สัมมาทิฎฐิไม่มาสัมมาวาจาไม่เกิด


สัมมาทิฎฐิไม่มาสัมมาวาจาไม่เกิด

 

 

 

 

 

 

สัมมาทิฎฐิไม่มาสัมมาวาจาไม่เกิด

 

ในหนังสือพุทธธรรมของพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณอาจารย์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) หน้า ๖๒๑ ได้กล่าวถึงบุพพภาคของการศึกษาหรือบุพนิมิตแห่งมัชฌิมาปฏิปทา โดยได้กล่าวถึงสัมมาทิฏฐิว่า “เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มตนของการปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ[1]

 

สิ่งที่อยากปรารภ

แต่ในสิ่งที่ผู้เขียนสนใจคือ การเริ่มต้นในเรื่องใดๆ สามารถประยุกต์หรือนำไปใช้ได้ อาจเรียกได้หลากหลายเช่น ความเห็น ทิฐิ ทัศนะคติ โลกทัศน์ เป็นต้น ต้องมีทิศทางชัดเจน หรือพุ่งตรงไปยังทิศทางใด ความสำเร็จจะสามารถเป็นไปตามความต้องการนั้น

 

ในความคิดเห็นของผู้เขียนนั้น ความเห็นที่ถูกต้อง โดยเฉพาะวิสัยของปุถุชน ของใครของคนนั้นก็ว่าของตนนั้นถูกต้องแล้ว แม้แต่การได้ฟังเรื่องเดียวกัน หรือได้อ่านหนังสือ ประโยค ข้อความ เดียวกันก็ยังต้องตีความแตกต่างกันต่างๆ นานาได้ สำคัญจึงขึ้นอยู่กับตัวของบุคคล หรือปัจเจกบุคคล (Individual) เท่านั้นเป็นผู้ต้องตัดสินใจ

 

อย่างไรก็ตาม ความเห็นที่ถูกต้องของตนใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่ถูกใจใครเขาไปได้ทั้งหมด(แม้แต่ตนเอง) การอยู่ร่วมกันในฐานะสมาชิกของสังคม ชุมชน ประเทศชาติ เกณฑ์ความถูกต้องส่วนตน อาจจะถูกละวางไว้ (bracketing ) เพื่อแสวงหาเกณฑ์ร่วมของสังคม แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกใจ  อย่างไรเสีย ความถูกต้องของกฎเกณฑ์ทางสังคม อันหมายถึงประโยชน์อันเกิดจากข้อตกลงร่วมกันน่าจะสามารถเป็นเกณฑ์ของสมาชิกโดยส่วนรวมได้

 

ดังนั้นความเป็น “ความเห็นที่ถูกต้อง” จึงเป็นเพียงเกณฑ์ที่พอยอมรับกันได้ในขณะนั้น หากแต่เกณฑ์ดังกล่าวนั้นก็เป็นเพียงเครื่องมือ (Instrumentals) เท่านั้น มิใช่จุดหมาย (End) แต่อย่างไรก็ตาม จุดเริ่มต้นสำคัญก็ขึ้นอยู่กับ ความคิดเห็น ทัศนะคติ ทิฐิ ที่จะกำหนด พฤติกรรมในทางกายภาพ หรือวาจา อันจะเป็นการรับแรงกระทำที่ส่งต่อกันเพื่อยังจุดหมาย (End)

 

อาจจะกล่าวได้หรือไม่ว่า จุดมุ่งหมายดังกล่าวนั้นเป็นเพราะกระบวนการอันเกิดแต่จุดเริ่มต้น หรือตัวกระทำ (Action) ที่ส่งผ่านมาจนกระทั่งถึงจุดหมายนั้นล้วนปฏิสัมพันธ์ สัมพันธ์ (Relation) เป็นลูกโซ่ เดียวกันใช่หรือไม่ ...จนกระทั่งถึงจุดหมาย..............ที่ต้องการจริง..

 

กล่าวคือ เป็นเจตจำนงที่สำนึกพุ่งตรงต่อจุดหมายที่จะให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการนั้นจริง.

 

ทราบได้อย่างไร..ผลเกิดแต่เหตุตัวนั้น แล้วสัมมาทิฏฐิจะเป็นเบื้องต้นต่อการเกิดสัมมาอื่นได้อย่างไร...หากสัมมาทิฏฐิเป็นปฐมไม่เกิดเสียแล้ว

 

ข้อปรารภเบื้องต้น..


[1] ผู้ที่ต้องการทราบรายละเอียดศึกษาได้ในพุทธธรรมตั้งแต่หน้า ๖๒๑ เป็นต้นไป

 พุทธธรรม มีหลากหลายสำนักพิมพ์ สามารถหาอ่านได้

หมายเลขบันทึก: 444753เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2011 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 02:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท