แนะนำหนังสือที่น่าสนใจ


หนังสือการจัดการความรู้ (Knowledge management - KM)

หนังสือที่สนใจ  คือ  หนังสือการจัดการความรู้ 

(Knowledge management - KM)

-  ความน่าสนใจ

     เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง  การจัดการความรู้  (Knowledge management - KM)  ซึ่งให้ความรู้ในหลาย ๆ ด้าน  เช่น  ความรู้คืออะไร  ประเภทของความรู้   อย่างไรจึงเรียกว่าการจัดการความรู้  นิยามของการจัดการความรู้  ทำไมจึงต้องมีการจัดการความรู้  วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้  กรอบแนวคิดในการจัดการความรู้  แนวทางการจัดการความรู้  หลักสำคัญของการจัดการความรู้  การจัดการความรู้ช่วยอะไรได้บ้าง  การจัดการความรู้เริ่มต้นอย่างไร  ประโยชน์ของการจัดการความรู้  และผลของการจัดการความรู้

- การเกิดการเรียนรู้ 

     จะได้รับความรู้ในด้านต่าง ๆ  ดังนี้

 ความรู้ คือ อะไร  

     ความรู้  คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาล่าเรียน   การค้นคว้าหรือประสบการณ์  รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์   สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน  ได้ฟัง  การคิด หรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา

 ประเภทของความรู้ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

     1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง  (Explicit Knowledge)   เป็นความรู้ที่สามารถเผยแพร่ให้อยู่ในรูปแบบของเอกสาร วีซีดี เทป ฐานข้อมูล   ตำรา  ทฤษฎี  คูมือ บางครั้งเรียกวา เปนความรูแบบ รูปธรรม

     2. ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน  (Tacit Knowledge)   เป็นความรู้ที่เกิดจากทักษะ ประสบการณ์ ความคิด พรสวรรค์ ของแต่ละบุคคล ความรู้ประเภทนี้จะมี 2 ส่วน คือความรู้ที่อธิบายได้แต่ยังไม่ได้ถูกบันทึกให้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง กับความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายได้จริงๆ เช่น งานศิลป์ งานที่ต้องวัดคุณภาพจากรูป รส กลิ่น เสียง ที่ไม่สามารถกำหนดได้ตายตัว (เหมือนกับการเป็นกรรมการตัดสินการประกวดนางงาม กำหนดไม่ได้ว่าตาต้องกว้าง ยาว กี่เซนติเมตร ดั้งจมูกจะต้องสูงกี่เซนติเมตร หักมุมกี่องศา แต่ต้องพิจารณารวม ๆ ว่าสมส่วนรับกันไปหมด ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า) บางครั้งเรียกวาเปนความรูแบบ นามธรรม

 อย่างไรจึงเรียกว่าการจัดการความรู้

     การจัดการความรู้เป็นกระบวนการเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่างๆ ที่องค์การจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล เพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์การ

 นิยามของการจัดการความรู้

     การจัดการความรู้ (Knowledge management - KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด   การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 ทำไมจึงต้องมีการจัดการความรู้

     1. ข้อมูล หรือสารสนเทศต่างๆ ที่มีการให้บริการ ซึ่งจะต้องมีลักษณะถูกต้อง ทันสมัย เชื่อถือได้    ยังไม่สามารถบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสามารถบริการได้ทันท่วงที (Real Time) ได้

     2. ความรู้ หรือทักษะบางอย่างในการทำงานจะเป็นความรู้ที่เป็นของบุคคลเฉพาะคนเท่านั้นบุคคลอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกันไม่สามารถที่จะทำงานบางอย่างได้  ถ้าหากว่าไม่มีบุคคล คนนั้น 

     3. ไม่สามารถนำความรู้จากตัวบุคคล  มาจัดเก็บไว้ให้เป็นระบบ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับองค์กรได้

     4. ไม่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน ถ่ายทอดความรู้ วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในหน่วยงาน

 วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้

     1. เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่องาน  ต่อปัญหา  และสามารถร่วมแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปด้วยดี ได้อย่างมีหลักการ และแนวคิดที่เหมาะสม

     2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการริเริ่มในการสร้างสังคมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และนำสู่การบรรลุเป้าหมาย

     3. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็น และสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร

     4. เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการทำงาน  เห็นความสำคัญและคุณค่าของตัวบุคคล

     5. เพื่อให้มีเกิดการพัฒนาและใช้ศักยภาพของบุคคลในการทำงานได้อย่างเต็มที่  และมีประสิทธิภาพ

     6. เพื่อสร้างความรู้ใหม่  หรือนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมากขึ้น

     7. เพื่อรวบรวมความรู้ภายในองค์กร  และนำเข้าความรู้จากภายนอกที่เกี่ยวข้อง  แล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม   และทุกคนสามารถเข้าถึงได้

     8. เพื่อเป็นการเสาะหา  รวบรวม  จัดเก็บความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลแต่ละคน  ที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ กัน

     9. เพื่อให้ข้อมูลตอบสนองตรงตามเป้าหมายของผู้รับบริการ  และตรงตามเป้าหมายขององค์กรให้มากที่สุด

     10. เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากรในองค์กร ที่ทำงานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

     11. เพื่อให้มีการรวมกลุ่มกันของบุคคลในองค์กรที่มุ่งเน้นความรู้ และการเรียนรู้ร่วมกัน

     12. เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในองค์กร

     13. เพื่อให้องค์กรมีความเข้มแข็ง  และมีจุดเด่นในการที่จะแข่งขันกับองค์กรอื่น

 กรอบแนวคิดในการจัดการความรู้

     องคกรตองมีการกําหนดวัตถุประสงคของการนําระบบการจัดการความรูมาใชและตองสอดคลองกับเปาหมายรวมขององคกร ระบบการจัดการความรูสามารถใชเป นเครื่องมือในการสรางองคความรูใหม และจัดการ กับความรูเดิม เพื่อสนับสนุนกลยุทธขององคกร และบรรลุเปาหมายรวมที่วางไว ความรูขององคกรสามารถบริหารจัดการไดโดยการควบคุมจัดการกระบวนการตางๆ เชนการบวนการแลกเปลี่ยน, การจัดเก็บ, การสรางความรูใหม,การสืบคน, การนําไปใช เปนตน รวมทั้งการสรางสภาพแวดลอมภายในองคกร ที่ทําใหกระบวนการเหลานี้สามารถทํางานไดอยางราบรื่น

 แนวทางการจัดการความรู้

     1.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิธีการทำงานแบบ Best Practice 

     2.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนนักปฏิบัติ” (Community of Practice ; CoP)

 หลักสำคัญของการจัดการความรู้

     ก็คือ การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน   Tacit   เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง   Explicit   ให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดความรู้ในองค์กร ดังนั้นการจัดการความรู้   จึงเป็นการจัดการคนให้สามารถนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการบริหารจัดการให้คนที่มีความรู้ฝังอยู่ในตัวถ่ายทอดออกมาสู่คนอื่น ๆ   ที่ต้องการความรู้นั้นๆ   ด้วยวิธีการใดๆ   ก็ตาม

     สรุปได้ว่า  “การจัดการความรู้  หมายถึง  การบริหารจัดการเพื่อให้คนที่ต้องการใช้ความรู้  ได้รับความรู้ที่ต้องการในเวลาที่ต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการทำงาน  (Right Knowledge – Right People – Right Time)

 การจัดการความรู้ช่วยอะไรได้บ้าง

       1. เมื่อบุคลากรเกษียณอายุราชการหรือลาออก   ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคลากรนั้นๆ   (Tacit Knowledge)  ก็หายไปด้วย  KM  จะช่วยทำให้   Tacit  Knowledge  นั้น   ถ่ายทอดออกมาเป็น  Explicit  ให้อนุชนรุ่นหลังได้นำไปใช้ กรณีที่ไม่สามารถกลั่นกรองออกมาเป็น  Explicit ได้ (หรือได้ก็ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ต้องอาศัยประสบการณ์ช่วยด้วย)

      2. การค้นหาข้อมูล (โดยเฉพาะข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร)  แต่ละครั้ง ใช้เวลานาน   ข้อมูลอยู่ตรงนั้นส่วนหนึ่ง   ตรงนี้ส่วนหนึ่ง ต้องหยิบมาจากหลาย ๆ  ส่วน มารวมกันจึงจะได้ตามที่ต้องการ แถมบางครั้งผู้เก็บข้อมูลไม่อยู่คนอื่นก็ให้ไม่ได้ต้องรอจนกว่าผู้เก็บข้อมูลจะมา  KM  จะช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นระบบเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย

      3. บุคลากรทำงานผิดพลาดในเรื่องเดิมๆ  มีปัญหาซ้ำๆ ไม่มีการแก้ไข KM จะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา

     4. เวลาเปลี่ยนผู้รับผิดชอบงานใหม่แต่ละครั้ง เหมือนต้องเริ่มงานกันใหม่ทั้งหมด KM จะช่วยให้ผู้ที่มารับผิดชอบใหม่สามารถดำเนินงานได้ตามระบบที่มี่อยู่ด้วยเอกสารคู่มือการทำงาน

 การจัดการความรู้เริ่มต้นอย่างไร

     1.  ก่อนเริ่มดำเนินการใดๆ จะต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนว่าสิ่งที่องค์กรต้องการจากการจัดการ ความรู้คืออะไร เรียกว่า กำหนดเป้าหมาย ( Desired State )  ซึ่งการกำหนดเป้าหมายอาจจะพิจารณาจากยุทธศาสตร์ขององค์กรหรือจากปัญหาขององค์กร

     2.  เมื่อได้เป้าหมายแล้วก็ต้องวางแผนและกิจกรรมที่จะสนับสนุนตาม 6 องค์ประกอบ ที่เรียกว่า วงจรการจัดการความรู้  (Change Management   Process)  ดังนี้

        1) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

        2) การสื่อสาร

        3) กระบวนการและเครื่องมือ

        4) การให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้

        5) การวัดผล การดำเนินการตามแผน ผลผลิต

        6) การยกย่องชมเชยและให้รางวัล

     3.  จัดทำ KM Process   ซึ่งมี 7 ขั้นตอน

       1) บ่งชี้ความรู้

       2) การสร้างและแสวงหาความรู้

       3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ

       4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้

       5) การเข้าถึงความรู้

       6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้

       7) การเรียนรู้ (Learning) 

 ประโยชน์ของการจัดการความรู้

     1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร 

     2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต 

     3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด

     4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการการพัฒนาคน และพัฒนาองค์กร

     5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล และน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ 

     6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน 

     7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที 

     8. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรผลิตสินค้าและบริการจากความรู้ที่มี เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร 

     9. เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่

เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจในแนวดิ่ง ไปสู่วัฒนธรรมความรู้ในแนวราบ  ซ฿งทุกคนมีสิทธิในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน   

 ผลของการจัดการความรู้

        ผลของการจัดการความรู้มีอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่

     1. ผลสัมฤทธิ์ของงาน   เกิดผลสำเร็จในงานระดับดีขึ้น และอาจจะได้นวัตกรรมของงานใหม่ๆ

     2. พนักงาน  เกิดการพัฒนา การเรียนรู้ เกิดความมั่นใจตนเอง เกิดความเป็นชุมชนในหมู่ผู้ร่วมงาน  เป็นบุคคลเรียนรู้

     3. ความรู้  ของบุคคล และขององค์กรได้รับการยกระดับ  มีการสั่งสมและจัดระบบให้พร้อมในการนำไปใช้ประโยชน์

     4. องค์กร  มีสภาพเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  เป็นองค์กรที่เข้มแข็ง สามารถแข่งขันกับองค์กรอื่นได้

 

อ้างอิง

สุวรรณ  เหรียญเสาวภาคย์  และคณะ.  Knowledge management  การจัดการความรู้.  กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ ก.พลพิมพ์ ( 1996 )  จำกัด,  2548.

หมายเลขบันทึก: 444685เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2011 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 13:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท