ประสบการณ์ เกี่ยวกับจิตวิทยา


พัฒนามนุษย์

                    ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้ด้อยโอกาส (สทอ.) ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณบ้านราชวิถี ที่เราได้นั่งทำงานอยู่ประจำ ได้เปิดโอกาสให้คนไร้รากเหง้าที่มีถิ่นที่อยู่ในกรุงเทพฯ ได้เข้ามาลงทะเบียน เพื่อขอมีเลขประจำตัว ๑๓ หลัก ซึ่งถ้าเราเป็นคนไทยทุกคนต้องมีเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลักทุกคน เพื่อใช้รับรองสิทธิและบริการสวัสดิการต่างๆ ที่รัฐจัดให้ วันนั้นมีหญิง-ชายคู่หนึ่งอายุประมาณ  ๒๕ ปี ได้มารอสัมภาษณ์ (คนที่ไม่มีบัตร คือผู้หญิง ส่วนผู้ชายมีบัตรแล้ว) เพื่อลงในแบบสอบถามที่เจ้าหน้าที่ได้จัดเตรียมไว้ ดิฉันก็ได้เข้าไปพูดคุยและยิ้มให้อย่างเป็นกันเอง เขาบอกเขากลัวที่จะต้องตอบคำถามกลัวตอบไม่ถูก เพราะเขาบอกว่าเคยไปพบเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานเขตฯ มาบ้างแล้ว แต่เขารู้สึกไม่ดีกับท่าทางของเจ้าหน้าที่ วันนี้เขาก็ยังตื่นเต้น และกลัวๆ (ดิฉันสังเกตได้จากอาการที่เห็น) ดิฉันก็ได้ให้กำลังใจเขาไปและบอกว่า"ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องประหม่า เจ้าหน้าที่เขาถามอะไรก็ตอบไปตามความจริง" เขาบอกว่าเจ้าหน้าที่ที่นี่พูดเป็นกันเองกับเขาดี ทำให้รู้สึกสบายใจ

                  การเป็นกันเองของเจ้าหน้าที่กับผู้มาติดต่อราชการก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่มาติดต่อรู้สึกดีกับหน่วยงานได้ ยิ่งถ้าให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์หรือให้กำลังใจที่ดีต่อกันจะทำให้เขามีเจตคติที่ดีต่อไปในอนาคต  

คำสำคัญ (Tags): #จิตวิทยา
หมายเลขบันทึก: 445766เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2011 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท