เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคต


เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
 

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคต

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลกยุคโลกาภิวัฒน์หรือโลกไร้พรมแดนที่เน้นถึงความเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับการพัฒนาที่ยั่งยืนและสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในเศรษฐกิจโลกยุคปัจจุบัน

แต่ในอนาคต รัฐบาลควรน่าที่จะกระจายระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมให้ทั่วประเทศ โดยวางเป้าหมายขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศไปตามตำบล หมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัด เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเติบโตของความต้องการข้อมูลข่าวสารทั่วไป และเชิงพาณิชย์ อาทิเช่น การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมอร์ซ (E-Commerce) ทั้งนี้ เพื่อสร้างความสมดุลย์ในสังคม (Social Balance)

การสื่อสารและโทรคมนาคม ด้านการแข่งขันธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคมในประเทศ หลังเศรษฐกิจยุคฟองสบู่แตก เมื่อปี 2540 และการปฏิรูปทางการเมือง ที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองในยุคประชาธิปไตยเต็มใบ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนคนไทย มีส่วนร่วมในการจัดทำมากที่สุด และถือว่าเป็น "นวัตกรรมทางการเมือง" ที่ส่งผลให้ภาครัฐได้สร้างนวัตกรรมโทรคมนาคม นั่นคือ มาตรา 40 และมาตรา 335(2) เพื่อปลดแอกระบบการผูกขาด (Monopoly) และเปิดเสรีด้านสื่อสารและโทรคมนาคม

รัฐบาลควรจะวางแผนระยะยาวในการวางเป้าหมาย โดยการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาบริหารพัฒนาระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมใช้ให้เป็นระบบเดียวกันทั้งในประเทศและภาคพื้นเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม อาทิเช่น ระบบมือถือ ทั้งระบบ 800 900 1800 1900 และอย่างกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา เขาก็ใช้ระบบมือถือ 800 ระบบเดียวกันทั่วประเทศ บริษัทเอกชนที่ผลิตก็สามารถอยู่ได้ เพราะลงทุนครั้งเดียวแต่คุ้มการลงทุน ผลิตเชิงปริมาณแต่จำหน่ายได้ทั้งประเทศ เมื่อคุ้มทุนก็สามารถพัฒนาสินค้าให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและผลประโยชน์จะตกอยู่ที่ประชาชน เพราะได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพ ราคาไม่แพง เ นื่องจากผู้ผลิตจำหน่ายสินค้าได้ทั่วภาคพื้น

การใช้เทคโนโลยีระบบเดียวกันในอนาคต ก็จะเป็นการเอื้ออำนวยต่อการสื่อสารและโทรคมนาคมในภาคพื้นเดียวกัน สำหรับการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการผ่องถ่ายข้อมูลข่าวสาร และสร้างความยั่งยืนต่อผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมีความสะดวกสบายในการสื่อสารด้วยระบบเดียวกันทั่วทุกหนทุกแห่งอย่างกว้างไกลและยั่งยืน

ในขณะเดียวกัน ภาครัฐบาลควรจะสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการริเริ่มการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาการสื่อสารและโทรคมนาคมอย่างจริงจังในอนาคต ผลดีที่ตามมา คือ ช่วยให้ประเทศประหยัดเงินที่จะต้องซื้อวัสดุอุปกรณ์ใหม่จากต่างประเทศ และต้องจ่ายค่าความรู้ทางเทคนิคต่าง ๆ ให้ต่างชาติ เช่น ค่าธรรมเนียมลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ค่าเครื่องหมายการค้า คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 20,000 ล้านบาทต่อปี

หากเทียบสัดส่วนนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยอยู่ระดับต่ำมาก คิดเป็นอัตราส่วน นักวิจัย 2 คนต่อประชากร 10,000 คน เทียบกับมาเลเซียที่มีจำนวนนักวิจัย 6 คน ต่อประชากร 10,000 คน เกาหลีใต้อัตราส่วน 27 คนต่อประชากร 10,000 คน สิงคโปร์ 34 คน ต่อประชากร 10,000 คน และไต้หวัน 55 คนต่อประชากร 10,000 คน

เมื่อเทียบระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศแล้ว สัดส่วนนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก ดังนั้น ควรสนับสนุนให้มีนักวิจัยเพิ่มและเน้นพัฒนาการวิจัยระบบโครงข่าย โปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อมาถ่ายทอดและนำเสนอต่อสังคม

การสื่อสารและโทรคมนาคม เป้าหมายในระยะสั้น ก็คืออีก 5 ปีข้างหน้า ควรจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายทางด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทางสื่อสารและโทรคมนาคม ที่เป็นดาวรุ่งของแต่ละประเภท ในอัตราเฉลี่ย ร้อยละ 0.5 เพิ่มจากสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 0.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)ในแต่ละปี เทียบกับอัตราส่วนเฉลี่ยดังกล่าวของมาเลเซีย ร้อยละ 0.8 สิงคโปร์ สัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 1 ไต้หวัน ร้อยละ 1.4 และเกาหลีใต้ร้อยละ 2 ส่วนประเทศอุตสาหกรรม สัดส่วนการใช้จ่ายประมาณร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

เป้าหมายในอนาคตก็ควรวางเป้าหมายการผลิตและพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในประเทศ ซึ่งควรกำหนดสัดส่วนเพิ่มร้อยละ 70 ที่เหลือร้อยละ 30 ที่ซื้อจากต่างประเทศ และทิศทางอนาคตวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิต ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ควรใช้เทคโนโลยีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความสมดุลย์ในสังคม

ในอนาคต 5 -10 ปีข้างหน้า รัฐบาลควรร่วมมือกับภาคเอกชนวางแผนกระจายระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมทั่วประเทศเพื่อสร้างความสมดุลย์ในสังคม (Social Balance) โดยมีการขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเติบโตของความต้องการข้อมูลข่าวสารทั่วไป และเชิงพาณิชย์ อาทิ การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce) ในปี 2543 ยอดขายด้านอี-คอมเมิร์ซจะสูงขึ้น ประมาณ 50,920 ล้านบาท และอีก 5 ปีข้างหน้าอี-คอมเมิร์ซจะเติบโตขึ้น ประมาณ 40 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้ ทิศทางอนาคตเทคโนโลยีไร้สายมาแรงมาก อาทิเช่น ระบบแว็ป หรือ Wireless Application Protocal (WAP) ก็คือระบบโทรศัพท์เคลื่อนแบบเดิมที่ติดต่อเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาติดตัว ซึ่งระบบนี้จะเพิ่มบทบาทสำคัญต่อผู้บริโภค และการแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากต่อไปประเทศจะเปิดเสรีโทรคมนาคม แนวโน้มราคาของโทรศัพท์เคลื่อนที่ควรเป็นราคาที่เหมาะสม ทั้งคนรวยและคนจน สามารถใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน

ระบบที่มีบทบาทสำคัญในอนาคต ได้แก่ โครงสร้างโทรคมพื้นฐาน (Basic Telecom) จะประกอบด้วย สื่อสัญญาน เช่น สื่อสัญญาณสายใยแก้ว สื่อสัญญาณไมโครเวฟ สื่อสัญญาณดาวเทียม และ สื่อสัญญาณไร้สาย เป็นต้น

ดังนั้น ระบบของการสื่อสารและโทรคมนาคมในอีก 20 ปีข้างหน้า จะผสมผสานกันทั้ง ไร้สาย (Wirless) มีสาย (Wire) อาทิ เคเบิลใยแก้ว (Optical Cable) และดาวเทียม (Satlellite) เนื่องจากปัจจัยในการใช้ของแต่ละประเภทมีข้อจำกัด ดังนั้น เทคโนโลยีแต่ละประเภทจึงต้องเหมาะสมกับภูมิประเทศและความต้องการของผู้บริโภคด้วย

การสื่อสารในอนาคต สื่อสารข้อมูลจะพลิกโฉมเป็น สื่อมัลติมีเดีย (Multimedia) มากขึ้น จะมีการนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตจะช่วยมาพัฒนาให้สื่อกลายเป็นสื่อครบวงจร ที่มีทั้งข้อมูลข่าวสาร ภาพ และเสียง สามารถติดต่อกันข้ามประเทศ โดยสะดวกรวดเร็ว แนวโน้มการใช้คลื่นความถี่ ต้องมีการจัดสรรอย่างมีรูปแบบ อาทิ เสาอากาศควรกำหนดว่าครอบคลุมจังหวัดไหนบ้าง เพื่อง่ายต่อการควบคุมระบบ

เทคโนโลยีในระยะยาว จะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ดังนั้น ยุทธศาสตร์การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาสื่อสารและโทรคมนาคมในอีก 20 ปีข้างหน้า จะต้องมีการวางแผนถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากต่างประเทศอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง อาทิ เน้นการฝึกอบรมหรือเทรนนิ่งด้านเครือข่าย โปรแกรม อุปกรณ์ ชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ เป็นต้น
หมายเลขบันทึก: 445739เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2011 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ระบบของการสื่อสารและโทรคมนาคมในอนาคต จะต้องเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาก มีการรวมสื่อมัลติมีเดียเข้าด้วยกันเพื่อใช้ในการสื่อสารสามารถมองเห็นหน้ากัน ทักทายกันได้ ต่อไปในอนาคตอาจจะสัมผัสกันได้ผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ การพัฒนาการสื่อสารและโทรคมนาคมในอีก 20 ปีข้างหน้า จะต้องมีการวางแผนถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากต่างประเทศอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เน้นการฝึกอบรมด้านเครือข่าย โปรแกรม อุปกรณ์ ชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ เป็นต้น

น่าสนใจ แต่ตัวหนังสือเล็กไปหน่อยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท