ใบความรู้ที่ 5 เรื่อง หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง


ใบความรู้ที่ 5 เรื่อง หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง

 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง SECONDARY STORAGE UNIT

 internal storge หรือเป็นหน่วยเก็บข้อมูลและโปรแกรมชั่วคราว(temporary storage)เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรเเกรมทุกอย่าง ที่เก็บในแรมจะหายไป เนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง หน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้จึงเรียกว่า volatile ดังนั้นจัดเก็บข้อมูลอย่างถาวร ไว้ใช้งานในภายหลัง จึงจำเป็นจะต้องมีหน่วยเก็บข้อมูลภายนอกที่เรียกว่า external storage หรือ secondary storage หรือ auxiliary storage ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลสำหรับการประมวลผลไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระเเสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง
กระบวนการในการเก็บข้อมูล เรียกว่า การเขียนหรือการบันทึกข้อมูล (writing หรือ recording data) เนื่องจากว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง จะบันทึกข้อมูลในรูปของสื่อต่างๆที่สามารถนำมาเรียกในภายหลังได้ กระบวนการดึงข้อมูลมาใช้เรียกว่า retrieving data เเละถ้าเป็นการอ่านข้อมูลจะเรียกว่า reading data เพราะอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองจะอ่านข้อมูลและถ่ายโอนไปยังหน่วยความจำหลัก เพื่อการประมวลผลต่อไป
         การใช้งานคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ จะมีความต้องการอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป เช่น บริษัทประกันและธนาคาร อาจมีความต้องการอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าได้จำนวนมาก ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาจต้องการอุปกรณ์ ในการจัดเก็บข้อมูลไม่มากนัก

อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
             1. จานแม่เหล็ก (magnetic disk storage) จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท จานแม่เหล็กประกอบด้วยแผ่นพลาสติกหรือโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ข้อมูลสามารถบันทึกและอ่านจากผิวหน้าที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กนี้ จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุสูง มีความเชื่อถือได้ และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของจานแม่เหล็ก เช่น ฟลอปปีดิสก์ (floppy disks) และฮาร์ดดิสก์ (hard disk )
 

 2. ฟลอปปีดิสก์ (floppy disks)
              ฟลอปปีดิสก์ นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ดิสก์เกตต์ (diskettes) หรือดิสก์ (disks) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ฟลอปปีดิสก์ ในรุ่นแรก ๆ จะมีขนาด 8 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว แต่ปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 3.5 นิ้วแต่เดิมฟลอปปีดิสก์เรียกว่า ฟลอปปี (floppies) เพราะดิสก์มีลักษณะที่บางและยืดหยุ่น แต่ปัจจุบันลักษณะของดิสก์ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เป็นดิสก์ที่หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกแข็ง แต่เนื้อดิสก์ภายในยังคงอ่อนเหมือนเดิม จึงเรียกฟลอปปีเช่นเดิม

 

 

 

 

               
ฮาร์ดดิสก์ (hard disks)
                การเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บบนฮาร์ดดิสก์มีความเร็วมากเมื่อเทียบกับการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่บนแผ่นฟลอปปีดิสก์ การทำงานของฮาร์ดดิสก์นี้มีลักษณะเดียวกันกับการทำงานของฟลอปปีดิสก์ ส่วนประกอบสำคัญของฮาร์ดดิสก์ ประกอบด้วย แผ่นโลหะแข็งเคลือบผิวหน้าด้วยสารอลูมินั่มหรืออาจเป็นสารอื่น ๆ สำหรับการจัดเก็บข้อมูลเรียกว่า platters และมีหัวอ่านที่เรียกว่า read - write head เพื่อสัมผัสกับ platters ในการเข้าถึงข้อมูล หัวอ่านมีลักษณะบางและขนาดเล็ก ซึ่งควันบุหรี่ รอยนิ้วมือ ฝุ่นละออง หรือสามารถทำให้เกิดการสึกกร่อนของหัวอ่าน และยังเป็นสาเหตุให้ข้อมูลบางส่วนถูกทำลายได้ ข้อดีของฮาร์ดดิสก์ที่เด่นกว่าฟรอปปีดิสก์คือ ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลที่สูงกว่าแผ่นฟรอปปีดิสก์มากเป็นพันเท่า และความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่เร็วกว่า ฮาร์ดดิสก์ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมีความจุสูงมาก ปัจจุบันหน่วยวัดความจุของการเก็บข้อมูลในฮาร์ดิสก์นิยมใช้กิกะไบต์ (gigabyte หรือ GB) เช่น 8.4 GB เป็นต้น
ฮาร์ดดิสก์สามารถจำแนกได้เป็น 3 ชนิด คือ internal hard disk , hard-disk cartridge และ hard-disk packs

 

 

 

 

คอมแพคดิสก์ (compact disk หรือ CD) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล
สำรองที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันลักษณะหนึ่งที่สำคัญของ CD คือจะถูกอ่านด้วยเครื่องอ่าน CD (CD - Rom drive) ที่มีความเร็วที่แตกต่างกันออกไป แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
       - CD - Rom (compact disk read - only memory) มีลักษณะคล้ายกับซีดีเพลง หรือ ซีดีที่ขายกันอยู่ทั่วไปคำว่า read - onlyหมายถึง อ่านได้เพียงอย่างเดียว ผู้ใช้ไม่สามารถแก้ไขหรือลบข้อมูลในแผ่นซีดีได้

 


           - CD - R (compact disk recorable ) เป็น ซีดีที่สามารถเขียน บันทึก หรือ write ข้อมูลได้ครั้งเดียว และสามารถอ่านข้อมูลได้หลายครั้งแต่ไม่สามารถลบข้อมูลที่อยู่ใน CD - R ได้

 

                - CD - RW (compact disk rewriteable หรือ erasable optical disk) ซีดีประเภทนี้คล้ายกับ CD - R ต่างกันที่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ คือ สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้หลายครั้ง

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ใบความรู้
หมายเลขบันทึก: 447005เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2011 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ไม่ ดี เลย คร้าบ คนสวย

เบื่อ อออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออออ

ไม่อยากเรียน

นายคือใคร

นาย เอา เงิน ผม เอ

เบื่อ ไม่ อยาก เรียน เบื่อ ไม่ อยาก เรียน ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท