ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาตนเองของคนวัยทอง


ด้วยความที่มีความคิดว่าตนเองก็กำลังศึกษาเล่าเรียนในระดับปริญญาเอกด้วย ก็น่าที่จะได้นำความรู้ที่ได้รับจากคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิประจำหลักสูตรยุทธศาสตร์การพัฒนามานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศ.ดร.เฉลียว บุรีภักดี ประธานหลักสูตรฯ ท่านได้ให้เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างยุทธศาสตร์ คือ “ตัวแบบทางความคิด เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนา” หรือที่เรียกย่อๆ ว่า “ตัวแบบ 5 ขั้นตอน” สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแผนที่นำทางในการสร้างยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาตนเองของคนวัยทอง

...เมื่อตนเองเข้าสู่ช่วงอายุ 40 ปีเป็นต้นมาจนกระทั่งครบ 45 ปีแล้วนั้น มีความรู้สึกว่าตนเองมีอาการแปลกๆ ที่เกิดกับร่างกายตนเองอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน (ก่อนอายุ 40 ปี) ได้แก่ มือซ้ายไม่มีแรงเปิดฝาโหลใส่น้ำตาลแบบฝาปิดสุญญากาศ มีอาการเหมือนเส้นจะพลิกเมื่อนั่งกางขาและจะหุบขากลับคืน มีอาการเวียนศีรษะชั่ววูบแล้วจะล้ม มีอาการเข่าขวาเส้นพลิกขณะเดินและเกร็งเดินไม่ได้เกือบล้มทั้งยืน ฯลฯ อะไรอีกมากมายซึ่งอยู่ในระหว่างการเขียนบันทึกอาการแปลกๆ เพิ่มเติมอีก ซึ่งเคยได้รับทราบข้อมูลมาว่าช่วงอายุ 40 ปีเป็นต้นไปเป็นช่วงวัยของคนวัยทอง แต่ตนเองก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรมากนัก จนเกิดอาการแปลกๆ ดังที่เกริ่นไว้เบื้องต้น ด้วยความที่มีความคิดว่าตนเองก็กำลังศึกษาเล่าเรียนในระดับปริญญาเอกด้วย ก็น่าที่จะได้นำความรู้ที่ได้รับจากคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิประจำหลักสูตรยุทธศาสตร์การพัฒนามานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศ.ดร.เฉลียว บุรีภักดี ประธานหลักสูตรฯ ท่านได้ให้เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างยุทธศาสตร์ คือ “ตัวแบบทางความคิด เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนา” หรือที่เรียกย่อๆ ว่า “ตัวแบบ 5 ขั้นตอน” สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแผนที่นำทางในการสร้างยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ สำหรับยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาคนวัยทองนั้น สามารถสรุปแนวคิดได้ดังนี้

  • ปัญหาทุกข์ร้อน คือ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและต้องการที่จะขจัดปัญหาหาให้หมดไป ซึ่งปัญหาสำหรับคนวัยทองที่สำคัญคือ “สุขภาพของคนวัยทองไม่สมบูรณ์แข็งแรง” โดยจากการสังเกตตนเองและสอบถามจากเพื่อนๆ ช่วงวัยเดียวกัน รวมทั้งได้อ่านเอกสารเผยแพร่ต่างๆ เกี่ยวกับกับคนวัยทองจะพบว่าคนที่เข้าสู่ช่วงวัยทองแล้วจะพบอุปสรรคร่างกายตนเองไม่แข็งแรง นอกจากนี้ ยังพบปัญหาที่ตามมา (ปัญหาสืบเนื่อง) ได้แก่ 1) เกิดโรครุมเร้าต่อตนเองหรือมีหลายโรคเกิดกับตนเองโดยที่ไม่คาดคิด 2) มีปัญหาในที่ทำงานเนื่องจากทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ล่าช้า และ ทำงานกับผู้ร่วมงานไม่ได้ และ 3) มีปัญหาในครอบครัว โดยการทะเลาะเบาะแว้งกันระหว่างสามีและภรรยา เนื่องจากฝ่ายหญิงส่วนใหญ่มักจะพูดมาก และฝ่ายชายมักไม่ค่อยพูด นิ่งเงียบ อยากอยู่คนเดียว เมื่อถูกรบเร้ามากขึ้นก็เกิดการทะเลาะกันเป็นปัญหาความแตกแยกเกิดขึ้นในบ้านได้ สำหรับสาเหตุของปัญญา (ปัญหาปัจจัย) ที่เกิดขึ้นนั้น จากการวิเคราะห์แล้วพอทราบสาเหตุก็คือ เกิดมาจากการที่คนวัยทองมักจะไม่มีการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยทอง และส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยใส่ใจในสุขภาพของตนเอง คิดว่าตนเองยังแข็งแรงเป็นคนวัยฉกรรจ์ตลอดเวลา จึงยังคงดำเนินชีวิตหรือใช้ชีวิตตามปกติเหมือนกับคนปกติดทั่วไป ซึ่งเหล่านี้เป็นเหตุปัจจัยสำคัญต่อคนเข้าสู่วัยทองแล้วพบปัญหากับตนเองอย่างแก้ปัญหาไม่ได้
  • ปัญหาเป้า คือ ปัญหาที่ได้จากการวิเคราะห์ปัญหาทุกข์ร้อนที่เกิดขึ้นโดยที่เมื่อได้รับการแก้ไขแล้วจะทำให้เจ้าทุกข์มีความสุขและสนองต่อความต้องการของเจ้าทุกข์ด้วย ดังนั้น ปัญหาที่ต้องการแก้ไขในกรณีนี้ คือ “คนวัยทองขาดความรู้ความเข้าใจในการเตรียมตัวเข้าสู่วัยทองและการปฏิบัติตนในช่วงวัยทอง” จากการสอบถามพี่ๆ เพื่อนๆ ในช่วงวัยทองแล้วจะทราบว่าส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองอยู่ในช่วงวัยทอง และ ไม่สนใจรวมทั้งไม่มีความรู้ในการปฏิบัติที่ถูกต้องอีกด้วย หากจำแนกองค์ประกอบภายในกรอบปัญหานี้จะพบว่าคนวัยทองมีองค์ประกอบปัญหา ดังนี้
  •  
    • ไม่เข้าใจและไม่มีความรู้เกี่ยวกับช่วงวัยทอง
    • ไม่มีความรู้ในการเตรียมตัวที่ดีก่อนเข้าสู่วัยทอง
    • ไม่ทราบวิธีปฏิบัติตนในช่วงวัยทอง
    • ไม่เข้าใจสาเหตุหรืออาการที่เกิดกับคนวัยทอง - ไม่มีความรู้ในวิธีการแก้ปัญหาและการป้องกันเมื่อเกิดอาการของคนวัยทอง
  • เป้าหมายยุทธศาสตร์การพัฒนา คือ ผลจากการวิเคราะห์ปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข (ปัญหาเป้า) ว่าเรามีแนวทางในการแก้ปัญหานั้นได้อย่างไรและควรที่จะแก้ปัญหาในระดับคุณภาพใด ซึ่งจากกรณีปัญหาของคนวัยทองนั้น เป้าหมายยุทธศาสตร์การพัฒนา คือ “ต้องมีแนวปฏิบัติการเตรียมตัวและการปฏิบัติตนของคนวัยทอง” จากการวิเคราะห์ปัญหาเป้าและองค์ประกอบของปัญหาเป้าแล้วจะเห็นว่าคนวัยทองส่วนใหญ่ขาดความรู้และความเข้าใจในการปฏิบัติตนและไม่ค่อยให้ความสนใจใส่ใจในตนเอง ดังนั้น การที่คนวัยทองควรให้ความตระหนักมากที่สุดคือการหาความรู้ในแนวทางการเตรียมตัวและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมของคนวัยทองเพื่อที่จะให้สามารถดำรงตนได้อย่างมีความสุขปราศจากปัญหาที่อาจจะเกิดได้อย่างไม่คาดคิด
  • หน่วยระบบทำงาน ประกอบด้วย 6 หน่วยระบบในการแก้ปัญหา โดยมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้
    • หน่วยระบบทำงานที่ 1 รวบรวมความรู้เกี่ยวกับช่วงวัยทอง ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งได้แก่หนังสือ วารสาร อินเทอร์เน็ต เป็นต้น และมีการจัดหมวดหมู่เนื้อหาเพื่อให้สามารถศึกษาได้โดยง่าย มีหัวข้อหลักๆ ดังนี้
      •  วัยทองคืออะไร "วัยทอง" เป็นช่วงต่อระหว่างวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและวัยสูงอายุ ประชากรชายและหญิงในช่วงอายุ 40 หรือ 45 ปีขึ้นไป ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะมีการผลิตฮอร์โมนเพศลดลง ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลในวัยนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่นในครอบครัวและสังคมได้ ในผู้ชายวัยทอง การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ไม่ได้ลดลงอย่างเฉียบพลัน ผู้ชายบางคนก็อาจมี หรือหยุดทันทีเหมือนผู้หญิง ในทางตรงกันข้าม วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนของผู้หญิงเป็นช่วงเวลาที่สิ้นสุดการมีประจำเดือนแล้ว เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง เกิดอาการต่างๆ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว กลุ่มอาการหมดประจำเดือน (Menopausal Symptom) ได้แก่ มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในเวลากลางคืน นอนไม่หลับหรือหลับยาก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หลงลืมง่าย บางคนมีปัสสาวะบ่อย แสบ เวลาไอจามอาจมีปัสสาวะเล็ด ช่องคลอดแห้ง เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ สำหรับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวที่พบ ได้แก่ โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือดจากการมีระดับไขมันในเลือดสูงโดยเฉพาะระดับโคเลสเตอรอล บางรายอาจเกิดโรคอัลไซเมอร์เมื่ออายุมากขึ้น
      • แนวทางป้องกันและแก้ไข
        • 1) การให้ฮอร์โมนทดแทน 1.1) สำหรับเพศหญิง มี 3 ชนิด คือ 1.1.1) ชนิดมีเอสโตรเจนเพียงชนิดเดียว มีทั้งชนิดรับประทาน ฝังใต้ผิวหนัง แปะบนผิวหนัง ครีมและเจลทาบริเวณผิวหนังหรือช่องคลอด 1.1.2) โปรเจนเตอโรนเพียงชนิดเดียว ใช้ป้องกันมะเร็งของเยื่อบุมดลูกในสตรีที่ร่างกายยังสามารถสร้างเอสโตรเจนได้เพียงพอ 1.1.3) ชนิดที่มีเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน นิยมให้แบบรอบเดือน โดยแต่ละเม็ดจะมีปริมาณฮอร์โมนไม่เท่ากัน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปริมาณฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงเลียนแบบลักษณะการเปลี่ยนแปลงปริมาณฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกาย 1.2) สำหรับเพศชาย ชนิดที่มีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนอยู่ในรูปเกลือต่างกัน มีทั้งชนิดรับประทาน เจลทาภายนอกและชนิดฉีด 2) การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยสิ่งที่ควรเน้นเป็นพิเศษคือ 1) บริโภคโปรตีนถั่วเหลืองที่มีไอโซฟลาโวนหรือการเสริมไอโซฟลาโวนสามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและลดอาการร้อนวูบวาบที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือน
        • 2) บริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ นม ปลาทอดกรอบกินได้ทั้งกระดูก กุ้งแห้ง เต้าหู้ (ผลิตภัณฑ์จากถัวเหลือ) เป็นต้น ในการป้องกันโรคกระดูกพรุนได้
        • 3) กินอาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันจากพืช เช่น ถั่วแดงหลวง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา ถั่วแขก เมล็ดพืชต่างๆ เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน รวมทั้งธัญพืชจำพวกข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์
        • 4) กินปลาที่มีมันมาก จำพวกปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลาซาบะ ปลาสวาย และพุงปลาช่อน สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อเพิ่มกรดไขมันจำเป็นให้ร่างกาย นำไปสร้างความชุ่มชื่นแก่ผิวหนัง ช่องคลอด และเยื่อบุช่องคลอด
        • 5) กินผลไม้รสเปรี้ยว จำพวกส้มต่างๆ แอ๊ปเปิ้ล เชอรี่ พลัม สับปะรด เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ และ
        • 6) น้ำมะพร้าวชะลอวัยทองสมองเสื่อมได้ 3) หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ชา และกาแฟ 4) หมั่นออกกำลังกายแบบเบา ๆ เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง เดินเร็ว ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค และอื่น ๆ เป็นประจำอย่างน้อยวันละประมาณ 15-30 นาที 5) ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง อย่างวิตกกับอาการที่เกิดขึ้นและควรพักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ
      • การเตรียมตัวเข้าสู่วัยทอง เมื่อรู้เหตุและปัญหาของ “วัยทอง” แล้ว ก็ควรที่จะเตรียมร่างกาย และ จิตใจ ควรจะมีการเตรียมตัวมาตั้งแต่เด็กๆ หรือ เมื่อนึกได้ก็ยังไม่สายเกินไปนัก โดยเพียงแค่หากเปรียบเทียบการเดินข้ามสะพานไม้แคบๆ คนหนุ่มสาวมักจะเดินทรงตัวได้ดีกว่าคนที่อายุมากแล้วก็เท่านั้นเอง 1) การฝึกบุคลิกภาพและฝึกจิตใจ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะหากเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคงแล้วจะช่วยลดปัญหาสภาพจิตใจแปรปรวนได้เป็นอย่างดี 2) รู้จักวิธีผ่อนคลาย และจัดการกับความเครียด เพราะคนเรายิ่งมีอายุมากขึ้นยิ่งมีขยะอารมณ์เพิ่มเป็นเงาตามตัว หากไม่รู้จักวิธีขจัดจะกลายเป็นสะสมเมื่อมันทะลักล้นก็จะควบคุมไม่ได้ ซึ่งคนเรารู้จักวิธีคิดและวิธีวิเคราะห์แต่คนเราไม่รู้วิธีหยุดคิด ดังนั้น ต้องรู้จักการหยุดคิดด้วยการนั่งสมาธิ ฝึกชีกง หรือ โยคะ เพื่อให้ลมหายใจกำหนดอยู่ที่จิตใจ 3) เรื่องสุขภาพร่างกาย สิ่งแวดล้อม ก็เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เจริญเติบโตงอกงามด้วยปุ๋ย ดิน อากาศ และ น้ำ ดังนั้นเราก็ควรเตรียมความพร้อมด้านนี้ด้วย เช่น อาหาร น้ำ แสงแดด และ อากาศ ต้องได้รับสิ่งที่ดีมีประโยชน์
    • หน่วยระบบทำงานที่ 2 เตรียมตัวเข้าสู่วัยทอง ซึ่งเป็นวิธีการปฏิบัติตนในการเตรียมตัวของวัยหนุ่มสาวก่อนเข้าสู่วัยทองมีแนวปฏิบัติดังนี้
      • 1) การออกกำลังกายเป็นประจำ
        • โปรแกรมเต้นแอโรบิค
        • การออกกำลังกาย เช่นการเต้นแอโรบิค การวิ่งเหยาะๆ การเดินเร็ว หรือการว่ายน้ำ ช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง และควรออกกำลังกายวิธีนี้ อย่างน้อย 30 – 40 นาที ต่อครั้ง 3 – 4 วันต่อสัปดาห์ - บริหารการทรงตัว – การออกกำลังกาย เช่น ทรงตัวโดยการยืนขาเดียวประมาณ 5 วินาที หลังจากนั้นสลับข้างและทำต่ออีก 5 วินาที จะช่วยรักษาการทรงตัวให้ดีขึ้น
        • งานอดิเรก –การหางานอดิเรก หรือ กิจกรรมที่ชื่นชอบ เช่น งานจัดสวน เต้นรำ นั้นช่วยทำให้ร่างกายได้มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
        • ยืดเส้นยืดสาย –การยืดกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ลำตัว ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย และช่วยลดการเกิดการบาดเจ็บอีกด้วย - โปรแกรมเพิ่มความแข็งแกร่ง
        • เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อโดยการฝึกยกน้ำหนักแบบเบาๆ สามารถช่วยเผาผลาญไขมัน อีกทั้งช่วยกระชับกล้ามเนื้อไม่ให้หย่อนคล้อย
      • 2) การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สามารถสรุปหลักการกินเพื่อลดหรือ ควบคุมน้ำหนักของร่างกายให้พอเหมาะ และเอาใจใส่ในเรื่องสุขภาพให้มากขึ้นด้วยหลักการกินคนวัยทอง 6 ประการ คือ
        1. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยกินทุกวัน และให้หลากหลายชนิด ไม่ซ้ำซาก จะส่งผลทำให้ไม่เป็นโรคขาดสารอาหาร
        2. กินอาหารประเภทที่ให้สารโปรตีน ซึ่งมีกรดอะมิโนอาร์จินีน ได้แก่ ถั่วเหลือง งาขาว กุ้งแห้ง ปลาป่น ปลาทะเล ถั่วแดง ถั่วเขียว ไข่ นม เป็นต้น โดยเลือกกินเพิ่มเติมจากรายการอาหารทั่วไป จะส่งผลให้ร่างกายได้รับการกระตุ้นให้มีการหลั่งไกรทฮอร์โมน ทำให้เซลล์เจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
        3. ผู้ที่เป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักมากผิดปกติ ต้องลดการกินเนื้อสัตว์ แต่เพิ่มการกินอาหารทะเล และอาหารที่มีกากใยสูง
        4. กินอาหารประเภทผักและผลไม้ รวมถึงข้าวไม่ขัดสี ได้แก่ ข้าวกล้อง ผักสดและผักต้ม และ ผลไม้ตามฤดูกาล โดยเลือกกินเพิ่มขึ้นและเปลี่ยนไปตามความเหมาะสม จะส่งผลทำให้ร่างกายสามารถดูดซับไขมันและน้ำดีไว้ในลำไส้ ทำให้ได้รับอาหารที่มีไขมันลดลง
        5. กินอาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ ถั่ว ปลาเล็กปลาน้อย เป็นต้น โดยการเลือกอาหารที่มีแคลเซียมสูงในแต่ละมื้อ จะส่งผลให้ร่างกายไม่เกิดเป็นโรคกระดูกพรุน และ สามารถรักษาระดับแคลเซียมและการสูญเสียแคลเซียมในร่างกาย
        6. กินอาหารจำพวกพืชที่ให้สารไฟโต เอสโตเจน ฮอร์โมนชนิดนี้ได้จากการสังเคราะห์ แต่ในพืชก็มีเช่นกัน เช่น ข้าวกล้อง มันฝรั่ง มะละกอ ข้าวโพด แครอท บร็อคโคลี กะหล่ำปลี ฟักทอง งา ถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง มีประโยชน์โดยเฉพาะกับเพศหญิงที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก 3) การลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ 4) การงดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรค เช่น หลีกเลี่ยง บุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดอาหารที่มีไขมันจากสัตว์ เป็นต้น 5) การเพิ่มพฤติกรรมที่ดี เช่น มีงานอดิเรกรับประทานอาหารผักและผลไม้มากขึ้น และรับประทานแคลเซียมเสริมที่เหมาะสม 6) การพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเป็นประจำ เพื่อตรวจหาโรคบางอย่างที่พบได้บ่อยในวัยกลางคนจนถึงวัยสูงอายุ เพื่อรับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต ต่อมลูกหมากโต มะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายในเลือดและตอบแบบสอบถาม เพื่อประเมินอาการและภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ขาดฮอร์โมนเพศชาย หากจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนเพศชายเสริม ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ทุกครั้ง
  • หน่วยระบบทำงานที่ 3 สังเกตและบันทึกอาการของตนเอง ซึ่งเป็นการฝึกการบันทึกประจำวันอาจจะอยู่ในรูปของสมุดไดอารี่ หรือ ออร์แกนไนเซอร์บนโทรศัพท์มือถือ หรือ บันทึกเป็นไดอารี่บนเว็บไซต์ หรือ ที่กำลังนิยมอยู่คือสังคมออนไลน์ก็ได้ 
  • หน่วยระบบทำงานที่ 4 วิเคราะห์เปรียบเทียบหาสาเหตุหรืออาการ โดยต้องสังเกตอาการของตนเองแยกเป็นชายและหญิงดังนี้
    • กลุ่มอาการหญิงวัยทอง
      • กลุ่มอาการระบบประสาทอัตโนมัติ (vasomotor symptoms) 1. ร้อนวูบวาบ เหงื่อออก รู้สึกหนาวร้อนผิดปกติ 2. วิงเวียนศีรษะ 3. ปวดศีรษะ 4. นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท
      • กลุ่มอาการทางผิวหนังและเยื่อเมือก (skin and mucous membrane symptoms) 1. ขาดความชุ่มชื้นในร่างกาย 2. เกิดการแพ้และอักเสบได้ง่าย เล็บเปราะและหักง่าย 3. ผิวหนังแห้ง คันตามผิวหนัง ริมฝีปากแห้ง 4. ผมแห้ง เปราะหรือผมร่วง
      • กลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและข้อกระดูก (musculoskeletal symptoms) 1. ปวดตามข้อต่างๆโดยเฉพาะปลายนิ้ว 2. ปวดกล้ามเนื้อตามร่างกาย 3. ปวดหลัง
      • กลุ่มอาการทางเดินปัสสาวะ (urinary symptoms) 1. การทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินปัสสาวะหย่อนยานลง 2. ถ่ายปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ 3. ไอ จาม มีปัสสาวะเล็ด
      • กลุ่มอาการทางระบบสืบพันธุ์ (genital symptoms) 1. ขาดฮอร์โมนเพศ 2. ความรู้สึกทางเพศลดลง 3. ผนังช่องคลอดบางลง 4. ช่องคลอดแห้ง เจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ 5. อวัยวะเพศเหี่ยวลง
      • กลุ่มอาการทางจิตประสาท (psychological symptoms) 1. อารมณ์แปรปรวน เช่น โกรธง่าย 2. วิตก กังวลง่ายผิดปกติ 3. ซึมเศร้า ไม่รื่นเริง จิตใจหดหู่ ห่อเหี่ยว 4. เหนื่อยง่าย 5. เฉื่อยชา ง่วงเหงาหาวนอน 6. ลังเลใจไม่มั่นใจในการทำงานหรือพูดจา 7. ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม
    •  กลุ่มอาการชายวัยทอง
      • กลุ่มอาการระบบประสาทอัตโนมัติ (vasomotor symptoms) 1. ร้อนวูบวาบ เหงื่อออก รู้สึกหนาวร้อนผิดปกติ 2. วิงเวียนศีรษะ 3. ปวดศีรษะ 4. นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท
      • กลุ่มอาการทางผิวหนังและเยื่อเมือก (skin and mucous membrane symptoms) 1. ขาดความชุ่มชื้นในร่างกาย 2. เกิดการแพ้และอักเสบได้ง่าย เล็บเปราะและหักง่าย 3. ผิวหนังแห้ง คันตามผิวหนัง ริมฝีปากแห้ง 4. ผมแห้ง เปราะหรือผมร่วง
      • กลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและข้อกระดูก (musculoskeletal symptoms) 1. ปวดตามข้อ 2. ปวดกล้ามเนื้อตามร่างกาย 3. ปวดหลัง
      • กลุ่มอาการทางเดินปัสสาวะ (urinary symptoms) 1. การทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินปัสสาวะหย่อนยานลง 2. มีความผิดปกติในการขับถ่ายปัสสาวะ
      • กลุ่มอาการทางระบบสืบพันธุ์ (genital symptoms) 1. ฮอร์โมนเพศลดลง 2. ความรู้สึกทางเพศลดลง 3. องคชาตไม่แข็งตัว 4. องคชาตแข็งตัวได้เพียงระยะหนึ่งแล้วก็อ่อนตัวลง 5. อวัยวะเพศเหี่ยวลง 6.ไม่สามารถมีอารมณ์ทางเพศถึงจุดสุดยอดและหลั่งน้ำอสุจิ
      • กลุ่มอาการทางจิตประสาท (psychological symptoms) 1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เช่น โกรธง่าย หงุดหงิด 2. มีความกังวล 3. มีอาการซึมเศร้า ไม่รื่นเริง จิตใจห่อเหี่ยว 4. เหนื่อยง่าย 5. เฉื่อยชา ง่วงเหงาหาวนอน 6. ไม่ค่อยมีความมั่นใจในการพูดจา ลังเลในการทำงาน 7. ความจำเสื่อมหรือไม่มีสมาธิ 8. ความคิดอ่านลดลง 9. รู้สึกว่ากล้ามเนื้อตามร่างกายเล็กลง
  • 4.5. แก้ปัญหาตามอาการและสาเหตุ
  •  
    • 4.6. สรุปและบันทึกผลการแก้ปัญหา
  • ทรัพยากร ได้แก่ แหล่งความรู้เกี่ยวกับวัยทอง ครอบครัว บุคลากรในที่ทำงาน สมุดบันทึก เป็นต้น
  • หลักวิชาการ ทฤษฎี ความรู้เกี่ยวกับคนวัยทอง
    • จากเว็บไซต์
      • 6 หลักการกิน กับ คนวัยทอง http://www.hilunch.com/six-ways-eating-for-old-women
      • แก้อาการวูบวาบในวัยทองด้วยถั่วเหลือง http://www.yourhealthyguide.com/article/aw-flash-soybean.html
      • ประโยชน์ของถั่วเหลืองกับประชากรวัยทอง http://www.healthdd.com/article/article_preview.php?id=51
      • การเปลี่ยนแปลงของร่างกายในวัยทอง http://www.bangkokhospital.com/index.php?p=newsDetail&NewsID=505&lang=TH
      • ดูแลตนเองเมื่อก้าวเข้าสู่วัยทอง (Menopause (take care yourself)) http://www.ladpraohospital.com/healthKnowledges.asp?id=13
      • เตรียมตัวอย่างไรเมื่อเข้าสู่วัยทอง http://www.suppaya.com/forum/index.php?topic=244.0
      • เตรียมพร้อมเข้าสู่วัยทอง http://www.happyoppy.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=524645&Ntype=5
      • ยาของคนวัยทอง http://www.pharm.chula.ac.th/clinic101_5/article/Drugold.htm
      • เรื่องน่ารู้ของ...คุณนาย วัยทอง http://www.formumandme.com/article.php?a=1030
      • วัยทอง คืออะไร http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=30202.0
      • วัยทอง สดใสได้ ด้วยการ...ดูแลสุขภาพ http://www.thairunning.com/menopause.htm
      • อาหารการกินสำหรับหญิงวัยทอง http://203.131.209.142/newkm/node/136
    • จากบทความ
      • อนามัยวัยทำงาน

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจทั่วไป ที่จะได้เตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยทอง และ มีความสุขกับการใช้ชีวิตในช่วงวัยทองอย่างสนุกสนาน เพื่อการเตรียมตัวเข้าสู่ผู้สูงวัยได้อย่างมีคุณภาพต่อไป...

หมายเลขบันทึก: 447066เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2011 05:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บทความนี้ ดิฉันกำลังสนใจและกำลังหาข้อมูลมาสนับสนุนในการเรียนค่ะ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดในพื้นที่ทำงานกับประชาชนในเขตรับผิดชอบ

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลในการเตรียมตัวเข้าสู่วัยทอง...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท