ได้อะไรในวง KM


แลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

คุณได้อะไรจากการทำ
KM (Knowledge Management)

(สมบูรณ์เงาส่อง) 





   


 


 

         KM ศาสตร์ ศิลป์ ซึ้ง
  ตรึงใจ      


 

 

แลกเปลี่ยนกับใครๆได้ทั่วหล้า


 

 

หมุนเกลียว ความรู้ ตลอดเวลา 


 

 

ทุกวิชา
  เด่นได้ เพราะ KM


 

       รู้สึกหนักใจมากเมื่อได้รับมอบหมายให้เขียนเรื่องๆหนึ่งซึ่งไม่ค่อยมีความรู้และถนัดนักเคยเข้าร่วมกิจกรรมบ้างก็คงเป็นในบทบาทของ “คนชายขอบ” คือชอบที่จะไปช่วย ประสานงานถ่ายรูป ทำสื่อ บ้าง เล็กน้อยๆ ไม่ค่อยได้คลุกวงใน ตามปะสาคนที่ทำได้เกือบทุกอย่างแต่ที่ดีจริงๆก็หาไม่ค่อยได้เลยซักอย่าง “ได้อะไรในวง KM” เป็นโจทย์ที่หนักหนาสาหัสเอาการ แต่เมื่อได้รับมอบหมายงานแล้วก็ต้องทำให้สำเร็จดังนั้นเลยขอเล่าให้ฟังแบบสบายๆ ตามสไตล์ของ ลุงบูรณ์ ละกัน

         ถามว่าได้อะไรในวง KM ถ้าจะตอบแบบวิชาการก็คงนานกว่าจะเขียนเสร็จ
และคนอ่านก็คงเข็ดไปอีกนาน ดังนั้น ขอเขียนในแนวที่ตัวเองถนัดดีกว่า คิดว่าน่าจะสบายใจทั้งผู้ให้และผู้รับจากการบวชเรียนมา ๑๔ ปี และมีดีกรีเป็นถึงนักธรรมชั้นเอกจึงจะขอบูรนาการเรื่องของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เข้าสู่กระบวนการทางธรรมะดูซักที แล้วลองถามใจคนอ่านดูว่าดีหรือไม่ ออกหมู่หรือจ่าหรือว่าจะออกด้านหัวหรือว่าก้อยดังนั้นต่อคำถามนี้จึงขอตอบแบบง่ายๆ ว่า ทำ KM แล้วได้ “บุญกุศล”      

          หลายคนคงเกิดอาการงง และหลายคนคงคิดว่า“บ้า” จับมาคู่กันได้อย่างไร ณ ที่นี้มีคำตอบครับ ในวง KM หัวใจสำคัญที่สุดก็คือ”การแลกเปลี่ยนเรียนรู้”ตลอดเวลาที่อยู่ในวงมีทั้งผู้ให้และผู้รับโดยเฉพาะผู้ให้ ที่ให้ทั้งความรู้ ประสบการณ์ วิธีบริหารจัดการเรื่องราวต่างๆ เขาจะเล่าสิ่งดีๆให้ฟังว่าเขาประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างอย่างไร วิธีการใดที่นำไปสู่ความสำเร็จ เล่า ๆๆและเล่าแบบไม่หวงวิชา ถ้าจะพูดตามปะสาวัยรุ่นก็คงได้แบบว่า “ให้แบบสุดๆ”ในขณะที่ผู้รับ ก็รับด้วยอาการยิ้มแย้ม แจ่มใส อิ่มเอมใจในสิ่งที่ได้รับ ทีนี้มามองในมุมของพุทธศาสนาบ้าง ถ้าถามว่า การทำบุญคืออะไร คำตอบก็คือ การทำความดี กรรมดีการทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่สังคม เพื่อนมนุษย์การกระทำความดีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความดี  กรรมดี และเพื่อกำจัดความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ได้ออกไปจากใจ สร้างโอกาสพัฒนาและเป็นการนำพาความสุขมาให้ ทำให้จิตใจของเราแบ่งบานไปด้วยบุญกุศล  จิตใจให้ผ่องใส บริสุทธิ์  ชีวิตมีความสงบสุขพบเจอแต่สิ่งดีงาม ถึงตอนนี้ถามว่า KM กับการทำบุญมีความแตกต่างกันไหมหลายคนคงมีคำตอบในใจแล้วสิครับ ทีนี้ลองมาติดตามในมุมมองของลุงบุญกันบ้างนะครับสมมุติว่า เราจะแยก คำว่า “บุญกุศล” ออกมาโดยใช้อักษรตัวหน้าเป็นตัวแทน คำว่า“บุญกุศล” ก็จะสามารถแยกได้ประมาณนี้นะครับ คือ -ญ-ก-ศ และก็-ล ใช่ไหมครับ ลองมาดูความหมายกันนะครับ

= บรรยากาศ ในวง KM ใครได้เคยเข้าวงนี้คงรู้ว่าเป็นวงที่มีบรรยากาศที่ดีมาก ทุกคนมีความไว้วางใจและให้เกียรติซึ่งกันและกันที่พวกเรามักพูดกันติดปากว่า เป็นพื้นที่ปลอดภัย ไม่มีกำแพงขวางกั้นมีอะไรก็เล่าขานกันได้เต็มที่ ใครอยากหัวเหราะ หรือร้องไห้ไม่ว่ากัน สุดท้ายเราก็ให้กำลังใจซึ่งกันและกันบรรยากาศก็ดี ชีวีก็แจ่มใส


= ญาติสนิท มิตรสหาย
ถ้าจะใช้คำนี้ก็คงไม่ผิดนัก เพราะหลังจากเข้าวงนี้แล้วเราจะมีเพื่อนสนิทขึ้นอีกมากมายก่ายกองเราได้ระบายความในใจซึ่งบางเรื่องไม่เคยเล่าให้ใครฟังมาก่อน
แล้วผู้ฟังก็รับฟังด้วยความเต็มใจ ซึ่งบางครั้งเพื่อนร่วมงานหรือว่าคนสำคัญที่อยู่ทางบ้านอาจจะไม่ทนฟังเท่ากับคนในวง เรามีญาติสนิทอีกมากมายหลายคนหลังจากที่ออกจากวงKM  

= กุศล ข้อนี้มีความหมายมากเราทำบุญเพื่อหวังกุศลผลบุญตอบแทน วิธีการที่จะทำให้ได้บุญนั้นมีมากมายหลายวิธีแต่ที่สำคัญมากอย่างหนึ่งก็คือการให้ทาน และการให้ทานที่สำคัญก็คือ “ธรรมทาน”การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่งปัประสบการณ์ ถือว่าเป็นธรรมทานอันสูงยิ่ง อย่างนี้จะมีใครเถียงอีกว่า การทำ KMไม่ได้กุศล


= ศึกษาหาความรู้ ข้อนี้ชัดเจนยิ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นการดึงความรู้ฝังลึกที่ซ่อนอยู่ภายใน (tacit knowledge)  ของแต่ละบุคคลแล้วนำไปบูรนาการกับหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์(explicit knowledge)  มีการหลอมรวมกันของความรู้
แล้วทุกคนในวงช่วยกันต่อเสริม เติมแต่ง โดยที่คุณลิขิต ก็บันทึกไว้อย่างมีระบบ
สุดท้ายเราก็ได้องค์ความรู้ใหม่ ที่พร้อมจะถูกนำไปใช้และนำไปพูดกันในวงครั้งต่อไปเป็นการหมุนเกลียวความรู้ อย่างไม่มีสิ้นสุด ซึ่งผมคิดว่าเป็นสุดยอดของการศึกษาแล้วละครับ

= แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ล.
ตัวสุดท้ายเป็นตัวสรุปบทส่งท้ายของหรือว่าหัวใจของ KM ถ้าใครพูดถึง KM แล้วกล่าวถึงหรือว่าไม่พาดพิงถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็คงนับดูว่าแปลกเต็มที ผมจึงเลือกตัวอักษรนี้ไว้เป็นตัวสุดท้ายเพื่อจะย้ำเตือนและตอบคำถามที่ว่า “คุณได้อะไรในวง KM”ซึ่งจริงๆที่ผมเขียนไว้มากมาย จนหลายคนขี้เกียจอ่าน สุดท้ายก็คงสรุปได้ว่าได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาตัวเอง และวิชาชีพซึ่งทุกคนก็คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เพราะผมเชื่อมั่นว่าถ้ามีความรู้แล้วจะทำให้ทุกอย่างดูดีขึ้น สมกับคำกล่าวที่ว่า“มีความรู้ คู่คุณธรรม”

 

หมายเลขบันทึก: 443538เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2011 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณคะพี่สมบูรณ์ มาเจอบทความดีๆ นี้ :-D

ข้อความ "ถามว่าได้อะไรในวง KM ถ้าจะตอบแบบวิชาการก็คงนานกว่าจะเขียนเสร็จ

และคนอ่านก็คงเข็ดไปอีกนาน"

น่าคิดคะ ในระหว่างการทำ KM แต่ละคนรู้สึกดี ได้ซึมซับประสบการณ์ผู้อื่นไม่มากก็น้อย..

แต่การสื่อสารด้วยตัวอักษร เป็นเรื่องยาก

หากบันทึกคำต่อคำ .. ผู้อ่าน "เข็ด"

หากบันทึกน้อยไป เหลือแต่ concept..ก็จะไม่ต่างอะไรจากอ่านตำรา เพราะเห็นภาพบริบทต่างกันอยู่ดี

ผลึกความรู้ ที่ไม่มากไป น้อยไป อาจต้องอาศัย "KM สั้นๆ ประจำวัน" ของทีมดูแลผู้ป่วย หลายๆๆๆๆ รอบ (หรือเปล่า?)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท