สรุปงานวิจัยผลต่อการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา


สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย

โดยนายบุญช่วย  ศรีคำเวียง  ครู โรงเรียนสวนป่าเขาชะอางค์ ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี

ชื่อเรื่อง       : ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาของครูเกียรติยศ

ในประเทศไทย

Causal Facter Effecting Toward AdoptionEducational Innovation and Technology

of Teacher Awards in Thailand

ผู้เขียน         : สาโรช โศภีรักข์*Saroch Sopeerak

ประเภทวิทยานิพนธ์   

ความสำคัญของปัญหา

                เป้าหมายของการจัดการศึกษาก็คือ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามจุดหมายที่ตั้งไว้ สิ่งหนึ่งที่

ช่วยให้การเรียนการสอน บรรลุเป้าหมายนั้นแต่เดิมเรียกว่า “โสตทัศนศึกษา”ซึ่งหมายถึงเครื่องมือ

ต่างๆ เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์ และโทรทัศน์ เป็นต้น

แต่ปัจจุบันแนวคิดในการจัดสภาพการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงไป ในขณะเดียวกันปัญหาทาง

การศึกษาก็มีมากขึ้นตลอดเวลา และนับวันจะทวีมากขึ้น ทั้งนี้เพราะทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหา

การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว ความรู้และประดิษฐ์กรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงจนมนุษย์ปรับตัวไม่ทัน การจัดการการศึกษาโดยใช้

ระบบการวิธีการอย่างเดิมไม่ได้ผลเท่าที่ควร (พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ, 2521: 23) จำเป็นต้องคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราเรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) นวัตกรรมเป็นจุดก่อตัวของเทคโนโลยีนวัตกรรมและเทคโนโลยี หากมีความเกี่ยวข้องทางการศึกษาก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

วัตถุประสงค์

                1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยคุณลักษณะส่วนตัว คุณลักษณะของ

องค์การ พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร ความรู้และแรงจูงใจเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

กับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งวัดในรูปของปริมาณของการยอมรับความคงทน

ในการยอมรับและความไวในการยอมรับของครูเกียรติยศ โดยใช้กรอบความคิดตามทฤษฎีการ

ยอมรับนวัตกรรม ทฤษฎีการติดต่อสื่อสาร ทฤษฎีทัศนคติและการจูงใจ และทฤษฎีองค์การ

                2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี

การศึกษาของครูเกียรติยศ ว่ามีกระบวนการตัดสินใจยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

อย่างไร โดยทำการศึกษาเป็นรายกรณี ตามวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ

 

ขอบเขตในการวิจัย

                ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูเกียรติยศ ( Teacher Award) ในปี 2545 ที่สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ทั่วประเทศไทยจำนวน 2800 คน ประชากรที่เป็นกรอบในการสุ่มตัวอย่างครั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่า ไม่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างในผลของการวิจัยนี้เพราะครูแห่งชาติทั้ง 2800 คน เป็นผู้ที่ได้ผ่านการประเมินมาเป็นอย่างดี ประชากรในการวิจัยและประชากรที่ใช้เป็นกรอบในการเลือกกลุ่มตัวอย่างมีคุณลักษณะต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน ข้อดีอีกประการหนึ่งคือครูทุกคนอยู่ในองค์การเดียวกัน ทุกคนได้รับข่าวสารข้อมูลที่เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาพร้อม ๆ กันและเหมือนกันจากที่เดียวกัน ทำให้การวิจัยควบคุมความแตกต่างในเรื่องเวลาที่สัมผัสนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาได้เป็นอย่างดี

เครื่องมือในการวิจัย

                เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีดังต่อไปนี้

 1. แบบสอบถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณ แบ่งเป็น 8 ตอน คือ

                ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับภูมิหลังของผู้ตอบ ได้แก่ เพศ วุฒิ ประสบการณ์การทำงาน

สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นแบบสอบถามชนิดเลือกตอบ

                ตอนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับลักษณะขององค์การ ได้แก่ ประเภท ขนาด นโยบาย การ

บริหาร การสนับสนุนและการส่งเสริม เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า

                ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสาร ได้แก่ การเปิดรับสื่อมวลชน การ

เปิดรับสื่อบุคคล การเปิดรับสื่อทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา เป็นแบบสอบถามชนิด

มาตราส่วนประมาณค่า

                ตอนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

เป็นแบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับและเทคโนโลยีการศึกษา

                ตอนที่ 5 แบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

เป็นแบบสอบถามเปิดมาตราส่วนประมาณค่า

                ตอนที่ 6 แบบสอบถามเกี่ยวกับการจูงใจ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า

                ตอนที่ 7 แบบสอบถามเกี่ยวกับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่

ความไว ปริมาณ และความคงทนในการใช้ เป็นแบบสอบถามชนิดให้ผู้ตอบเลือกตอบโดยกาเครื่องหมาย

ในช่องที่ต้องการ

                ตอนที่ 8 เป็นแบบสอบถามเพื่อแบ่งกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

แบบสอบถามนี้เป็นการให้ผู้ตอบเลือกคุณลักษณะของตนเองจากคำคุณศัพท์ที่กำหนดให้ 57 คำ

2. แบบสัมภาษณ์สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ

 

แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างโดยมีขอบข่ายดังนี้ คือ

                1. พฤติกรรมก่อนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาและพฤติกรรมในขั้น

ความรู้ เช่น ตามสภาพเดิมก่อนรู้จักนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา พื้นฐานความรู้เดิมก่อน

รู้จักนวัตกรรมและเทคโนโลยี ความรู้ความเข้าใจที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อได้สัมผัสนวัตกรรมและ

เทคโนโลยีการศึกษา

                2. พฤติกรรมในขั้นการจูงใจ เช่น พฤติกรรมในการแสวงหาข้อมูล เหตุผลในการเข้า

มาสัมผัสนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา การรับรู้คุณลักษณะของนวัตกรรม

                3. พฤติกรรมในการตัดสินใจ เช่น ช่วงระยะเวลาในการยอมรับ ปริมาณกายอมรับ

                4. พฤติกรรมในการนำไปใช้ เช่น แหล่งนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาที่ได้

วิธีการใช้นวัตกรรม มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหรือไม่ กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานหรือไม่

                5. พฤติกรรมในขั้นการยืนยัน เช่น การแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม การคงทน การใช้

หรือไม่ใช้ การส่งเสริมสนับสนุนหรือเผยแพร่ต่อ

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ มีขั้นตอนดังนี้

                ในขั้นตอนที่ 1 ผู้วิจัยศึกษาเนื้อหาจากทฤษฎีต่าง ๆ ดังกล่าวในบทที่ 2 และศึกษาหา

วิธีการสร้างแบบสอบถาม

                ขั้นตอนที่ 2 ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถาม

                ขั้นตอนที่ 3 นำแบบสอบถามไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการยอมรับ ด้านนวัตกรรมและ

เทคโนโลยีการศึกษา ด้านการวัดและประเมินผล ตรวจแก้ไข แล้วปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ

                ขั้นตอนที่ 4 นำแบบสอบถามในส่วนที่เป็นแบบทดสอบที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองกับ

นักศึกษาปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีการศึกษาจำนวน 60 คนเพื่อหาค่าความเชื่อมั่น ผลปรากฏได้

ว่าค่าความเชื่อมั่น

                ขั้นตอนที่ 5 ตรวจปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง

การเก็บรวบรวมข้อมูล

                ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

เพื่อใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม การดำเนินการรวบรวมข้อมูล โดยหารายชื่อและ

ที่อยู่ของครูเกียรติยศทั้งหมดมาได้จำนวน 2800 คนแล้วสุ่มแบบง่ายโดยวิธีจับฉลากแล้วส่ง

แบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างทางไปรษณีย์ แล้วเว้นระยะ 3 สัปดาห์ ผู้วิจัยจะส่งจดหมายหรือ

แบบสอบถามทวงถามอีกครั้งหนึ่ง เมื่อรวบรวมแบบสอบถามคืนมาแล้ว ผู้วิจัยคัดเลือกเอาเฉพาะ

แบบสอบถามที่สมบูรณ์ได้ 1243 ฉบับ เพื่อใช้วิเคราะห์ทางสถิติต่อไปการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมมนา โฟกัสกรุ๊ฟ สัมภาษณ์ ครูที่เลือกมาเป็นตัวแทนครูเกียรติยศ โดยการดำเนินการทำหนังสือและโทรศัพท์นัดหมายผู้ครูเกียรติยศในจังหวัดต่างๆและไปทำการสัมภาษณ์ และจัดสัมมนาโฟกัสกรุ๊ฟโดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการเอง ทั้งนี้ผู้วิจัยได้สุ่มเลือกครูเกียรติยศในภาคต่างๆมาทั้งสิ้น 60 คน โดยดำเนินการจัดสัมมนาโฟกัสกรุ๊ฟในภาคต่างๆดังนี้

                ภาคกลางที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                ภาคใต้ที่จังหวัดสุราาฎร์ธานีและจังหวัดพังงา

                ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่

                ภาคอีสานที่จังหวัดนครราชสีมา

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลไว้ดังนี้

                1. การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้นเป็นการคำนวณค่าสถิติเบื้องต้นของตัวแปรแต่ละตัว

เช่น ค่าร้อยละ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดค่ากระจายค่าวัดความเบ้ (skewness) และ

ค่าวัดความสูงต่ำ (kurtosis) เพื่อศึกษาลักษณะการแจกแจงความถี่ของตัวแปร

                2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อต้องการ

ทราบว่า ครูเกียรติยศที่มีลักษณะตัวแปรดด้านบุคคลแตกต่างกันจะมีสภาพการยอมรับนวัตกรรม

และเทคโนโลยีการศึกษาต่างกันมากน้อยเพียงใด วิธีวิเคราะห์ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน

ทางเดียว (one way ANOVA)

                3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านบุคคลกับการยอมรับนวัตกรรมและ

เทคโนโลยีการศึกษา เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างตัวแปรต้นกับคุณลักษณะองค์การ

กับการยอมรับ ตัวแปรต้นด้วยกัน และระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม วิธีการวิเคราะห์ใช้

วิธีการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (a Pearson Product Moment

Correlation Coefficient)

                4. การวิเคราะห์ถดถอย เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามใช้วิธี

สหสัมพันธ์ถดถอย (Regression Analysis)

                5. การวิเคราะห์อิทธิพล ใช้วิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เส้นทาง ( Path Analysis)

                6. การเขียนบรรยาย case study เปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจยอมรับนวัตกรรมและ

เทคโนโลยีการศึกษาของครูเกียรติยศที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี

การศึกษาทั้ง 5 ประเภท คือ กลุ่มนวัตกร กลุ่มผู้ยอมรับนวัตกรรมในระยะต้น กลุ่มคนส่วนใหญ่ที่

ยอมรับนวัตกรรมในระยะหลัง พวกล้าหลัง เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าพฤติกรรมการยอมรับทั้ง 5 ขั้นตอน

แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร และมีปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความนิยมนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

แตกต่างกันอย่างไร

 

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                1. ประโยชน์ทางด้านวิชาการ

                1.1 เป็นงานวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาที่ศึกษากระบวนการของการยอมรับ

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา โดยใช้ทฤษฎีการยอมรับนวัตกรรมของโรเจอร์

                1.2 เป็นการบูรณาการทฤษฎีเกี่ยวกับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

ให้ได้เป็นกรอบความคิด โดยใช้แนวคิดจากหลายสาขาเพื่อให้เหมาะสมกับหลักปรัชญาการศึกษา

ที่ว่าการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของมนุษย์ต้องอาศัยศาสตร์หลาย ๆ ด้านด้วยกัน

                1.3 เป็นการนำการวิเคราะห์ทั้ง สองแบบมาใช้ประโยชน์ในการวิจัย โดยใช้วิธีการ

วิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ตอบคำถามการวิจัยให้ชัดเจน

                2. ประโยชน์ในทางปฏิบัติ

                2.1 ในด้านสาขาเทคโนโลยีการศึกษา ก็ได้ทราบปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกับการยอมรับ

ของบุคลากรในสาขาอื่น ๆ ต่องานทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อที่จะได้ปรับปรุงงานทางด้าน

เทคโนโลยีการศึกษา เช่น หลักสูตรที่ผลิตนักเทคโนโลยีการศึกษา การบริหารและการเผยแพร่งาน

ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อให้บุคลกรในสาขาอื่น ๆ ยอมรับมากขึ้น

                2.2 หน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านการจัดการศึกษาโดยตรงเช่นกระทรวงศึกษาธิการ

สามารถนำเอาผลการวิจัยครั้งนี้ไปเป็นแนวทางในการคัดเลือกบุคลากรที่จะปฏิบัติงานทางด้าน

การศึกษาต่อไป

                2.3 ตัวครูเกียรติยศและผู้บังคับบัญชาเองจะได้ทราบปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการ

ยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะได้ปรับปรุงงานการเรียนการสอนให้

มีประสิทธิภาพต่อไป

สำหรับผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏดังนี้

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยภูมิ

หลัง ลักษณะขององค์การ พฤติกรรมการติดต่อสื่อสาร ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี

การศึกษา คุณลักษณะทางจิตวิทยา (ทัศนคติและแรงจูงใจ) โดยวัดในรูปของปริมาณของการยอมรับ

ความคงทนและความไวในการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาของครูเกียรติยศใน

ประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 2800 คน กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วย

ครูเกียรติยศในประเทศไทยจำนวน 1243 คน สุ่มเลือกมาโดยวิธีสุ่มแบบง่าย ส่วนกลุ่มตัวอย่างใน

การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเจาะจงมา 50 คน จากครูเกียรติยศที่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ตอบ

แบบสอบถามมาแล้ว โดยใช้คำคุณศัพท์ จำนวน 57 คำ ของโรเจอร์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดย

ใช้แบบสอบถาม ในการวิจัยเชิงปริมาณและใช้วิธีสนทนาเชิงสัมภาษณ์และโฟกัสกรุ๊ฟในการวิจัย

เชิงคุณภาพ ผลการรวบรวมข้อมูลเมื่อนำแบบสอบถามที่คืนมาตรวจสอบแล้วได้แบบสอบถามที่

สมบูรณ์นำมาวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน 1243 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 86.85

การวิเคราะห์ข้อมูล

                การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ โดยการคำนวณค่าร้อยละ การวัด

แนวโน้มสู่ส่วนกลาง การวัดค่ากระจาย ค่าวัดความเบ้ ค่าวัดความสูงต่ำ การวัดระดับความนิยม

นวัตกรรม การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ถดถอย การวิเคราะห์อิทธิพลและการวิเคราะห์

อำนาจจำแนก

 

 

คำสำคัญ (Tags): #สรุปงานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 445837เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2011 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท