เทคนิคการลดปริมาณรังสีในการตรวจซีที : การลด kVp และ mA สำหรับ Scout ภาพ


การ Scout เป็นภาพที่ใช้สำหรับวางแผนการตรวจ ก่อนการสแกนเป็นภาพตัดขวาง ภาพ Scout เป็นภาพถ่ายที่ไม่ต้องการรายละเอียดมากนัก จึงสามารถใช้เทคนิคของ kV และ mA ที่ต่ำ เพื่อช่วยลดปริมาณรังสีให้กับที่ผู้รับบริการได้

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอเทคนิคหนึ่ง สำหรับใช้เพื่อลดปริมาณรังสีจากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ให้กับผู้รับบริการ

 

เทคนิคที่ว่านี้ คือ การลด Exposure factor ที่เกี่ยวข้องกับ kVp และ mA สำหรับการ Scout หรือ Topogram หรือ Surview 

 

 

ภาพ Scout เป็นถ่ายภาพรังสีชนิดหนึ่ง เพื่อใช้สำหรับวางแผนก่อนการตรวจ หรือ ก่อนการสแกนภาพในลักษณะภาพตัดขวาง 

 

 

ภาพ Scout เป็นภาพถ่ายที่ไม่ต้องการรายละเอียดของภาพมากนัก เนื่องจากใช้เป็นภาพสำหรับศึกษากายวิภาค หรือ พยาธิภาพเบื้องต้น

 

 

ตัวอย่าง : การศึกษาในแบบจำลองทรวงอก

 

1. ภาพใด?

ที่ใช้ kVp และ mA ต่ำ ที่สุด  1, 2, 3 หรือ 4 ?

 

 

2. ภาพใด?

ที่ใช้ kVp และ mA สูง ที่สุด  1, 2, 3 หรือ 4 ?

 

 

3. ภาพใด ?

ไม่ สามารถใช้เป็นภาพ Scout สำหรับการวางแผนการตรวจได้

 

 

 

 

เป็นอย่างไร? ครับ

ตัดสินใจ เลือกภาพได้แล้วหรือยัง? 

 

 

เฉลย : สำหรับคำตอบในข้อ 1 และ 2 สามารถ ดูที่มุมล่าง ด้านซ้ายมือในภาพ จะมีค่า kVp และ mA แสดงให้เห็น ครับ

 

 

 

 

สำหรับ ข้อ 3 คำเฉลย คือ ทุกภาพ สามารถใช้เป็นภาพ Scout ได้ ถึงแม้ว่าภาพที่ 4 ภาพล่างขวามือจะใช้เทคนิค kVp และ mA ต่ำ แต่ภาพดังกล่าว ก็ยังสามารถแสดงให้เห็น กายวิภาค และ พยาธิสภาพของร่างกายได้  

 

 

ดังนั้น... การใช้ kVp และ mA ที่ต่ำ สามารถช่วยลดปริมาณรังสีให้กับที่ผู้รับบริการได้  

 

 

คราวนี้... ลองมาดูปริมาณรังสีที่ออกมาจากการใช้เทคนิคที่แตกต่างกันดูบ้าง

 

ค่าที่ใช้ในการเปรียบเทียบ คือ ค่า DLP ที่มีหน่วยเป็น mGy*cm

 

เครื่องซีที รุ่นใหม่จะแสดงค่านี้ให้เห็น เมื่อมีการป้อนข้อมูลเกี่ยวกับ kVp หรือ mA ที่ใช้ในการตรวจ (ดูที่ด้านล่างของภาพ)

 

 

 

จากตารางแสดงให้เห็นว่า การใช้ Exposure factor ที่ต่ำ ค่า DLP จะลงต่ำ ด้วย 

 

 

สรุป :  

เทคนิดการ ลด หรือ เพิ่ม kVp และ mA มีผลต่อปริมาณรังสีและคุณภาพของภาพที่ปรากฎขึ้นในการตรวจ  

 

การถ่ายภาพ Scout เป็นภาพที่ไม่ต้องการรายละเอียดของภาพมากนัก ดังนั้น การลด kVp และ mA ที่ใช้ให้ต่ำลงจากค่าเดิมที่ใช้อยู่ จะช่วยลดปริมาณรังสีแก่ผู้รับบริการลงได้ โดยที่คุณภาพของภาพที่เกิดขึ้นยังใช้ประโยชน์ได้เช่นเดิม 

 

ทดลองนำเทคนิคนี้ ไปประยุกต์ใช้กับเครื่องซีทีของท่านดูนะ ครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 445210เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2011 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 01:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ความรู้คู่คุณธรรม ครับอาจารย์

เดี๋วยนี้ทำงานมักมุ่งแต่ ผล แต่ทำอย่างที่อาจารย์กล่าวมานั้น ได้ ผล เช่นกันและมีคุณธรรมด้วย

มาทบทวนความรู้ด้วยคนค่ะ...ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท