกหัดที่ยากเกินความรู้ของตน เพราะจะทำให้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยากและไม่อยากเรียน สำหรับคนที่ได้คะแนนอยู่ในระดับกลางหรือต่ำ
ควรขยัยทำแบบฝึกหัดท้ายบทในหนังสือเรียนให้ได้ก่อน แล้วค่อยหาโจทย์จากหนังสือคู่มือมาทำเสริม

3 หลังจากทำแบบฝึกหัดแต่ละข้อเสร็จ ให้ย้อนกลับมาตรวจทานอีกครั้งเพื่อความถูกต้องแม่นยำ !!
4 อ่านโจทย์ให้เข้าใจภายในเวลาสั้นๆ และคำนวณ อย่างรวดเร็วเพราะการแก้โจทย์ คณิตศาสตร์ต้องแข่งกับเวลา ดังนั้นจึงควรฝึกคิดเลขในใจ
5 ฝึกจดวิธีคำนวณไว้อ่านทบทวนให้เป็นนิสัย

บทที่ 7 วิธีเรียนวิทยาศาสตร์ให้เก่ง
ใช้สารบัญให้เป็นประโยชน์
การเรียนให้ได้ผลอีกวิธีหนึ่งก็คือ การจำสารบัญ เพราะสารบัญจะทำให้เรารู้เนื้อหาทั้งหมดคร่าว ๆและยังสามรถลำดับการอ่านเนื้อหาได้อีกด้วย ดังนั้นนักเรียนที่เรียนเก่งในอันดับต้นๆ จะจำสารบัญเป็นอันดับแรก ดังนั้นใครที่ไม่เคยใส่ใจสารบัญของหนังสือเลย ควรหันมาให้ความสำคัญได้แล้ว
การอ่านบทเรียนล่วงหน้า
เวลาที่ใครทำงานอะไรสักอย่าง เราจะรู้ว่าเขาใส่ใจกับงานนั้นหรือไม่ ให้ดูจากผลงานที่ทำออกมา การเรียนก็เช่นกัน ถ้าเรามีการเตรียมพร้อมล่วงหน้า เช่น อ่านเนื้อหาที่จะเรียนต่อไปล่วงหน้า พอถึงเวลาเรียนก็จะเข้าใจที่ครูอธิบายได้เร็วขึ้น หรือถ้ายังไม่เข้าใจตรงจุดไหนก็ให้ถามครู และจงอย่าอายที่จะถามในสิ่งที่เราไม่รู้ นอกจากนี้ยังต้องหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ตั้งใจเรียน และรู้จักแบ่งเวลาด้วย
ถ้าไม่เกิดความสงสัยก็จะไม่เกิดความรู้วิทยาศาสตร์
ความสงสัยคือการไม่เข้าใจในเรื่องราวที่่เห็นหรือรับรู้ ความสงสัยเป็นบ่อเกิดของความอยากรู้ เมื่อเกิดความอยากรู้ก็ต้องพยายามหาเหตุผลและคำตอบมาอธิบายให้ตนเองเข้าใจ เช่นเดียวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นล้วนมีรากฐานมาจากความสงสัยใคร่รู้ การสังเกต และการค้นคว้าทดลอง
กาทดลองเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนวิทยาศาสตร์
การเรียนวิทยาศาสตร์โดยการจำเพียงอย่างเดียวเป็นวิธีเรียนที่ไม่ได้ผล ถ้าไม่เข้าใจถึงที่มาที่ไป จะทำให้วิเคราะห์เหตุและผลของสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจรายละเอียดของกระบวนการทดลอง และลงมือทดลอง สังเกต และบันทึกผลการทดลองด้วยตนเอง เป็นเพื่อฐานที่ช่วยส่งเสิรมให้เกิดความเข้าใจในการเรียนมากขึ้น และเพิ่มพูนความรู้วิทยาศาสตร์อีกด้วย

คุณสมบัติของ เด็กเรียนแย่ข้อที่
ข้อ 1 คือ จะเริ่มอ่านหนังสือตอนใกล้สอบ
ข้อ 2 คือ ก่อนอ่านหนังสือต้องวุ่นวายทำโน่นทำนี่
ข้อ 3 คือ อ่านหนังสือ 1 ชั่วโมง พัก 2ชั่วโมง
ข้อ 4 คือ จัดตารางเวลาอ่านหนังสือโดยไม่ดูขีดความสามารถของตนผลสุดท้ายจึงปฏิบัติไม่ได้
ข้อ 5 คือ ใช้เวลาไปกับการนอนมากกว่าการอ่าน

 

อ้างอิงจาก http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:ISaYKS4t5GEJ:www.jokergameth.com/board/showthread.php%3Fp%3D1458800+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%87&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th&source=www.google.co.th

หมายเลขบันทึก: 447975เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2011 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท