งานวิจัย


ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

ชื่อเรื่อง  :               ประสิทธิผลการใช้โปรแกรมป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

ผู้วิจัย      :               สิริญญา  เกียรติกวินพงศ์                                                                                                                                                                                   บทคัดย่อ

                การวิจัยแบบทดลองเบื้องต้น หนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง   ( pre-experiment one group  pre – post test )โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลสุรินทร์  มีประวัติเคยหกล้ม หรือมีความเสี่ยงต่อการหกล้ม  จำนวน  30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 7 ส่วน ประกอบด้วยแบบประเมินความรู้ วัดความรู้ก่อนและหลังการอบรมจำนวน  20 ข้อ   แบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม 16 ข้อ แบบประเมินการทรงตัว BBT แบบประเมินTUGT แบบสำรวจสภาพสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยทั้งภายในบ้านและนอกบ้านจำนวน 19 ข้อ  แบบบันทึกการออกกำลังกายประจำวัน  คู่มือการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม    ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ   และทดสอบความเชื่อมั่น   ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 15 ราย   (กับประชากรผู้สูงอายุ)โดยวิธี ครอนบราค( Cronbach’s Coefficient +Alpha ) มีค่าเท่ากับ 0.57 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตรวจร่างกาย เยี่ยมสำรวจสิ่งแวดล้อมที่บ้าน  ประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มโดยใช้แบบทดสอบ TUGT และ BBT วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา  ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ  สถิติวิเคราะห์ ใช้ Pair samples t-test  

                ผลการวิจัยพบว่า   กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีช่วงอายุ ระหว่าง 65-70  ปี  สถานภาพสมรสคู่  พักอาศัยอยู่กับบุตรหลาน ปัจจัยเสี่ยงภายในต่อการหกล้มมากที่สุดคือ ผลจากการกินยาหลายชนิดจากการมีโรคประจำตัว มีอาการปวดเข่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและการทรงตัวไม่ดี  มีประวัติเคยหกล้มมาแล้วรอบปีที่ผ่านมา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพื้นลื่น และจากการเยี่ยมบ้านพบ พื้นต่างระดับสังเกตยาก  พื้นห้องน้ำลื่น ส้วมแบบนั่งยองยกพื้นสูงกว่าระดับพื้นห้องน้ำ ผลการใช้โปรแกรมป้องกันการหกล้มเกี่ยวกับความรู้ พบคะแนนเฉลี่ยของความรู้หลังการใช้โปรแกรมสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีคะแนนความรู้ก่อนใช้โปรแกรม14.50 + 4.15 คะแนน หลังใช้โปรแกรม 28.20 + 1.8 คะแนน p=.000    ผลการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและการทรงตัวโดยใช้  TUGT และ BBTมีคะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาสถิต โดยมีคะแนน  TUGT ก่อนใช้โปรแกรมเวลาเฉลี่ย 18.20 +  4.53 วินาที หลังใช้โปรแกรมเวลาเฉลี่ยลดลง 10.10 +  1.47 วินาที  p=.000    BBTก่อนใช้โปรแกรมคะแนนเฉลี่ย 40.40  + 8.14 คะแนน  หลังใช้โปรแกรมคะแนนเฉลี่ย 45.93 คะแนน p=.000

โปรแกรมป้องกันการหกล้มเน้นการรับรู้ข้อมูล สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพดีสามารถใช้ชีวิตได้เอง ช่วยเหลือตัวเองได้ การป้องกันการหกล้มเป็นการลดอุบัติการณ์การเกิดอันตรายจาก กระดูกสะโพก กระดูกหลังหัก ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุระยะยาว

หมายเลขบันทึก: 444672เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2011 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท