อ้วนอันตราย....ไม่อยากตายต้องเลิกอ้วน..ตอนที่ 1


อ้วนอันตราย...ไม่อยากตายต้องเลิกอ้วน..........

  ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่..ตอนที่ 1.....

         ค่านิยมในการบริโภคและวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปได้รับอิทธิพลจากตะวันตกตามกระแสบริโภคนิยมและวัตถุนิยม ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารโปรตีนและไขมันสูงที่ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ล้วนๆ อาหารรสจัด เช่น  มันจัด หวานจัด เค็มจัด กินผักและผลไม้น้อย เดินน้อยลง ขาดการออกกำลังกายโดยเฉพาะคน  วัยทำงาน  ทำให้พลังงานในร่างกายไม่สมดุลกันระหว่างการได้รับเข้ามากับการใช้ไป ร่างกายจึงเปลี่ยนพลังงานที่เหลือใช้กลับไปเป็นไขมันสะสมไว้ตามส่วนต่างๆของร่างกาย   

         การจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ พิชิตอ้วน พิชิตพุง เพื่อให้มีการปรับพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการออกกำลังกายในการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินที่ถูกต้อง เน้นที่การปฏิบัติโดยส่งเสริมให้ประชากรที่ศึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้พฤติกรรมนั้นคงอยู่ตลอดไป  ซึ่งโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ ว่าผลสำเร็จของการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเกิดผลลัพธ์ว่ามีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว และลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ 

วัตถุประสงค์ 

                1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

                2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพจนเป็นแกนนำด้านสุขภาพในชุมชนได้

ขั้นดำเนินการ 

                1. ส่งหนังสือเชิญประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และรอบเอวเกิน จากทะเบียนคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ปี 2554 ให้มาร่วมกิจกรรมตามโครงการ ฯ

                2. จัดกิจกรรมกลุ่มตามโครงการโดยใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่ใช้แนวคิดการกำกับตนของแคนเฟอร์ ( Kanfer,1980) และกระบวนการกลุ่มในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และรอบเอวเกิน รายละเอียด ดังนี้

ครั้งที่ 1      กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการควบคุมอาหาร ระยะเวลา  1 ชั่วโมง30 นาทีครั้งที่ 2      กิจกรรมการออกกำลังด้วยไม้พลองป้าบุญมี ระยะเวลา  1 ชั่วโมง30 นาที

ครั้งที่ 3      กิจกรรมการออกกำลังด้วยการเดินเร็ว ระยะเวลา  1 ชั่วโมง30 นาที

ครั้งที่ 4      กิจกรรมการออกกำลังด้วยยางยืด( Rubber Chain )ระยะเวลา  1 ชั่วโมง30 นาที

ครั้งที่ 5      กิจกรรมทบทวนการออกกำลังทั้ง 3 รูปแบบ              ระยะเวลา  1 ชั่วโมง30 นาที

            ซึ่งการออกกำกำลังกายทั้ง 3 แบบรูปแบบนี้ เป็นการออกกำลังกายที่สะท้อนภาพความเป็นไทยในยุคเศรษฐกิจพอเพียงที่สะดวกประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ให้ผลตอบแทนต่อสุขภาพร่างกาย คุ้มค่า ก่อนออกกำลังกายทั้ง 3 รูปแบบให้กลุ่มเป้าหมายมีการออกกำลังกายแบบกายบริหารกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายหัวใจก่อน ใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรม  12  สัปดาห์ ในสัปดาห์ 1-5  ทำกิจกรรมกลุ่ม สัปดาห์ๆ ละ 1 วัน ใช้เวลา 2  ชั่วโมง และสัปดาห์ที่ 6-12 ให้กลุ่มเป้าหมายดำเนินการตามโปรแกรมด้วยตนเอง   โดยมีรายละเอียดดังนี้

        1. กิจกรรมครั้งที่ 1 สัปดาห์ที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการควบคุมอาหาร ระยะเวลา 1 ชั่วโมง30 นาที 

       เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายก่อนเข้าร่วมโปรแกรมด้วยแบบสอบถามข้อมูล

ส่วนบุคคล แบบวัดพฤติกรรมการบริโภค แบบวัดพฤติกรรมการออกกำลังกาย แบบบันทึกน้ำหนักตัว รอบเอว และเปอร์เซนต์ไขมันใต้ผิวหนัง

ระยะที่ 1 สร้างสัมพันธภาพ มีการแนะนำตัวและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

เพื่อให้สมาชิกกลุ่มได้รู้จักคุ้นเคยกัน ต่อจากนั้นผู้วิจัยชี้แจงวัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรมกลุ่ม กติกากลุ่ม

ระยะที่ 2 ดำเนินกิจกรรมกลุ่ม  ให้สมาชิกกลุ่มเล่าประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ผู้นำกลุ่มสรุปเรื่องภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน สาเหตุ ผลเสียต่อสุขภาพ และการแก้ไข  กระตุ้นให้มีการชักชวนถามปัญหาที่ไม่เข้าใจและให้สมาชิกกลุ่มร่วมกันตอบ แสดงความคิดเห็น โดยผู้นำกลุ่มสรุปสาระที่ถูกต้องให้สมาชิกกลุ่มเล่าประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการควบคุมอาหารของแต่ละคน ผู้นำกลุ่มกล่าวนำให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมอาหารตาม ธงโภชนาการ อาหารตามโซนสี พร้อมทั้งแจกเอกสารคู่มือ เทคนิคการรับประทานอาหารเพื่อลดน้ำหนัก  ฝึกปฏิบัติการเลือกชนิดอาหารที่จะรับประทานได้อย่างเหมาะสมใน 1 วัน โดยวิเคราะห์สัดส่วนและปริมาณแคลอรี่ต่อวัน ต่อจากนั้นสมาชิกกลุ่มฝึกปฏิบัติจัดรายการอาหารตามธงโภชนาการและอาหารตามโซนสี โดยใช้อาหารสาธิต เอกสารคู่มือธงโภชนาการ กระตุ้นให้สมาชิกอภิปรายกลุ่มร่วมกันแสดงความคิดเห็น   สาธิตการประกอบอาหารเมนูชุสุขภาพ และรับประทานร่วมกันโดยผู้นำกลุ่มร่วมทำ พร้อมกับเป็นที่ปรึกษาของกลุ่ม ผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมการประกอบอาหารและการรับประทานอาหารของสมาชิก แทรกเทคนิคการกำกับควบคุมตนเอง โดยร่วมกันวิเคราะห์และกำหนดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ให้ร่วมกันคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาและให้รางวัลตนเองเมื่อปฏิบัติได้สำเร็จ  แจกคู่มือการควบคุมอาหารให้กลุ่มตัวอย่างไว้สำหรับทบทวนที่บ้าน และแนะนำการใช้คู่มือการกำกับควบคุมตนเองในการควบคุมอาหาร  เช่นการตั้งเป้าหมายในลดอาหารมัน อาหารหวาน การบันทึกและประเมินผลที่เกิดจากการควบคุมอาหาร และการเสริมแรงตนเอง ในคู่มือการกำกับควบคุมตนเองในการควบคุมอาหาร แจกแบบบันทึกการรับประทานอาหารด้วยตนเองใน 1 สัปดาห์และชี้แจงรายละเอียดการบันทึก  

ระยะที่ 3 สรุปผล ผู้นำกลุ่มสรุปกิจกรรมกลุ่มในครั้งนี้  นัดหมายกลุ่มครั้ง

ต่อไป

2. กิจกรรมกลุ่มครั้งที่ 2 สัปดาห์ที่ 2    กิจกรรมการออกกำลังด้วยไม้พลองป้าบุญมี  ระยะเวลา  1 ชั่วโมง30 นาที 

    ระยะที่ 1 สร้างสัมพันธภาพ ผู้นำกลุ่มกล่าวทักทาย,พูดคุยกับสมาชิกกลุ่ม

    ระยะที่ 2 ดำเนินการกลุ่ม  ผู้นำกลุ่มตรวจสอบแบบบันทึกการควบคุมอาหาร บันทึกและประเมินผลน้ำหนักตัว รอบเอวและและเปอร์เซนต์ไขมันใต้ผิวหนัง เปรียบเทียบครั้งก่อน กล่าวชมเชยผู้ที่สามารถควบคุมอาหารได้ และให้กำลังใจผู้ที่ยังควบคุมอาหารไม่ได้ ให้สมาชิกกลุ่มเล่าประสบการณ์และพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกกำลังกายของแต่ละคน ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ประโยชน์การออกกำลังกาย ฝึกการจับชีพจร  และฝึกการอบอุ่นร่างกายและผ่อนคลายร่างกาย ซึ่งทำทุกครั้งเมื่อฝึกออกกำลังกาย การออกกำลังกายด้วยไม้พลองป้าบุญมี ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยไม้พลอง   ป้าบุญมี จำนวน 12 ท่า แทรกเทคนิคการกำกับควบคุมตนเอง โดยร่วมกันวิเคราะห์และกำหนดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ให้ร่วมกันคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาและให้รางวัลตนเองเมื่อปฏิบัติได้สำเร็จ  แจกคู่มือการบริหารร่างกายด้วยไม้พลองเพื่อไปทบทวนที่บ้าน และแนะนำการใช้คู่มือการกำกับตนเองในบริหารร่างกายด้วยไม้พลอง  เช่นการตั้งเป้าหมายในการบริหารร่างกายด้วยไม้พลองในแต่ละครั้งจำนวนวันและระยะเวลาในบริหารแต่ละท่า  การบันทึก การประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการบริหารร่างการด้วยไม้พลองแต่ละครั้ง การเสริมแรงตนเอง และชี้แจงรายละเอียดการบันทึก แจกแบบบันทึกการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายไปบันทึกที่บ้าน

    ระยะที่ 3 สรุปผล ผู้นำกลุ่มสรุปกิจกรรมกลุ่มในครั้งนี้  นัดหมายกลุ่มครั้งต่อไป

3. กิจกรรมกลุ่มครั้งที่ 3 สัปดาห์ที่ 3  กิจกรรมการออกกำลังด้วยการเดินเร็ว ระยะเวลา  1 ชั่วโมง30 นาที 

    ระยะที่ 1 สร้างสัมพันธภาพ ผู้นำกลุ่มกล่าวทักทาย,พูดคุยกับสมาชิกกลุ่ม

                  ระยะที่ 2 ดำเนินการกลุ่ม  ผู้นำกลุ่มตรวจสอบแบบบันทึกการควบคุมอาหาร และแบบบันทึกการเดินเร็ว  บันทึกและประเมินผลน้ำหนักตัว รอบเอวและและเปอร์เซ็นต์ไขมันใต้ผิวหนัง เปรียบเทียบครั้งก่อน กล่าวชมเชยผู้ที่สามารถควบคุมอาหาร สามารถบริหารร่างกายด้วยไม้พลองได้ระยะเวลาที่นานที่ส่งผลต่อสุขภาพตนเอง และเน้นเรื่องการให้รางวัลแก่ตนเองและให้กำลังใจผู้ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ  ผู้นำกลุ่มกล่าวทบทวนความรู้ทั้งหมดและให้สมาชิกกลุ่มเล่าประสบการณ์ปัญหาอุปสรรคในการนำไปปฏิบัติทั้งการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ให้ความรู้การออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว  ฝึกการออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว  แจกคู่มือการเดินเร็วเพื่อไปทบทวนที่บ้าน และแนะนำการใช้คู่มือการกำกับตนเองในการเดินเร็ว  เช่นการตั้งเป้าหมายในการเดินเร็วในแต่ละครั้งจำนวนวันและระยะเวลาในการเดินเร็ว  การบันทึก การประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการเดินเร็วแต่ละครั้ง และชี้แจงรายละเอียดการบันทึก แจกแบบบันทึกการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายไปบันทึกที่บ้าน

    ระยะที่ 3 สรุปผล ผู้นำกลุ่มสรุปกิจกรรมกลุ่มในครั้งนี้  นัดหมายกลุ่มครั้งต่อไป

                  4. กิจกรรมกลุ่มครั้งที่ 4 สัปดาห์ที่ 4 กิจกรรมการออกกำลังด้วยยางยืด  ( Rubber Chain )ระยะเวลา  1 ชั่วโมง30 นาที

   ระยะที่ 1 สร้างสัมพันธภาพ ผู้นำกลุ่มกล่าวทักทายอย่างเป็นกันเองสมาชิกกลุ่ม

   ระยะที่ 2 ดำเนินการกลุ่ม  ผู้นำกลุ่มตรวจสอบแบบบันทึกการควบคุมอาหาร และแบบบันทึกการบริหารร่างกายด้วยยางยืด  บันทึกและประเมินผลน้ำหนักตัว รอบเอวและและเปอร์เซนต์ไขมันใต้ผิวหนัง เปรียบเทียบครั้งก่อน กล่าวชมเชยผู้ที่สามารถควบคุมอาหาร สามารถออกกำลังกายด้วยการเดินเร็วได้ในเวลาที่เหมาะสมและส่งผลต่อสุขภาพ   และเน้นเรื่องการให้รางวัลแก่ตนเองและให้กำลังใจผู้ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ  ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มเล่าประสบการณ์ปัญหาอุปสรรคในการนำไปปฏิบัติทั้งการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ให้ความรู้การออกกำลังกายด้วยยางยืด และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยยางยืด  แทรกเทคนิคการกำกับควบคุมตนเอง โดยร่วมกันวิเคราะห์และกำหนดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ให้ร่วมกันคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาและให้รางวัลตนเองเมื่อปฏิบัติได้สำเร็จ  แจกคู่มือการบริหารร่างกายด้วยยางยืด ซีดีเพื่อไปทบทวนที่บ้าน และแนะนำการใช้คู่มือการกำกับตนเองในบริหารร่างกายด้วยยางยืด  เช่นการตั้งเป้าหมายในการบริหารร่างกายด้วยยางยืดในแต่ละครั้ง จำนวนวันและระยะเวลาในบริหารแต่ละท่า  การบันทึก การประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการบริหารร่างการด้วยยางยืดแต่ละครั้ง การเสริมแรงตนเอง และชี้แจงรายละเอียดการบันทึก แจกแบบบันทึกการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายไปบันทึกที่บ้าน

    ระยะที่ 3 สรุปผล ผู้นำกลุ่มสรุปกิจกรรมกลุ่มในครั้งนี้  นัดหมายกลุ่มครั้งต่อไป

5. กิจกรรมกลุ่มครั้งที่ 5 สัปดาห์ที่ 5 กิจกรรมทบทวนการออกกำลังทั้ง 3 รูปแบบ  ระยะเวลา  1 ชั่วโมง30 นาที 

    ระยะที่ 1 สร้างสัมพันธภาพ ผู้นำกลุ่มกล่าวทักทายอย่างเป็นกันเองสมาชิกกลุ่ม

    ระยะที่ 2 ดำเนินการกลุ่ม  ผู้นำกลุ่มตรวจสอบแบบบันทึกการควบคุมอาหาร และแบบบันทึกการบริหารร่างกายด้วยยางยืด  บันทึกและประเมินผลน้ำหนักตัว รอบเอวและเปอร์เซนต์ไขมันใต้ผิวหนัง เปรียบเทียบครั้งก่อน กล่าวชมเชยผู้ที่สามารถควบคุมอาหาร สามารถบริหารร่างกายด้วยยางยืดโดยใช้ระยะเวลาในการออกกำลังกายได้มากขึ้น และเน้นเรื่องการให้รางวัลแก่ตนเองและให้กำลังใจผู้ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ  ผู้นำกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มเล่าประสบการณ์ปัญหาอุปสรรคในการนำไปปฏิบัติทั้งการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ทบทวนการออกกำลังกายทั้ง 3 รูปแบบโดยการออกกำลังกายร่วมกัน  และสนับสนุนให้มีการออกกำลังการอย่างต่อเนื่องและเน้นให้มีการออกกำลังกายสัปดาห์ๆละอย่างน้อย 3 วันๆละ 30 นาที โดยเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่ตนชอบ ถนัด และควรปรับเปลี่ยนการออกกำลังกายให้หลากหลายรูปแบบ เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง 

    ระยะที่ 3 สรุปผล ผู้นำกลุ่มสรุปกิจกรรมกลุ่มในครั้งนี้  นัดหมายกลุ่มครั้งต่อไป

                 ในสัปดาห์ที่ 6-12  ให้กลุ่มเป้าหมายดำเนินการตามโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองทั้งเรื่องการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายด้วยรูปแบบที่ตนเองเลือก และพอใจ ทุกสัปดาห์ ส่งแบบบันทึกพฤติกรรม รวม 7 ครั้ง

   ในสัปดาห์ที่ 13 ให้ดำเนินการ ดังนี้

        1. เก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้วย แบบวัดพฤติกรรมการบริโภค แบบวัดพฤติกรรมการออกกำลังกาย แบบบันทึกน้ำหนักตัว รอบเอว และเปอร์เซนต์ไขมันใต้ผิวหนัง

       2. จัดมหกรรมสร้างสุขภาพในชุมชน จำนวน 80 คน ระยะเวลา 1 วัน โดยมีกิจกรรมประเมินภาวะสุขภาพ จัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย โดยแบ่งเป็นฐานความรู้ 4 ฐาน ดังนี้

            ฐานที่1   ความรู้เรื่องอาหาร

            ฐานที่ 2 ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย และการออกกำลังกายด้วยยางยืด

            ฐานที่ 3 การออกกำลังกายด้วยไม้พลองป้าบุญมี

            ฐานที่ 4 การออกกำลังกายด้วยการเดินเร็วโดยแกนนำสุขภาพที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ  และวิทยากรกลุ่ม                    

       3. สร้างเครือข่ายด้วยวิธีใช้แกนนำขยายความรู้สู่ชุมชน โดยการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน , รอบเอวเกินมาตรฐาน, มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง จำนวน 10-15 คน ต่อแกนนำ 1 คน แกนนำให้ความรู้แก่สมาชิกตามโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ โดยมีผู้วิจัยและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง และที่ปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่เกินขีดความสามารถของของเครือข่าย ทำหน้าที่ประสานงานผ่านหน่วยงานต่าง ๆ และเข้าร่วมในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์ที่พบระหว่างดำเนินโครงการ

      4. สรุปผล ปัญหา อุปสรรคร่วมกัน วางแผนการแก้ไขปัญหา

      5. ดำเนินการไปสู่ชุมชนอื่น หรือหมู่บ้านอื่น ๆ ต่อไป โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน

 กลุ่มเป้าหมาย

  1. ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และรอบเอวเกิน ที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 40 คน     
  2. ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ขึ้นไปเข้าร่วมกิจกรรมมหกรรมสร้างสุขภาพ จำนวน 40 คน

ผลลัพธ์ที่ได้

            การประเมินโครงการครั้งนี้เพื่อประเมินผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการพิชิตอ้วน พิชิตพุง ด้วยโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ  ดังนี้

                1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

                2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพจนเป็นแกนนำด้านสุขภาพในชุมชนได้          

จากการสังเกตขณะทำกิจกรรมกลุ่ม ทุกคนสนใจดี มีส่วนร่วมในกิจกรรม ดังนี้

          * กลุ่มเป้าหมายทุกคนร่วมกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อสร้างความคุ้นเคย

            * กลุ่มเป้าหมายทุกคนเล่าประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการควบคุมอาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหาร

            * วิทยากรให้ความรู้ เรื่องการควบคุมอาหาร อาหารตามโซนสี เทคนิคการลดน้ำหนัก กลุ่มเป้าหมายฝึกการเลือกอาหารสาธิต คำนวณปริมาณแคลอรี่ในอาหาร 1 วัน ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง

            * กลุ่มเป้าหมายวิเคราะห์ ร่วมกันกำหนดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา และร่วมกันหาวิธีแก้ไขปัญหา เมื่อมีวิธีการที่ดี ปฏิบัติได้ถูกต้องให้รางวัลตนเอง

            * วิทยากรชี้แจงการลงบันทึกในแบบบันทึกอาหารในแต่ละวัน โดยให้กลุ่มเป้าหมายบันทึกที่บ้านทุกวัน โดยให้กลุ่มเป้าหมายตั้งเป้าหมายในรับประทานอาหารตามธงโภชนาการ ทุกคนเข้าใจดี นัดหมายให้มาส่งในวันที่นัดพบครั้งที่ 2

                  3)  จัดกิจกรรมการออกกำลังด้วยไม้พลองป้าบุญมี   ระยะเวลา  1 ชั่วโมง30 นาที มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินภาวะสุขภาพ ผลการประเมินสุขภาพ

          อ้วนอันตราย....ไม่อยากตายต้องเลิกอ้วน...ครับท่าน...

                                                                อดิเรก  เสมามอญ....

หมายเลขบันทึก: 447497เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2011 02:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท