อเมริกา กับ สงครามเย็น


สหรัฐอเมริกากับสงครามเย็น

สหรัฐอเมริกากับสงครามเย็น

 

ภูมิหลังของสงครามเย็น 

๑. สภาวการณ์ของโลกก่อนการเกิดสงครามเย็น

                ในปี ค.ศ. ๑๙๔๕ หลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศมหาอำนาจของโลกได้ค่อย ๆ เสื่อมความเป็นมหาอำนาจลง และเหลือเพียง ๒ ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา  และ สหภาพโซเวียต ซึ่งมีปัจจัยที่ทำให้ทั้ง ๒ ประเทศ กลายเป็นชาติมหาอำนาจเพียง ๒ ชาติ จากในปี ค.ศ. ๑๙๓๙ ที่มีชาติมหาอำนาจมากถึง ๗ ชาติ (เยอรมนี , อังกฤษ , โซเวียต , อเมริกา , ญี่ปุ่น , ฝรั่งเศส และ อิตาลี) ดังนี้

                                ๑. เยอรมนี อิตาลี และ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ กลายเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม ทำให้หมดสถานะของการเป็นประเทศมหาอำนาจลง

                                ๒. ฝรั่งเศส เป็นประเทศมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรที่ที่ได้รับผลจากสงครามมากที่สุด เนื่องมาจาก ฝรั่งเศสถูกยึดครองโดยชาติฝ่ายอักษะ คือ เยอรมนี และ ได้รับการช่วยเหลือให้เป็นอิสระโดย อังกฤษและอเมริกา ทำให้ฝรั่งเศสต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว สถานการเป็นชาติมหาอำนาจจึงด้อยลง

                                ๓. อังกฤษ เป็นชาติที่ทุ่มเทกับสงครามโลกครั้งที่ ๒ อย่างเต็มที่ ทำให้อังกฤษ สูญเสียทั้งทรัพยากร กำลังคน และเงินทองจำนวนมหาศาล สถานภาพจึงด้อยลงในฐานะชาติมหาอำนาจ

                                ๔. สหภาพโซเวียต ได้รับผลเสียจากการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ ๒ อย่างมาก แต่อาศัยปัจจัยภายในของประเทศที่มีทรัพยากรมหาศาลและมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล และมีผู้นำที่มีความสามารถทำให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถสร้างเป็นชาติมหาอำนาจได้

                                ๕. สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่เข้าร่วมสงครามโลกหลังประเทศอื่น ประกอบกับมียุทธศาสตร์ที่ดี คือเป็นประเทศบนเกาะทวีปห่างไกลสามารถป้องกันตนเองได้ดี รวมทั้งเป็นชาติที่ครอบครองระเบิดปรมาณูแต่ผู้เดียว ทำให้กลายเป็นชาติที่มีสถานะเป็นชาติมหาอำนาจได้

                ปัจจัยเหล่านี้ทำให้อเมริกา และ โซเวียตกลายเป็นชาติมหาอำนาจ ๒ ชาติ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ และเนื่องจาก สหภาพโซเวียตดำเนินการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ ในขณะที่อเมริกามีการปกครองแบบประชาธิไตย ซึ่งเป็นลักษณะการปกครองที่แตกต่างกันสุดขั้ว แม้ว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่๒ ความขัดแย้งดังกล่าวจะไม่ถูกกล่าวถึงมากนัก  จนกระทั่งหลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ความขัดแย้งในเรื่องระบบการปกครองจึงเริ่มปรากฏชัดเจนมากขึ้น

 

                ๒. สาเหตุของการเกิดสงครามเย็น

                                ๑. อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน ระหว่างอเมริกาที่ดำเนินการปกครองแบบประชาธิปไตย และเชิดชูว่าเป็นการปกครองที่ดีที่สุด กับ โซเวียตที่ดำเนินการปกครองแบบคอมมิวนิสต์และเชื่อว่า การปกครองเช่นนี้จะสร้างความเท่าให้กับคนในสังคมมากที่สุด และพยายามเผยแพร่การปกครองเช่นนี้เพื่อให้โลกมีการปกครองในระบอบเดียว ทำให้อเมริกา มองว่าเป็นการพยายามสร้างระบอบการปกครองที่กดขี่และลิดรอนสิทธิของประชาชนในประเทศนั้น ๆ อเมริกาจึงดำเนินการในวิธีการต่าง ๆ เพื่อขัดขวางและขจัดภัยจากการปกครองแบบคอมมิวนิสต์

                                ๒. การแข่งขันการทางด้านขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีการทหารและอาวุธนิวเคลียร์ ทำให้เกิดการแบ่งขั้วทางการเมืองระหว่างประเทศออกเป็น ๒ ฝ่ายและดำเนินการเพื่อโค่นล้มอีกฝ่ายให้ได้โดยเร็วที่สุด และพยายามหลีกเลี่ยงการก่อสงครามอย่างเต็มรูปแบบ

                                ๓. ความขัดแย้งของผู้นำชาติมหาอำนาจ ในเรื่องของนโยบายด้านการต่างประเทศ เนื่องจากเป็นผลมาจากอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันทำให้มีการดำเนินนโยบายที่ขัดแย้งกัน ส่งผลให้เกิดการดำเนินการเพื่อพยายามโค่นล้มอีกฝ่ายให้ได้

 

สหรัฐอเมริกากับสงครามเย็น

                ๑. การแบ่งค่ายทางการเมืองระหว่างประเทศในช่วงสงครามเย็น

                โซเวียตและอเมริกาไม่ได้มีความไว้วางใจซึ่งกันและกันอย่างจริงใจเลยแม้ในช่วงการร่วมมือกันในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ดังนั้นเมื่อสงครามสิ้นสุดลงแล้ว อเมริกาซึ่งได้รับการกดดันจากพลเมืองอเมริกัน ก็จำเป็นต้องถอนทหารออกจากเขตยึดครองในยุโรปตะวันออก ในขณะที่โซเวียตซึ่งมีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ก็ได้คงทหารเอาไว้ และดำเนินการเพิ่มจำนวนทหารเข้าไปใน กรีฐ และ ตุรกี  ผลก็คือ โซเวียตสามารถยึดครองชาติในยุโรปตะวันออกได้จำนวนมากแม้ยังไม่ทั้งหมดก็ตาม ประกอบกับ อังกฤษ ซึ่งอ่อนแอมากหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒  ก็ไม่สามารถดำรงสถานะของผู้ถ่วงดุลอำนาจในยุโรปได้ เนื่องมาจาก อังกฤษประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก  อเมริกาจึงไม่สามารถที่จะเพิกเฉยต่อสภาวการณ์ที่สุ่มเสี่ยงเช่นนี้ได้ ทำให้อเมริกา และ โซเวียต กลายเป็นชาติปฏิปักษ์ กันอย่างชัดเจน เพราะทั้งสองประเทศ ดำเนินนโยบายทางด้านการต่างประเทศที่จัดแย้งกัน

 

 

                ๒. บทบาทของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเย็น

                                ๑ บทบาทของสหรัฐอเมริกาในสงครามเกาหลี (๑๙๕๐ – ๑๙๔๓)

                                                เกาหลีตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นมานานกว่า ๔๐ ปี โดยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อญี่ปุ่นตกอยู่ในสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม เกาหลีจึงได้รับเอกราช ดดยอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศผู้ชนะสงคราม คือ โซเวียตและอเมริกา (กับพันธมิตร) ซึ่งได้ตกลงแบ่งเกาหลีออกเป็น ๒ ส่วน โดยใช้เส้นขนานที่ ๓๘◦ และโซเวียตเข้าปกครอง เกาหลีเหนือ ในขณะที่อเมริกา เข้าปกครองเกาหลีใต้

                                                ๒๕ มิถุนายน ๑๙๕๐ กองทัพของเกาหลีเหนือ ภายใต้การสนับสนุนของโซเวียตได้เคลื่อนทัพบุกเกาหลีใต้ เพื่อต้องการรวบรวมเกาหลีเป็นหนึ่งเดียวภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ และภายใน ๓ วัน เกาหลีเหนือก็สามารถยึดครองเกาหลีใต้ได้เกือบทั้งหมด

                                                การกระทำของเกาหลีเหนือ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโซเวียตนี้ อเมริกาไม่พอใจอย่างมากและดำเนินการเรียกร้องให้สหประชาชาติเข้าช่วยเหลือเกาหลีใต้และปลดปล่อยเกาหลีใต้จากการคุกคามของคอมมิวนิสต์ และในวันที่ ๒จ มิถุนายน ๑๙๕๐ กองกำลังจากสหประชาชาติก็มีคำสั่งให้เกาหลีเหนือถอนทหารกลับ แต่ถูกปฏิเสธทำให้สหประชาชาติส่งทหารเข้าไปในเกาหลีใต้ เพื่อขับไล่เกาหลีเหนือให้ข้ามเส้นขนานที่ ๓๘ กลับไปซึ่ง นายพลแมกอาเธอร์ ในฐานะผู้นำทหารสหประชาชาติ ได้ต่อสู้จนสามารถขับไล่กองทหารเกาหลีเหนือกลับข้ามไปได้และทำให้จีน เริ่มหวาดระแวงการส่งทหารเข้ามาในเกาหลีใต้ของกลุ่มโลกเสรีจึงดำเนินการส่งทหารมาต่อต้านกองทหารจากสหประชาชาติ ผลคือ กองทหารสหประชาชาติต้องถอยร่นกลับมายังเส้นขนานที่ ๓๘ และไม่สามารถรุกคืบต่อไปได้ เนื่องจาก ประธานาธิบดีทรูแมน ไม่ต้องการทำสงครามเบ็ดเสร็จกับ จีนคอมมิวนิสต์ ทั้งนี้เพราะ

๑. เกรงว่าโซเวียตจะเข้าร่วมในสงครามเพื่อช่วยเหลือจีนคอมมิวนิสต์ทำให้สงครามบานปลายเป็นสงครามโลก

๒. เกรงว่าถ้าสู้กันจีนในสงครามเบ็ดเสร็จจนอเมริกาอ่อนแอโซเวียตจะข้ามาในเกาหลีใต้ของนสามารถขับไล่กองทหารเกาหลีเหนือกลับข้ามไปได้และทำห้จีนนขนานที่ ๓๘ กลับไปึ่งได้ตกลงแบ่งเกาหลีออกเ ฉวยโอกาสโจมตี

                                                การดำเนินนโยบายสงครามจำกัดของทรูแมนนี้ทำให้แม็คอาเธอร์ไม่พอใจและตำหนิการดำเนินนโยบายของทรูแมน ผลคือ ทรูแมนสั่งปลดแม็คอาเธอร์ เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงอำนาจของพลเรือนที่มีมากกว่าทหาร สงครามเกาหลียุติลงในปี ค.ศ. ๑๙๕๓ โดยไม่มีฝ่ายใดแพ้หรือชนะ

 

 

 

 

                                                ผลของสงครามเกาหลี

                                                                ๑.อเมริกาแสดงท่าทีเป็นปฏิปักษ์กับจีนคอมมิวนิสต์และหันไปสนับสนุนรัฐบาลจีนไต้หวันของเจียงไคเชค รวมทั้งดำเนินการโดดเดี่ยวจีนคอมมิวนิสต์ ทำให้จีนต้องหันไปพึ่งพาโซเวียต

                                                ๒. เศรษฐกิจของอเมริกาย่ำแย่ รัฐบาลต้องขึ้นภาษี และเร่งผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มเติม ค่าใช้จ่ายทางการทหารเพิ่มจาก ๑๔,๘๐๐ ล้านดอลล่าร์ ในปี ค.ศ. ๑๙๕๐ เป็น ๕๖,๙๐๐ ล้านดอลล่าร์ ในปี ค.ศ. ๑๙๕๒

                                                ๓. อเมริกาหวาดวั่นการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ลงทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้เร่งป้องกัน ด้วยการตั้งองค์ซีโต (SEATO) เพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ และนำไปสู่การเข้าร่วมในสงครามอินโดจีน

 

๒. บทบาทของอเมริกาในสงครามเวียดนาม

                เวียดนามนั้นเดิมตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่  ๒ สิ้นสุดลง ฝรั่งเศสแม้จะอยู่ในฐานะประเทศผู้ชนะสงครามแต่ฝรั่งเศสก็อ่อนแอมากจากการที่ถูกเยอรมนียึดครองและต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูตัวเองหลังสงคราม ทำให้ประเทศในปกครองอย่างเวียดนาม ที่กระแสชาตินิยมมากนานแล้วเริ่มมีโอกาส กองกำลังกู้ชาติของ โฮจิมินห์ จึงเริ่มปฏิบัติการต่อต้านและพยายามประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส ซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสก็ต้องต่อสู้อย่างลำบากเนื่องจากขาดความพร้อมในทุกด้าน ทั้งอาวุธ และกำลังพล จนกระทั้งฝรั่งเศสยอมถอนตัวไปจากเวียดนามในเหตุการณ์เดียนเปียนฟู ในขณะนั้นเวียดนามมีลักษระประเทศแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน โดยใช้เส้นขนานที่ ๑๗◦ เนื่องจากเป็นผลมาจากการให้อังกฤษ และ จีน เข้าไปปลดอาวุธญี่ปุ่นในเวียดนามหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒

                 การเป็นเอกราชของเวียดนามภายใต้การนำของ โฮจิมินห์นั้น อเมริกาไม่สามารถยอมปล่อยให้เวียดนามถูกปกครองโดยกลุ่มกู้ชาติของโฮจิมินห์ได้ เนื่องจาก โฮจิมินห์มีแนวโน้มฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ ประธานาธิบดีไอเซนฮาวน์ ของอเมริกา ซึ่งเชื่อมั่นในทฤษฏีโดมิโน ต้องเข้าร่วมสงครามเพื่อป้องกันการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ทั้ง ๆ ที่ในอเมริกามีกระแสต่อต้านสงครามรุนแรงมาก ประกอบกับอเมริกาเองต้องสู้โดดเดี่ยวเนื่องจาก อังกฤษปฏิเสธเข้าร่วมเพราะมองไม่เห็นประโยชน์จากสงคราม ผลสุดท้ายอเมริกายอมรับว่าไม่สามารถสู้ได้ จึงถอนตัวและดำเนินการจัด การประชุมที่เจนีวา ในปี ๑๙๕๔ มีสาระสำคัญคือ

๑.      ฝรั่งเศสต้องให้เอกราชแก่ ลาว เวียดนาม และเขมร ตามกฏบัตรแอตแลนติก

๒.  ให้แบ่งเวียดนามออกเป็น ๒ เขตคือ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ โดยยึดเอาเส้นขนานที่ ๑๗ และให้เวียดนามทั้งสองดำเนินการปกครองในเขตของตนเองจนกว่าจะถึงเวลาเลือกตั้งเสรี ในปี ค.ศ. ๑๙๕๖ จึงจะมาทำการตกลงกันถึงอนาคตว่าจะแยกกันอยู่หรือรวมตัวกัน

๓.     ให้ผู้แทนจาก แคนาดา อินเดีย และ โปแลนด์ เข้าไปควบคุมการสงบศึกในอินโดจีน

๔.   ห้ามไม่ให้มีการตั้งฐานทัพต่างชาติในอินโดจีน ห้ามนำกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ใด ๆ เข้ามาจากต่างประเทศ

๕.   จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใน เดือน กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๕๖ ภายใต้การดูแลควบคุมของคณะกรรมการการสงบศึกระหว่างชาติ

ผลสรุปคือ อเมริกา ไม่พอใจและดำเนินการแทรกแซงการเมืองภายในเวียดนามด้วยการสนับสนุน โงดินเดียม เป็นประธานาธิบดีของเวียดนาม ผลก็คือทำให้เกิดการต่อต้านจากกลุ่มของโฮจิมินห์ เกิดเป็นปัญหาภายในของเวียดนามเรื่อยมา จนถึงสมัย ประธานาธิบดีเคนเนดี ปัญหาในเวียดนามก็รุนแรงมากขึ้น และการปกครองของโงดินเดียมก็ไม่ได้เกิดผลดี เนื่องจากมีการฉ้อฉลมากมาย ในที่สุดในปีค.ศ. ๑๙๖๓ หลังจากที่เคนเนดีต้องทนกับกระแสสังคมที่ต่อต้านสงครามเวียดนามอย่างหนัก เคนเนดีจึงประกาศจะถอนทหารออกจากเวียดนามและให้เวียดนามช่วยเหลือตนเองในการปกป้องอธิปไตยของชาติ แต่ เคนเนดี้ถูกลอบสังหารและ ประธานาธิบดีจอห์นสัน ก็ดำเนินนโยบายตรงกันข้าม เนื่องจากสถานการณ์ในเวียดนามเปลี่ยนไป เพราะรัฐบาลของโงดินเดียม ถุกโค่นล่มและมีรัฐบาลใหม่ที่ฉ้อราษฏร์บังหลวงเช่นกัน อีก ๒ รัฐบาล ทำให้จอห์นสัน ตัดสินใจใช้กำลังทหารกับเวียดนาม อย่างเต็มที่ทั้ง ๆ ที่กระแสต่อต้านมีเพิ่มมากขึ้น จนปี ค.ศ. ๑๙๖๘ จอห์นสัน หมดวาระ ประธานาธิบดีนิกสัน เข้าดำรงตำแหน่งต่อและดำเนินนโยบายใหม่คือ ปล่อยให้เวียดนามเหนือสู้กับเวียดนามใต้เอง แต่อเมริกาจะสนับสนุนทางด้านการเงินและทหารแต่ไม่ส่งทหารเข้าร่วมรบ ทำให้นิกสันสั่งถอนทหารออกเกือบทั้งหมด นอกจานี้นิกสันยังดำเนินนโยบายสร้างสัมพันธ์กับจีนคอมมิวนิสต์ด้วยการเดินทางไปเยือนจีนคอมมิวนิสต์ ทำให้สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่าง ๒ ประเทศดีขึ้น จนกระทั่งปี ค.ศ. ๑๙๗๒ นิกสันต้องลาออกจากกรณี วอร์เตอร์เกต และ ประธานาธิบดีฟอร์ด เข้าดำรงตำแหน่งต่อ ซึ่งสถานการณ์ในอินโดจีนเลวร้ายลงมาก เพราะทั้ง ลาว กัมพูชา เวียดนาม ต่างเป็นคอมมิวนิสต์ทั้งสิ้น จนกระทั่งปี ค.ศ. ๑๙๗๖ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ ดำรงตำแหน่งต่อสถานการณ์ก็ไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิมเท่าไรนัก

 

 

 

 

ผลจากสงครามเวียดนาม

                ๑. อเมริกาแพ้สงครามเวียดนามและทำให้ลัทธิคอมมิวนิสต์แพร่หลายเข้าไปในอินโดจีน ทั้งในลาว เวียดนาม และกัมพูชา

 

๓. บทบาทของสหรัฐอเมริกาในกรณีวิกฤตการณ์คิวบา

                ในสมัยของ ประธานาธิบดีไอเซนฮาวน์ ความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกากับคิวบาไม่ได้ราบรื่นนักเนื่องจากคิวบา ในการปกครองของคาสโตรมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ ทำให้เมื่อคิวบาร้องขอความช่วยเหลือทางการทหารจากอเมริกาผ่านองค์การรับอเมริกัน (OAS) จึงถูกอเมริกาปฏิเสธ แต่คิวบาก้ได้รับความช่วยเหลือจากโซเวียตแทน ทำให้ในที่สุด คิวบาจึงเป็นประเทศในทวีปอเมริกาที่ดำเนินการปกครองแบบคอมมิวนิสต์และมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับโซเวียตเป็นอย่างดีมาตลอด ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างคิวบากับอเมริกา ย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในสมัย ประธานาธิบดีเคนเนดี อเมริกาพยายามแทรกแซงการเมืองภายในของคิวบาด้วยการพยายามโค่นล้มอำนาจของคาสโตรในการยกพลขึ้นบกที่อ่าวหมู ซึ่งล้มเหลว เป็นช่องทางให้โซเวียต โดยครุสชอฟ ใช้ความอ่อนแอของอเมริกาในการไม่ตัดสินใจเด็ดขาดด้วยการ สร้างฐานยิงขีปนาวุธที่คิวบา และขนส่งขีปนาวุธมาจากโซเวียตทางเรือ เนื่องจากเชื่อว่า อเมริกาจะต้องขอเจรจา แต่เมื่อ ประธานาธิบดีเคนเนดี ออกแถลงการณ์ให้โซเวียตถอนเรือกลับโซเวียตและถอนฐานยิงขีปนาวุธออก ไม่อย่างนั้นอเมริกาจะทำสงครามเต็มรูปแบบกับโซเวียต ท่ามกลางความตึงเครียดนี้โซเวียตตัดสินใจถอยออกจากการปฏิบัติภารกิจและกลับโซเวียต

 

ผลจากวิกฤตการณ์คิวบา

                                ๑. อเมริกามีสถานะทางการเมืองระหว่างประเทศที่สูงขึ้น เนื่องจากสามารถทำให้โซเวียตอ่อนข้อลงได้โดยไม่ต้องดำเนินการทางทหาร

                                ๒. จีนและกลุ่มประเทศโลกที่สามไม่มีความไว้วางใจโซเวียตอีกต่อไปเนื่องจากบทบาทการเป็นผู้นำโลกคอมมิวนิสต์ได้สูญเสียไปจากการยอมอ่อนข้อให้อเมริกา และถอนฐานยิงขีปนาวุธออกจากคิวบา

                                ๓. กลุ่มประเทศนาโต นำโดยฝรั่งเศส เรียนรู้ว่าอเมริกาไม่ได้ต้องการปกป้องยุโรปอย่างจริงจัง และอเมริกาสามารถดำเนินการไปได้ด้วยตัวเองในกรณีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติตนเอง ดังนั้นยุโรปจึงควรเร่งสร้างความมั่นคงด้วยการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมาเป็นของตนเองเพื่อสร้างดุลอำนาจทางการเมืองโลก

                                ๔. โซเวียตเรียนรู้ที่จะระวังป้องกันความผิดพลาดทางการทหาร มากยิ่งขึ้นจากการต้องยอมถอนฐานยิงขีปนาวุธจากคิวบา

 

๔. บทบาทของสหรัฐอเมริกาใน วิกฤตการณ์คลองสุเอช

                                ในปี ค.ศ. ๑๙๕๒ อียิปต์มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ระบอบกษัตริย์มาเป็นการปกครองแบบประธานาธิบดี เนื่องจาก นัสเซอร์ ได้ยึดอำนาจจาก กษัตริย์ฟารุค และ นัสเซอร์ดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบเป็นกลาง ซึ่งทำให้อเมริกาไม่พอใจมาก เนื่องจาก อเมริกามองว่า การดำเนินนโยบายเป็นกลาง คือการกระทำที่ไร้ศีลธรรม ทำให้อเมริกาตอบโต้ด้วยการงดขายอาวะให้อียิปต์ ผลคือ อียิปตืหันไปซื้ออาวุธจากเชคโกสโลวาเกีย ซึ่งเป็นประเทศบริวารของโซเวียต อเมรากจึงต้องเปลี่ยนท่าทีมาเป็นมิตรกับอียิปต์ โดย ดัลเลส รมต.ต่างประเทศของอเมริกา ในสมัยของ ประธานาธิบดีไอเซนฮาวน์ ได้เสนอให้นัสเซอร์กู้เงินไปสร้างเขื่อนอัสวาล แต่ถูกต่อต้านจากกลุ่มการเมืองในอเมริกา เนื่องจาก อียิปต์เป็นพันธมิตรกับสันนิบาตอาหรับ ซึ่งต่อต้านอิสราเอล ที่อเมริกาสนับสนุนอยู่ รวมทั้ง อียิปต์ผลิตฝ้าย ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของรัฐทางใต้ ดังนั้นดัลเลสจึงไม่สามารถหาเงินมาให้อียิปต์ได้ นัสเซอร์จึงตอบโต้ด้วยการปิดคลองสุเอช และยึดคืนเป็นของอียิปต์ ผลคืออังกฤษ และฝรั่งเศสซึ่งมีผลประโยชนืในคลองสุเอชไม่พอใจและให้กำลังทหารพยายามยึดคลองสุเอชคืน ขณะเดียวกันอิสราเอล ก็หวาดเกรงการสะสมอาวุธของอียิปต์ จึงยกทัพเข้าโจมตีอียิปต์ก่อน อังกฤษ ก็ออกประกาศให้ทหารทั้งของอิสราเอลและอียิปต์ออกจากคลองสุเอช ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ อเมริกาเกรงว่าถ้าอียิปต์ขอความช่วยเหลือไปยังโซเวียต อเมริกาแก้ปัญหา ด้วยการใช้สหประชาชาติเป็นเครื่องมือ โดยสหประชาชาติมีคำสั่งให้หยุดยิง และทุกชาติถอนทหารออกจากอียิปต์ อเมริกาประกาศว่าอิสราเอลผิดที่รุกรานอียิปต์ก่อน และตอบโต้อังกฤษกับฝรั่งเศสด้วยการงดขายน้ำมันให้ และยังขู่ว่าจะงดการให้เงินช่วยเหลือ

 

                ผลจากวิกฤตการณ์คลองสุเอช

                                อเมริกามีสถานะดีขึ้นในสายตาชาวโลกในฐานะผู้ยุติสงคราม และอังกฤษกับฝรั่งเศสต้องลดบทบาทฐานะของการเป็นมหาอำนาจของโลกลงเนื่องจากตกอยู่ในสถานะด้อยกว่าอเมริกา

๕. บทบาทของอเมริกาในกรณีวิกฤตการณ์ปิดล้อมเบอร์ลิน

                                                วันที่ ๑๗ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ บรรดาประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ได้มีการจัดการประชุมเพื่อหาทางร่วมมือทางทหารเพื่อป้องกันการรุกรานจากสหภาพโซเวียตตามคำแนะนำของอเมริกา ในครั้งนี้ทำให้ อังกฤษ ฝรั่งเศส และกลุ่มประเทศเบเนลัก หมายถึง ประเทศเบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และ ลักเซมเบิร์กได้ร่วมกันลงนามใน สนธิสัญญาบรัสเซลส์ (Treaty of Brussels Pact) เพื่อเป็นพันธมิตรทางทหารกัน โดยมีระยะเวลาอยู่ที่ ๕๐ ปี ฝ่ายอเมริกา อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ยังได้ทำสัญญาความร่วมมือทางเศรษฐกิจซึ่งกันและกันในเขตยึดครองของตนเองในเยอรมนี อีกด้วย

                                                ในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๔๘  สหภาพโซเวียตได้ทำการปิดล้อมเส้นทาง คมนาคมในเบอร์ลินตะวันตก โดยหวังจะขับไล่มหาอำนาจตะวันตกออกไปจากเบอร์ลิน นายพลลูเซียส เคลย์  (Jucius Clay) ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทหารอเมริกันในเยอรมนีจึงได้มีการเสนอให้มีการใช้เครื่องบินขนส่งของทหารจัดการส่งเสบียงอาหารและสัมภาระในการยังชีพเข้าไปในเบอร์ลินตะวันตก ซึ่งเป็นเขตปกครองของกลุ่มประเทศฝ่ายโลกเสรี ด้วยเหตุผลเพื่อต้องการหลีกเลี่ยงการทำสงครามโลกกับสหภาพโซเวียตอีกครั้ง ซึ่ง ประธานาธิบดีทรูแมน เห็นชอบและอนุมัติ ในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๘ อเมริกาส่งสเบียงอาหารและสัมภาระให้ชาวเบอร์ลินตะวันตกวันล่ะประมาณ ๔๕,๐๐๐ ตัน เป็นเวลา ๓๒๑ วัน และสิ้นสุดในวันที่ ๑๑๒ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๙ สหภาพโซเวียตจึงได้ยุติการปิดล้อมเบอร์ลิน เนื่องจาก เห็นว่า ไม่มีทางที่จะเอาชนะได้เนื่องจากฝ่ายโลกเสรีใช้การขนส่งเสบียงและอาวุธทางอากาศ (The Air Lift) อย่างต่อเนื่องตลอด รวมทั้งโซเวียตก็ไม่กล้ากระทำการรุนแรงกับโลกเสรีเนื่องจากเกรงที่จะขยายเป็นสงครามโลกเช่นกัน ประกอบกับฝ่ายโลกเสรีไม่มีท่าทีว่าจะอพยพออกจากเบอร์ลินเลย รวมทั้งโซเวียตกำลังหวาดเกรงการรวมตัวก่อตั้งเป็นองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ซึ่งก่อตั้งในเดือนเมษายน ค.ศ. ๑๙๔๙  เพื่อจำกัดขอบเขตอำนาจของโซเวียตอีกด้วย 

 

                ๓. การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศในช่วงสงครามเย็น

                                ๑ องค์การระหว่างประเทศฝ่ายโลกเสรี

                                                องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North – Atlantic Treaty Organization : NATO)

                                                                องค์การนาโต (NATO) เป็นองค์กรระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือในการรักษาความสงบ ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๔ เมษายน ค.ศ. ๑๙๔๙ ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด ๒๘ ประเทศ

                                                                ประเทศสมาชิกก่อตั้งประกอบด้วย ประเท เบลเยียมแคนาดา , เดนมาร์ก,  ฝรั่งเศส ,ไอซ์แลนด์ , อิตาลี , ลักเซมเบิร์ก , เนเธอร์แลนด์ , นอร์เวย์ , โปรตุเกส , สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยต่อมาในปี  ค.ศ. ๑๙๕๒ ประเทศกรีซและประเทศตุรกีได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ในขณะที่ประเทศเยอรมนีเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี ค.ศ. ๑๙๕๕ ต่อมา มีประเทศโครเอเชียและ แอลบาเนีย มาเป็นสมาชิกในวันที่ ๘ เมษายน ค.ศ. ๒๐๐๘ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 446465เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2011 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณที่กรุณาเขียนบทความดีๆ แบบนี้

โลกเราวุ่นวายเพราะประเทศมหาอำนาจ ทำธุรกิจมุ่งหวังแต่กำไรเพียงอย่างเดียว สร้างความขัดแย้ง เพื่อค้าอาวุธสงครามมูลค่าปีละ 12 ล้านล้านบาท โดยมีสหรัฐอเมริกาทำยอดขายได้เป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้าอาวุธสงครามทั้งโลกรวมกัน

สมบูรณ์ นำทิพย์จันทาเจริญ (โบบิ)

ประธานกลุ่มผู้ประกอบอาชีพสุจริตที่ได้รับความเดือดร้อนจากการชุมนุมทางการเมือง (สดช.)

494 อาคารเอราวัณแบงค็อก ชั้น 4 ห้อง 407

หัวมุมสี่แยกราชประสงค์ ติดกับโรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ

ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทร. 081-538-4200 อีเมล : [email protected] www.facebook.com/thaippp

• ร่วมเสนอทางออกให้บ้านเมือง ที่ เว็บบอร์ดhttp://www.thaippp.com/webboard/

เก๋จังเรยยยค่ะ สู้ๆๆๆนะครู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท