เทคนิคการลดปริมาณรังสีในการตรวจซีที : โปรแกรมปรับค่า mA อัตโนมัติ


Automatic Current Selection เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อปรับเปลี่ยนค่าของ mA ให้เปลี่ยนแปลงตามขนาดของอวัยวะที่ต้องการตรวจ

สวัสดีครับ

วันนี้ของนำเสนอโปรแกรมพิเศษที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยลดปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจ โปรแกรมนี้เรียกว่า Automatic Current Selection : ACS

 

ในเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ รุ่นเก่าใช้หลักการของการ Fix kV และ mA ขณะตรวจ ทำให้ปริมาณรังสีที่เกิดขึ้นจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ มีปริมาณที่สูง เพราะใช้ kV และ mA สูง

 

ดังนั้นในเครื่องรุ่นใหม่ จึงได้พยายามสร้างเทคนิคหรือโปรแกรมพิเศษขึ้นมา เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนี้

 

 

 

หลักการทำงาน คือ เครื่องจะมีอุปกรณ์ควบคุมเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนค่าของ mA ให้สอดคล้องกับขนาดหรือความหนาของอวัยวะที่ผ่านระหว่างหลอดเอกซเรย์กับอุปกรณ์รับรังสี 

 

 

 

 

ปริมาณรังสีที่ออกมา จะลดลง เมื่อผ่านอวัยวะที่มีขนาดบางๆ และ ปริมาณรังสีจะเพิ่มขึ้น เมื่อผ่านอวัยวะที่มีขนาดหนา 

 

 

 

 

สังเกตมุมซ้ายของภาพ จะเห็นค่า mA ที่เปลี่ยนตามความหนาของร่างกาย เช่น บริเวณหัวไหล่ มีความหนามาก ค่า mA จึงสูงมาก  

 

 

 

ส่วนอื่นๆของร่างกาย mA จะเปลี่ยน ตามความหนาของอวัยวะนั้นๆ

 

 

 

 

ดังนั้น ตลอดการตรวจ เมื่อ mA ลดลง ผลรวมของปริมาณรังสีที่เกิดขึ้นจากการตรวจ ก็ลดลงตามไปด้วย  

 

 

ข้อคิด : Exposure factors ที่เกี่ยวข้องกับ kV และ mA เป็นสิ่งที่รังสีเทคนิค สามารถควบคุมได้ ดังนั้นความเสี่ยงภัยจากรังสีของผู้รับบริการจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของท่าน 

 

การแสดงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีจรรยาบรรณ ต่อวิชาชีพ ต่อสังคม เป็นส่วนหนึ่งของรังสีเทคนิค

 

หมายเลขบันทึก: 446209เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2011 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2014 10:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • มาชื่นชม กับ อ.ต้อม ที่ถ่ายทอด ความรู้ อย่างต่อเนื่อง และ
  • ขอบพระคุณ สำหรับความช่วยเหลือ ให้เราได้ พัฒนาวิชาชีพ รังสีเทคนิค ครับ

เรียน อ.จิตเจริญ ที่เคารพ

อาจารย์เป็นหนึ่งในผู้ที่ถ่ายทอดวิทยายุทธ์เหล่านี้ให้กับผม

เลียนแบบอย่างครู ไงครับ

ผมดีใจที่ได้รับโอกาสดีๆจากอาจารย์ ครับ

เรียน อ.ต้อม ..มาให้ดอกไม้ ให้กำลังใจอาจารย์ที่นำความรู้มาให้ได้ทบทวน และเรียนรู้เทคนิคต่างๆ ...ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่กำลังจะเลือนหายไปกับกาลเวลาของ รพ.ชุมชนที่มีแต่ General ยังคิดถึงอาจารย์ทุกท่านเสมอค่ะ

เรียน อ.ต้อม ที่เคารพ..ประชุมวิชาการรังสีเทคนิค ได้วันแน่นอนหรือยังคะ เห็นบอกว่าเป็นช่วงต้นสิงหาคม พยายามอย่าให้ตรงกับประชุม HA(Northeast Regional HA Forum ครั้งที่ 8 : ความงามในการเรียนรู้ สร้างสรรค์สู่โรงพยาบาลคุณภาพ ประจำปี 2554)  วันที่ 9 - 11 สิงหาคม 2554 ณ โรงแรมพลูแมน ราชา ออคิด นะคะ

เรียน อันธิกา และ คุณฐิตินันท์

กำลังรวบรวมกับคุณพรชัย เกี่ยวกับความรู้ในการถ่ายภาพรังสีทั่วไป ท่าพิเศษอยู่ ครับ

โปรดอดใจรอ

สำหรับการประชุมวิชารังสีเทคนิค มข. เกี่ยวกับ การเขียนและทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย กำหนดไว้ 3-5 สิงหาคม 54

ตอนนี้ยังไม่มีกำหนดเปลี่ยนแปลง

แต่หนังสือเชิญเข้าร่วม กำลังดำเนินการ หากออกไม่ทัน อาจเปลี่ยนแปลงวันประชุมใหม่ ครับ

ขอขอบพระคุณ อ. ต้อมมากๆนะคะที่ให้ความรู้ใหม่ๆซึ่งบางเรื่องบางตอนก็ทำให้ฉุกคิดได้ ว่าจะปิ้งแว๊บกับงานของตัวเองยังไงค่ะ

เรียน คุณรัตนาภรณ์

ต่อยอด แตกความรู้ มองตน มองงาน คิดได้ ได้คิด เพื่อการพัฒนา

ขอให้สนุกกับการคิด และ พบกับเรื่องที่สามารถพัฒนาต่อไปได้นะครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท