ทำไมต้อง"ตำบลสุขภาวะ"


ตำบลเข้มแข็ง ตำบลสุขภาวะ ต้องเริ่มสร้างระบบที่เข้มแข็งเอาไว้ แม้ไม่มีนายกฯ /"การดูแลสุขภาพตนเอง ไม่ใช่หน้าที่ของหมอ หรือ คนอื่น แต่ต้องเป็นตัวเราเอง"

ความเชื่อมโยงกันระหว่าง สถาบันทางสังคมต่าง ๆ สลับซับซ้อน จนบางครั้งฉันแยกไม่ออกว่า อะไรเป็นอะไร วันหนึ่งที่มีเรื่องต่าง ๆ ปะปนวิ่งเข้ามาพร้อมกัน ฉันต้องอยู่กับตัวเอง พิจารณาปัญหาว่า ทำไมต้องเป็น"ตำบล" เมื่อเวลาผ่านไป ฉันก็เข้าใจว่า ตำบลเหมาะที่สุดในการเป็นคานงัด เขยื้อนสังคม เพราะอำนาจเกือบจะเบ็ดเสร็จของ ผู้นำท้องถิ่น  ในระดับตำบลนั้น มีผู้นำชัดเจน พื้นที่ชัดเจน กลุ่มเป้าหมาย(ชาวบ้านชัดเจน) ดังนั้นก็คงมิแปลกที่โครงการต่าง ๆ กำลังมุ่งหน้าลงตำบลกันเป็นส่วนใหญ่ ยิ่งหากต้องการพัฒนาคนแล้ว นายก อบต./เทศบาล เป็นผู้นำกลุ่มแรก ๆ ที่จะได้รับเลือก และวันนี้ก็เริ่มมีเรื่องยุ่งขึ้นอีก เมื่อนายก อบต./เทศบาล ต้องไปประชุม ประชุม ประชุม และทุกอย่างต้องรอนายก สั่ง ฉันกำลังคิดว่า ตำบลเข้มแข็ง ตำบลสุขภาวะ ต้องเริ่มสร้างระบบที่เข้มแข็งเอาไว้ แม้ไม่มีนายกฯ งานต่าง ๆ ในพื้นที่ก็ควรดำเนินต่อไปได้ โดยมีประชาชนเป็นทั้งระบบ และ เป็นผู้รับประโยชน์ไปด้วย และตอนนี้ ฉันก็กำลังมองหาพื้นที่ ที่มีลักษณะดังนี้ เพื่อศึกษาและถอดแบบ เพื่อเป็นแนวทางให้พื้นที่ที่ต้องการพัฒนาตนเองจริง ๆ ได้ ลองถูก มากกว่าลองผิด ถ้าเป็นไปได้ อีกสิบปีข้างหน้า ประเทศไทยจะได้รับการพัฒนาจากฐานราก ค่ะ

เมื่อวันที่ 14 - 15 มิย. มีการจัดอบรม "ผู้นำท้องถิ่น กับการจัดการสุขภาพแนวใหม่" ระหว่าง สปสช.เขต 2 กับ คณะสาธารณสุข มน. ฉันไปร่วมจัดประชุมกับเขาด้วย มีช่วงหนึ่ง เป็นการเสวนาหัวข้อหนึ่ง คือ ดูแลสุขภาพประชาชนอย่างไร ให้ได้ใจประชาชน(แบบยั่งยืน) โดยมีผู้เสวนา คือ นาย อยุธยา วาริชา นายก ทบ.ต.หาดอาษา จ. ชัยนาท /นายพงษ์เทพ ชัยอ่อน นายก อบต. หาดสองแคว จ.อุตรดิตถ์ และ ภาคประชาชน จาก อ.เนินมะปราง จ. พิษณุโลก มีความน่าสนใจ หลายประเด็นค่ะ

 มุมมองจากนายกฯ ทั้งสอง คือ ให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพเป็นอันดับต้น ๆ โดยเฉพาะ นาย อยุธยา นั้น เป็นผู้ปลุกกระแส ให้ทุกตำบลใน จ.ชัยนาทจัดตั้งกองทุนสุขภาพ 100% เป็นจังหวัดแรก ท่านมีแนวคิดว่า กองทุนสุขภาพคือ เครื่องมือ(วิเศษ) ที่ช่วยสร้างสุขภาพให้ประชาชนได้เป็นอย่างดี ทางด้าน นายพงษ์เทพ ชัยอ่อน ท่านต้องสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชน ทุกรูปแบบ โดยเริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ เช่น การจัดการขยะ ตำบลหาดสองแควเป็นตำบลจัดการสิ่งแวดล้อมดีเด่น ถ้าไปเที่ยวที่หาดสองแคว เราจะไม่เห็นถังขยะหน้าบ้านเลย และช่วงเย็น ๆ จะมี กลุ่มจักรยาน ปั่นกันเพื่อสุขภาพ และเก็บขยะกันไปด้วย 

ที่เผ็ดร้อน เขย่าเวทีเสวนา คือ ตัวแทนจากภาคประชาชน นำโดย คุณอารมย์ คำ จริง อดีตพยาบาล โรงพยาบาลเนินมะปราง ผู้กล้าลาออกจากราชการ หันมาดูแลสุขภาพตนเอง และขับเคลื่อนสุขภาพภาคประชาชน เธอกล่าวว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง ไม่ใช่หน้าที่ของหมอ หรือ คนอื่น แต่ต้องเป็นตัวเราเอง" เธอมีแนวคิดว่า ถ้าเราดูแลตัวเองได้ที่บ้าน งานของหมอและพยาบาลจะลดลงครึ่งหนึ่ง โดยยกตัวอย่างตัวเองว่า เป็น ไขมันในเลือดสูง มา9 ปี ต้องกินยาลดไขมัน 4 เม็ด ทั้งที่รู้ว่าตับจะพัง แต่ก็ต้องกินตามหมอสั่ง  เมื่อเป็นโรคภูมิแพ้เพิ่มอีกอย่าง เธอจึงแสวงหาแนวทางการดูแลสุขภาพด้วยตัวเอง ได้พบแนวทางของ หมอเขียว(ใจเพชร  กล้าจน) จึงทดลองนำมาใช้... ปัจจุบัน โรคไขมันในเลือดสูงและ ภูมิแพ้ หายไปแล้ว(ไม่กำเริบเลย) ด้วยการแค่เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการดำเนินชีวิต และเธอกำลังขยายแนวคิด สู่กลุ่มต่าง ๆ ทั้งอำเภอ ...น่าสนใจมากค่ะ 

 

หมายเลขบันทึก: 444129เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2011 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมงงงงงงงเสมอ กับ "คำโตๆ" เช่น ตำบลสุขภาวะ และอื่นๆ

จึงพยายามสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้อง มิได้หานิยาม แต่บอกตรงๆ ว่า ผมกำลังมองหา "สิ่ง" ที่มีลักษณะ

1)ผูกพันเป็นชุมชน

2)ผู้คนมามีส่วนรับรู้ คิด ออกแบบ ตัดสินใจ

3)มีการลงมือทำตามการตัดสินใจร่วมนั้น

4) การลงมือทำมุ่งให้เกิดผลดีต่อส่วนรวม จะเกิดผลหรือไม่นั้น ผมยังไม่หวัง

5) มองหาผลหรือมองหาความก้าวหน้าร่วมกัน

1 ถึง 5 ต้อง "มีเป้าร่วม+มีโจทย์ เพื่อลงมือ"

1 ถึง 5 ต้อง "มีการจัดการ" และมี "ผู้นำ+ภาวะการนำ"

ทีมได้ออกแบบเครื่องมือเพื่อรวบรวมความภูมิใจ แล้วจะนำมาคลี่หาเหตุ+ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ถ้าไม่มีเครื่องมือ จะสื่อสารกันยากว่าจะขอแรงช่วยกันมองหาอะไร

ลองนำเครื่องมือไปใช้และปรับปรุงนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท