ภาวะผู้นำ : สมรรถนะหลักของผู้บริหารในยุคปฏิรูป


ภาวะผู้นำ

ภาวะผู้นำ : สมรรถนะหลักของผู้บริหารในยุคปฏิรูป

                 เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ผู้บริหารไม่ว่าจะองค์กรประเภทหรือระดับใดก็ตาม จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง จากผลที่เกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โลกข้อมูลข่าวสาร ภาวการณ์แข่งขันที่ไร้พรมแดน ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและภาวะที่มีทรัพยากรจำกัด ผู้บริหารจึงต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ด้วยข้อผูกพันต่อการให้บริการสาธารณะ และมีความสามารถในการกระตุ้นให้บุคลากรในองค์กรได้ใช้ศักยภาพที่ดี ทำงานให้เกิดผลสูงสุด สร้างพันธมิตรทั้งภายในและภายนอกองค์กร สื่อสารกับลูกค้าด้วยความรู้สึกที่ดีต่อกัน รวมทั้งเป็นผู้มีทักษะทางการบริหารการจัดการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานสูงสุด  ภายใต้ภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในลักษณะเช่นนี้  ผู้นำถือว่าเป็นบุคลากรหลักที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายได้ดี  ซึ่งมีคำถามว่าคุณลักษณะของผู้นำเช่นไรที่จะเหมาะกับสถานการณ์ในยุคของการเปลี่ยนปลงหรือการปฏิรูปนี้ เพื่อจะได้มีการเตรียมผู้บริหาร หรือสร้างผู้บริหารรุ่นใหม่ให้มีลักษณะเหมาะสมกับยุคปฏิรูป  ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

                จากการวิเคราะห์สถานการณ์และการแสวงหาคุณลักษณะที่เป็นสมรรถนะหลัก (Competency) ของผู้บริหาร มีข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงในด้านสมรรถนะหลัก 3 ด้าน คือ (http:www.opm.gov/ses/define.html) ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง (Leading Change) ศักยภาพในการเป็นผู้นำ (Leading People Driven) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Driven)

ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง

                ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง หมายถึง ความสามารถในการพัฒนาวิสัยทัศน์ที่เกิดจากการผสมผสานเป้าหมายสำคัญของชาติ โครงการ และกิจกรรมที่มีการจัดลำดับก่อนหลังตามค่านิยม และปัจจัยอื่น ๆ และนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ มีความสมดุลในการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงการให้บริการต่อลูกค้าตามลักษณะของงานในจุดเน้นที่ต้องการ ที่มีลักษณะกระชับ  มั่นคง  แม้ว่าจะต้องอยู่ในภาวการณ์เปลี่ยนแปลง

ปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้ คือ

1.  การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continual Learning)

มีความรู้ใหม่ที่สำคัญ ความรู้ทางเทคโนโลยี และความรู้ทั่วไปหรือความรู้รอบใหม่ ๆ

สามารถพัฒนาตนเอง โดยตระหนักถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของตนโดยใช้ข้อมูลสะท้อนกลับและโอกาสจากคนอื่น ๆ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่

2. มีความคิดสร้างสรรค์และใช้นวัตกรรม (Creativity and Innovation)

พัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ให้กับองค์กร และประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาและการปรับปรุงองค์กร สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยการออกแบบและการปรับเปลี่ยนโปรแกรม/กระบวนการใหม่ ๆ เพื่อนำไปใช้ในองค์กร

3. ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก (External Awareness)

ผลกระทบจากภายนอกได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ และแนวโน้มทางสังคม ทั้งในระดับนานาชาติและภายในชาติที่มีต่อองค์กร มีความเข้าใจในการวางแผนระยะใกล้และระยะไกล  และสามารถกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดผลสำเร็จ จนสามารถแข่งขันได้ในโลกธุรกิจปัจจุบัน

4. ความยืดหยุ่น (Flexibility)ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและข้อมูลใหม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิธีการทำงานตามข้อมูลใหม่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ หรืออุปสรรคที่ไม่คาดหวัง และเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว ให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ รวมทั้งเปลี่ยนความตั้งใจได้

5.   ปรับเปลี่ยนได้ (Resilience)อดทนต่อความกดดัน มีความมั่นคง และมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ รวมทั้งมองคนในแง่ดีแม้ว่าจะอยู่ภายใต้ภาวะความยากลำบาก และสามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็ว โดยรู้จักปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตส่วนตันและสามารถทำงานได้อย่างมีความสมดุล

6.  จูงใจใฝ่บริหาร (Service Maturation)สร้างและดำรงวัฒนธรรมขององค์กร สนับสนุนบุคคลอื่นได้ให้บริการที่จำเป็นอย่างมีคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ  ทำให้ผู้อื่นสามารถปฏิบัติตามได้ตามที่ต้องการที่แสดงถึงจิตวิญญาณในการบริการสาธารณะ  สามารถโน้มน้าวให้ผู้อื่นมีน้ำใจบริการ  และช่วยเหลือจนบรรลุภารกิจ

7. การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) กำหนดยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ  มั่นคงด้วยกลยุทธ์ของธุรกิจและการแข่งขันขององค์กรในยุคเศรษฐกิจของโลก  รู้จักตรวจสอบนโยบายและการรายงานแผนเชิงกลยุทธ์ ด้วยการมองในระยะยาวที่ชัดเจน กำหนดวัตถุประสงค์ได้ตามลำดับก่อนหลังสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ถึงภัยคุกคาม หรือโอกาสที่มี

8. วิสัยทัศน์ (Vision) มีวิสัยทัศน์ในระยะยาวและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างรวดเร็วสามารถสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกับผู้อื่น และโน้มน้าวให้ผู้อื่นแปลวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติ

           จากความหมายและปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นมีลักษณะสำคัญ (Key Characteristics) ดังนี้

                       (1)  ความสามารถในการเป็นผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ  และการจูงใจให้มีวิสัยทัศน์ในองค์องค์กร  การวางแผนกลยุทธ์ และปัจจัยต่าง ๆ ในการจัดการที่มีคุณภาพนำไปสู่กิจกรรมขององค์กรที่สมบูรณ์แบบ  สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ ๆ ชักจูงให้คนอื่นมีน้ำใจบริการ   กำหนดให้มีและใช้โปรแกรม/กระบวนการใหม่ ๆ หรือปรับปรุงขึ้นใหม่

                       (2)  การกำหนดและการผสมผสานลักษณะสำคัญที่มีผลกระทบต่อองค์กร รวมถึงองค์ประกอบทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และการจัดการ

                       (3)  มีความเข้าใจในบทบาท และความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของการกำหนดนโยบายของชาติ และกระบวนการนำไปสู่การปฏิบัติ รวมถึงผู้บริหารระดับสูง ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี วุฒิสภา ผู้พิพากษา องค์การของรัฐในส่วนกลาง  ส่วนท้องถิ่น  และความสนใจของกลุ่ม มากำหนดยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ  เพื่อสร้างความสมดุลในสิ่งดังกล่าวข้างต้น

                       (4)  เปิดกว้างในการยอมรับการเปลี่ยนแปลงและเทคโนโลยีใหม่ ๆ สามารถปรับพฤติกรรมและวิธีการทำงานตามข้อมูลใหม่  หรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง หรืออุปสรรคที่ไม่ได้คาดหวัง  และปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

                       (5)  แสดงถึงการมีความคิดริเริ่มสูง มีความพยายามและมีข้อผูกพันในการให้บริการสาธารณะ อยู่ในแนวหน้าและมุ่งมั่นไปสู่ความสำเร็จ ตรวจสอบผลสะท้อนกลับจากคนอื่น และแสวงหาโอกาสเพื่อให้ได้รับความรู้ใหม่ ๆ

 ศักยภาพในการเป็นผู้นำ

                ศักยภาพในการเป็นผู้นำ หมายถึง  ความสามารถในการกำหนดและมียุทธศาสตร์เพื่อใช้ศักยภาพของพนังงานและส่งเสริมมาตรฐานทางจริยธรรมให้ตรงกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ภารกิจ และเป้าหมาย

                ปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดศักยภาพในการเป็นผู้นำมีดังนี้ คือ

1. การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management) กำหนดและป้องกันสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ไม่ให้เกิดการเผชิญหน้า  จัดการและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและไม่เห็นพ้องด้วย  ในลักษณะการสร้างสรรค์  และการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในทางลบ

2. ตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural Awareness) ริเริ่มและบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กรให้มีผลต่อประสิทธิภาพขององค์กร  เห็นคุณค่าในความแตกต่างทางวัฒนธรรม  และความแตกต่างระหว่างบุคคลในสถานที่ทำงาน  ตระหนักว่าองค์กรเกิดขึ้นบนความแตกต่าง  และพนักงานได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องและยุติธรรม

3. ความจงรักภักดี / ความซื่อสัตย์ (Integrity/ Honesty) สร้างนิสัยให้มีความมั่นใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน  สร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมมาตรฐานทางศีลธรรมในระดับสูง ปฏิบัติตนในลักษณะที่ดีงามและมีมารยาทที่ดีต่อบุคคลอื่น  แสดงถึงลักษณะในความรับผิดชอบในหมู่คณะ และมีจิตใจที่เป็นสาธารณะ

 4. สร้างทีมงาน (Team Building) มีความมุ่งหวัง จูงใจ และแนะนำบุคคลอื่นให้บรรลุเป้าหมาย เสริมสร้างความร่วมมือในการทำงาน  และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในองค์กรและกับกลุ่มลูกค้า  ให้มีความผูกพันเพื่อสร้างน้ำใจของการทำงานเป็นทีม มีความภูมิใจไว้วางใจกัน พัฒนาความเป็นผู้นำในลักษณะต่าง ๆ จากการรับการชี้แนะ การให้คำปรึกษา การให้รางวัล และการแนะนำให้ปฏิบัติ

                       จากความหมายและปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ศักยภาพในการเป็นผู้นำ มีลักษณะสำคัญดังนี้

                       (1)  สร้างภาวะผู้นำจากการกำหนดระดับพฤติกรรมที่คาดหวัง  จากการทำงานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางกลยุทธ์ขององค์กร  มีความมุ่งหวัง  การจูงใจ  และแนะแนวให้กับผู้อื่นจนบรรลุเป้าหมาย  และเป็นผู้มีอำนาจ โดยการใช้พลังและอำนาจรวมกัน

                       (2)  ส่งเสริมคุณภาพผ่านทางการใช้ระบบการจัดการขององค์กรที่มีคุณภาพ (เช่น การกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน ประเมินความสำเร็จของทีมงานจากการพัฒนาเกณฑ์ นำระบบรางวัลมาใช้ การแนะแนว และการให้ออกจากงานตามความเหมาะสม)

                       (3)  เห็นคุณค่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความแตกต่างด้านอื่น ๆ ส่งเสริมการปรับปรุงสภาพแวดล้อม  ให้พนังงานที่มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม  สามารถทำงานร่วมกันได้ดีและมีประสิทธิภาพ  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

                       (4)  ประเมินผลการพัฒนาของพนักงาน  และให้โอกาสการพัฒนาที่ส่งเสริมความสามารถของพนักงานสูงสุด  และการช่วยเหลือให้บรรลุเป้าหมายทางองค์กร  พัฒนาภาวะผู้นำอื่น ๆ  โดยวิธีการชี้แนะ มีการประเมินผลและติดตามผล

                       (5)  สนับสนุนการให้คำมานสัญญา  น้ำใจของทีม  ความภูมิใจ  ความไว้วางใจ  และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในกลุ่ม  และใช้วิธีการต่าง ๆ ในการป้องกันสถานการณ์ที่จะก่อให้เกิดผลการเผชิญหน้าที่ไม่พึงประสงค์ใด ๆ

                       (6)  แก้ไขความขัดแย้งในทางบวกและสร้างสรรค์  ซึ่งรวมถึงความเป็นหุ้นส่วนกัน  ระหว่างพนักงานกับฝ่ายบริหาร  และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงาน  เข้าร่วมกิจกรรมการสร้างเสริมคุณธรรมและการสร้างบรรยากาศที่ดีขององค์กร  การมอบหมายให้ปฏิบัติที่เป็นธรรม   การบริหารพนักงาน  และพัฒนาองค์กรการบริหาร รวมทั้งการใช้วินัยเข้าควบคุมเมื่อวิธีการอื่น ๆ ไม่มีผล

 มุ่งไปสู่ผลลัพธ์

                มุ่งไปสู่ผลลัพธ์  หมายถึง  ความสามารถที่มุ่งมั่นในความรับผิดชอบและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง  เพื่อช่วยให้มีการตัดสินใจได้ตามเวลาและมีประสิทธิภาพให้ได้ผลลัพธ์ผ่านทางการวางแผนเชิงกลยุทธ์  และการนำไปใช้ รวมทั้งการประเมินผลโครงการและนโยบาย

                ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มุ่งไปสู่ผลลัพธ์มีดังนี้

1. ความรับผิดชอบ (Accountability) มั่นใจว่ามีการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ  และดำรงอยู่ด้วยความจงรักภักดีต่อองค์กร  ยึดมั่นในกฎเกณฑ์และความรับผิดชอบ  สามารสร้างความมั่นใจได้ว่า  โครงการภายใต้ความรับผิดชอบจะสำเร็จตามเวลาและงบประมาณที่กำหนด  มีการกำกับติดตามและประเมินผลแผนงาน  โดยเน้นที่ผลลัพธ์และวัดผลที่ผลสัมฤทธิ์

2.  การให้บริการลูกค้า (Customer Service) สนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน  พร้อมที่จะปรับปรุง  การจัดลำดับก่อนหลังเพื่อสนองตอบต่อแรงกดดันและการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้า  สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า และสนองความต้องการลูกค้า  ช่วยให้เกิดผลสำเร็จ  ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ  และถือว่าเป็นสิ่งผูกพันที่จะต้องปรับปรุงการให้บริการอย่างต่อเนื่อง

3. การตัดสินใจ (Decisiveness) มีการตัดสินใจที่ดี  รับรู้ผลกระทบและการนำเอาผลการตัดสินใจไปใช้  มีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพและทันเวลา  แม้ว่าข้อมูลจะมีจำกัด  หรือผลที่ได้รับอาจไม่พึงพอใจขึ้นก็ตาม  เป็นการวางแผนดำเนินการและสร้างผลสำเร็จให้เกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า

4. ความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) รู้จักใช้โอกาสในการพัฒนาการตลาด  จากผลผลิตใหม่  และการให้บริการทั้งภายในและภายนอกองค์กร  ตัดสินใจที่จะเสี่ยง และริเริ่มการทำงานที่เสี่ยงเพื่อผลสำเร็จ  ซึ่งมีคุณประโยชน์  หรือเกิดความก้าวหน้า

5. การแก้ไขปัญหา (Problem Solving)

    กำหนดและวิเคราะห์ปัญหา  แยกความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่สอดคล้องกันและแตกต่างกัน เพื่อการตัดสินใจที่เป็นเหตุเป็นผล  ให้วิธีการแก้ไขปัญหาแก่บุคคลและองค์กร

6. มีเทคนิคที่เชื่อถือได้ (Technical Credibility)

     มีความเข้าใจและรู้จักประยุกต์ใช้วิธีการที่เหมาะสม  กำหนดกฎเกณฑ์และนโยบายที่สัมพันธ์กับที่ผู้เชี่ยวชาญกำหนด  มีความสามารถใช้การตัดสินใจที่สำคัญ  การให้การฝึกอบรมการพัฒนาตามความต้องการ  มีความเข้าใจในการเชื่อมโยงระหว่างสมรรถภาพทางการบริหารและภารกิจที่ต้องการ

      รองศาสตราจารย์เทื้อน  ทองแก้ว

http://dusithost.dusit.ac.th/~ei/tuan/file21122005045.doc

หมายเลขบันทึก: 446336เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2011 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ที่แบ่งปันครับ


เป็นความรู้ที่บริหารควรนำไปใช้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท