ดูหนัง3มิติมากทำให้เกิดอาการชัก


3 มิติ LED TV

ดูหนัง3มิติมากทำให้เกิดอาการชัก

แพทย์กล่าวว่าตาของผู้ชมไม่มีความคุ้นเคยกับ การชมเรื่องการชมภาพยนต์และทีวี 3 มิติในเวลานานๆเป็นชั่วโมงทุกๆวัน และอาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้เล็กน้อย เช่น อาการของการมึนงง หรือในอาการชักซึ่งจะเป็นไปได้น้อยมาก

3 มิติ LED TV ของบริษัทซัมซุงมีคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพที่สำคัญไว้ให้กับผู้ซื้อได้รับ ทราบด้วย โดยมีคำเติอนว่าภาพที่กระพริบบางภาพหรือแสงจากทีวี 3 มิติอาจจะก่อให้เกิดอาการของโรคชักลมบ้าหมู หรืออาก ารเส้นโลหิตแตกได้ และอาการมึนงงต่างๆไม่ว่าจะเป็นการมึนงงจากการเห็นหรือเสถียร์ภาพของการทรง ตัว อาจจะเป็นผลมากจากการชมภาพ 3 มิติ
แพทย์กล่าวถึงเรื่องนี้ต่อไปว่าจำนวนของผู้ชมที่จะได้รับอาการ ที่มีอยู่ในคำเตือนข้างต้นเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ชมที่จะมีอาการชักเพราะชมทีวี 3 มิติเหล่านี้ โดยมากแล้วผู้ชมภาพยนต์หรือทีวี 3 มิติจะมีอาการมึนงงเท่านั้นเอง
แพทย์หญิง ลิซ่า พาค์ก ผู้ช่วยศาสดาจารย์ของคณะจักษุวิทยาของมหาวิทยาลัยนิวยอร์กชี้ให้เห็นว่า อาการ เช่นอาการของความต้องการจะอาเจียน, ปวดหัว, หรือไม่ก็ มึนศรีษะอย่างมาก จะเป็นอาการโดยทั่วไปของการชมภายนต์หรือทีวี 3 มิติ เพราะว่าดวงตาของผู้ชมมีการเคลื่อนไหวในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมชาติ.
ผู้ช่วยศาสดาจารย์คณะจักษุวิทยาของ Jules Stein Eye Institute ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย นายสตีเวน นูซินโนวิทซ์ แนะนำวิธีการเกิดภาพ 3 มิติสำหรับสมองของมนุษย์ว่า ภาพยนตร์ 3 มิติประกอบด้วยมุมมองของภาพเดียวกันให้เป็น 2 มุมมอง ที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย และแว่นที่สวมใส่เมื่อชม เป็นเครื่องมือในการแบ่งแยกภาพที่มีมุมมองที่แตกต่างกันสำหรับดวงตาแต่ละ ข้างของผู้ชม การแยกมุมมองของภาพเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้ผู้ชมไม่สามารถที่จะสังเกต เห็นความแตกต่างของมุมมองของภาพเหล่านั้นได้ การประเมินผลของสมองของภาพที่เห็นจากแต่ละดวงตานั้น ได้รับการผนวกเข้าด้วยกันก่อให้เกิดมิติของภาพทีมีความลึก
ในชีวิตประจำวัน เมื่อเราได้เห็นวัตถุหรือภาพที่วิ่งเข้ามาหา ดวงตาจะทำการวิ่งเข้าหากันเล็กน้อยโดยธรรมชาติ และในเวลาเดียวกันเลนส์ในดวงตาจะเปลี่ยนรูปร่าง เพื่อที่จะทำการปรับโฟกัสให้ชัดเจนในขณะที่วัตถุนั้นๆ กำลังเคลื่อนตัวเข้าหาตัวเรา ซึ่งการทำงานของสมองและดวงตานี้เรียกว่า “accommodation”
แต่เมื่อเราชมภาพยนตร์หรือทีวี 3 มิติ ดาวตาของเราพยายามที่จะจับภาพเหล่านั้นให้ตรงกันแต่ไม่ใช้การทำงานดังข้าง ต้น เพราะวัตถุที่เห็นนั้นไม่ได้วิ่งเข้าหาเรา
นายแพทย์ นอร์แมน แซฟฟา ผู้อำนวยการทางจักษุวิทยาของ Maimonides Medical Center ที่นครนิวยอร์กกล่าวว่า สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพในเรื่องเช่นนี้ การ แสดงที่ไม่แท้จริงของภาพยนต์หรือทีวี 3 มิตินี้ทำให้เกิดความตึงเครียดของระบบสายตาของร่างกาย เมื่อบุคคลที่ใส่แว่นนั้นๆถอดแว่นออกก็จะทำให้เกิดอาการมึนงงได้ “สำหรับบุคคลที่มีปัญหาเรื่องสาตาเอียง หรือผู้ที่มีกล้ามเนื้อของตาที่ไม่แข็งแรงนั้นไม่สามารถที่จะเห็นภาพเหล่า นั้นเป็น 3 มิติได้ หรือบุคคลที่มีสายตาที่เห็นจุดต่างๆไม่เท่ากันและบุคคลที่มีอาการตาเหล่นั้น จะไม่สามารถที่จะเห็นคุณลักษณะภาพ 3 มิติเมื่อใส่แว่น 3 มิติได้
นายสตีเวน นูซินโนวิทซ์ กล่าวต่อไปว่า ตัวของเค้าเองก็มีอาการมึนงงเมื่อชมภาพยนต์ 3 มิติเพราะว่าดวงตาของเค้ามีความสั้นยาวไม่เท่ากัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประสบการณ์จากผู้ป่วยที่เค้าได้รักษามานั้น นายสตีเวนเชื่อว่าบุคคลที่มีอาการเช่นเค้าจะมีจำนวนน้อยมาก “ผมเชื่อว่าผู้ชมมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์จะไม่ประสบปัญหาใดๆ”
แต่เมื่อพูดถึงผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวจากการชมภายนต์หรือทีวี 3 มิตินั้น ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญท่านใดให้ตำตอบที่แน่นอนได้ เพราะเทคโนโลยีนี้เป็นสิ่งใหม่ แพทย์หญิง ลิซ่า พาค์กแสดงความเป็นห่วงต่อเด็กที่ชมภาพยนต์หรือทีวี 3 มิติในระยะเวลานานว่า “การชมภาพยนต์หรือทีวี 3 มิติเหล่านี้ จะทำให้เด็กเหล่านี้เห็นระบบของภาพที่ไม่เป็นธรรมชาติที่อาจจะก่อให้เกิด อันตรายต่อสุขภาพได้ในระยะยาว ซึ่งอันตรายเหล่านี้กำลังได้รับการศึกษาค้นคว้ากันอยู่ในขณะนี้”

อ้างอิงจาก http://maxvariety.com/%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%873%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94/

หมายเลขบันทึก: 447955เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2011 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท