ประวัติศาสตร์บุคคล เพื่อความเข้าใจความคิด


ประวัติศาสตร์บุคคล เพื่อความเข้าใจความคิด

 

 

 

 

 

 

ประวัติศาสตร์บุคคล เพื่อความเข้าใจความคิด

การได้อ่าน การได้ฟัง คงไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดความเข้าใจถึง ความคิดของคน/บุคคลนั้นได้ทั้งหมด

 

เพราะว่าด้วยเงื่อนไขความคิดของคนนั้นย่อมแปรเปลี่ยน ไปได้ตามบริบท เวลา สถานที่และโอกาสไปได้

 

เพราะอะไร  

เพราะว่า สิ่งที่บุคคลถ่ายทอดนั้น บางครั้งเมื่อคิดชัด การเขียน การพูดก็ชัดไปด้วย แต่เมื่อคิดไม่ชัด การเขียนก็ไม่ชัดไปด้วย

 

แต่ในมุมกลับกัน การได้อ่าน ตำรา หรือหนังสือของบุคคลนั้นแม้แต่การได้ฟัง เขาพูดก็เป็นเพียงการได้รับรู้เพียงว่า เขาคิดอย่างไรเท่านั้น หากแต่สิ่งที่เขาคิดนั้นแล้วเขียนลง ในช่วงเวลาหนึ่ง บางครั้งการได้เขียนอาจทำให้เกิดความคิดที่ชัดขึ้นมาได้ด้วย

 

ดังนั้นการคิดชัดอาจไม่ได้นำไปสู่การเขียนหรือการพูดชัดเท่านั้น  แต่ทักษะ[Skills] การเขียนอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความคิดชัดได้ด้วย ฉะนั้นในขณะที่ผู้อ่าน [reader] อ่านหนังสือของคนนั้น ในขณะที่เจ้าของได้เขียนไว้ก็ย่อมสามารถสื่อความคิดให้ชัดขึ้นได้ด้วย และอาจจะนำไปสู่การพูดชัดได้อีก

 

แต่อย่างไรก็ตาม ประการหนึ่งก็คือ เมื่อบริบทของผู้เขียน [Texts] เปลี่ยน เวลา และสถานการณ์ไป เมื่อมีผู้ไปอ่าน จะสามารถเข้าใจได้ตรงกับสิ่งที่เจ้าของ [Texts] สื่อสารได้สอดคล้องอย่างไร เพราะแม้แต่เจ้าของเองก็เกิดการสับเปลี่ยนของความคิด การเขียน การพูด [การเขียน การพูด ความคิด] กับกันก็ได้ สับเปลี่ยนตำแหน่งกันได้ และผู้อ่านจะเข้าใจได้อย่างไรเล่าว่า ผู้เขียนหมายความด้วยใจจริงของตนตามนั้น

 

ทำงานอย่างไรบอกความคิดอย่างนั้น

 

ผู้เขียนเห็นว่า การได้อ่าน การได้ฟัง ทั้ง ๒ นี้ทำให้ทราบได้เพียงแต่ความคิดของเขาได้จะมากหรือน้อยอีกประการหนึ่ง แต่ก็ได้รับรู้ว่าเขาคิดอย่างไร แต่หากสามารถได้ทราบว่าเขาทำงานอย่างไร ด้วยวิธีการใด เวลา สถานที่ บริบท สภาพแวดล้อม เป็นต้น เท่าที่จะทราบได้ ไม่ได้หมายถึงในเชิงลึกไปถึงเรื่องส่วนตัวมากนัก เป็นเพียงแต่การทำงานของเขา[ผู้เขียน] นั้นเป็นอย่างไรบ้างนั้นย่อมสามารถทำให้เข้าใจถึงสิ่งที่เขา [Texts] ได้กล่าวถึง มากน้อยตามไปด้วย

 

ดังนั้นการอ่าน การได้ฟัง การรู้ว่าเขาทำงานอย่างไร อาจช่วยในการเข้าใจ ความคิดของบุคคลได้ตามความเป็นจริงมากน้อยเพียงใดด้วย

 

กล่าวคือ “ประวัติศาสตร์บุคคล” อาจเป็นส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจความจริง และเข้าถึงความจริงที่อาจสามารถข้ามพ้นอคติของบุคคลนั้นได้ด้วยจะมากน้อยเพียงใดนั้นเป็นอีกประการหนึ่ง

 

เมตตาธรรม

 

หมายเลขบันทึก: 444234เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2011 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท