Wichai@Nanoi
นาย วิชัย ศิริวรวัจน์ชัย

การล้างบ่อน้ำตื้นหลังภาวะน้ำท่วม


กู้บ่อน้ำตื้น ฟื้นชีวิตน้ำ

        การจัดการปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ในภาวะหลังน้ำท่วมอีกวิธีหนึ่งก็คือ การปรับปรุงบ่อน้ำตื้นที่มีอยู่หลายบ่อในแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่หรือทั้งหมดมักจะถูกน้ำท่วม ดินโคลน ตะกอนต่างๆ เข้าไปในบ่อน้ำ ทำให้เกิดความสกปรกเป็นอันตรายต่อร่างกายหากนำมาใช้ เพราะจะเต็มไปด้วยเชื้อ E.coli และหลังน้ำลดแล้วก็มักจะมีหน่วยงานต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือเรื่องการล้างบ่ออยู่แล้ว ไหนๆ ทำทั้งทีทำให้ดีไปเลยดีกว่าครับ มีประสบการณ์มาบอกเล่าดังนี้ครับ

วิธีการล้างบ่อน้ำตามหลักสุขาภิบาล

กรณีมีวงขอบ

  1. เก็บเศษใบไม้  เศษวัสดุต่าง ๆ ออกจากบ่อ
  2. ถ้าน้ำในบ่อขุ่นมาก และมีตะกอน  ให้สูบน้ำและตะกอนในบ่อออกก่อน โดยให้กวนน้ำตลอดเวลาที่สูบน้ำออก เพื่อประสิทธิภาพของการใช้คลอรีน
  3. คำนวณปริมาตรน้ำและคำนวณคลอรีนที่จะใช้(ความเข้มข้น 50 p.p.m)  ผงปูนคลอรีน  65  %

เส้นผ่าศูนย์กลางของบ่อน้ำ

จำนวนปูนคลอรีนช้อนโต๊ะ

เส้นผ่าศูนย์กลางของบ่อน้ำ

จำนวนปูนคลอรีนช้อนโต๊ะ

เส้นผ่าศูนย์กลางของบ่อน้ำ

จำนวนปูนคลอรีนช้อนโต๊ะ

0.8X1ม.

1.50

0.9X1ม.

2.00

1X1ม.

2.50

0.8X2ม.

3.00

0.9X2ม.

3.50

1X2ม.

4.00

0.8X3ม.

4.50

0.9X3ม.

5.00

1X3ม.

5.50

0.8X4ม.

6.00

0.9X4ม.

6.50

1X4ม.

7.00

0.8X5ม.

7.50

0.9X5ม.

8.00

1X5ม.

8.50

0.8X6ม.

9.00

0.9X6ม.

9.50

1X6ม.

10.00

 
4. เตรียมน้ำปูนคลอรีน โดยละลายผงปูนคลอรีนที่ได้จากข้อ 3 ในภาชนะพลาสติก นำน้ำปูนคลอรีนส่วนที่ใสเทลงในบ่อ ราดให้ทั่วบ่อ และพยายามกวนให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ 30 นาที

5. สูบน้ำจากบ่อฉีดล้างคราบตะไคร่น้ำ  และคราบสกปรกออกจากบ่อให้หมด หรือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

6. ปล่อยน้ำให้ซึมออกมาใหม่  เท่ากับน้ำเดิม ตรวจหาสารคลอรีนตกค้างให้มีคลอรีนตกค้างอยู่ประมาณ. 0.5 – 1 p.p.m ถ้ามีคลอรีนมากเกินให้สูบน้ำทิ้ง แต่ถ้าไม่ถึง 0.5 p.p.m  ให้เติมคลอรีนจนถึง

7. ในกรณีที่น้ำซึมออกมาในบ่อมีน้ำขุ่น  ให้เติมสารส้มละลายน้ำจนอิ่มตัว  แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้นอนก้น  เติมคลอรีนตามข้อ 3 นำส่วนที่ใสมาตรวจหาสารคลอรีนตกค้าง

8. แนะนำเจ้าของบ่อน้ำ ให้ปรับปรุงซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ที่ชำรุด เช่น ชานบ่อ วงขอบบ่อและยารอยต่อต่าง ๆ เป็นต้น

กรณีบ่อไม่มีขอบ

1.  ในกรณีที่พิจารณาแล้วเห็นว่าเมื่อสูบน้ำออกจากบ่อแล้ว บ่อไม่พังให้ดำเนินการเช่นเดียวกับบ่อที่มีวงขอบ แต่ถ้าพิจารณาแล้วกลัวว่าบ่อจะพัง ให้สูบน้ำออกช้าๆ ไม่เร่งเครื่องสูบน้ำและไม่ต้องฉีดล้างบ่อ

2. ในกรณีที่ไม่สามารถสูบน้ำออกจากบ่อได้ ให้ทำความสะอาดบ่อ  เก็บเศษใบไม้ เศษขยะออกจากบ่อ และทำลายเชื้อโรคด้วยคลอรีนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 446550เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2011 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เยี่ยมยอดครับ

คงใช้การได้ในหลายพื้นที่ในขณะนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท