ความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็น


สรุป

จากการอ่านผลงานวิจัยของนายสาโรช โศภีรักขภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ปี2550เรื่องความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นของนิสิตปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีการศึกษาที่เรียนวิชาเทคนิคและกระบวนการฝึกอบรมโดยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ พอสรุปได้ตามความเข้าใจคือ
ความหมายของการเรียนรู้แบบผสมผสานมี  3 ความหมายดังนี้
-การผสมผสานรูปแบบการเรียนการสอนหรือการนำส่งสื่อ
- การผสมผสานวิธีการสอนหรือระบบการสอน
- การผสมผสานระหว่างการสอนผ่านเครือข่ายกับการสอนแบบเผชิญหน้า
ในการเรียนการสอนผู้สอนจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่าง
แท้จริงและผสมผสานการเรียนในห้องเรียนกับการเรียนผ่านเว็บอย่างเหมาะสม การเรียนรูปแบบนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งผู้เรียนและผู้สอนการเรียนการสอนรูปแบบนี้จะมีประสิทธิภาพจริงๆผู้สอนจะต้องต้องออกแบบและวางแผนกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความพร้อมของผู้เรียนหลาย
ด้านเช่นความต้องการ วัย แรงจูงใจในการเรียน ความพร้อมด้าน กาย อารมณ์ สติปัญญาและสังคมผู้สอนที่ใช้รูปแบการสอนแบบนี้จะต้องคิดถึงปัญหาในการเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ล่วงหน้าและต้องหาวิธีการป้องกันไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นในการเรียนการสอน เช่นการต้องใช้เวลานานในการวางแผน บทเรียน การทำกิจกรรมเป็นกลุ่มที่อาจจะต้องรอ ทำให้ผู้เรียนเกิดอารมณ์เสียไม่อยากเรียนต่อไปการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นและช่วยกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วบันทึกแนวทางการแก้ไขปัญหาไว้สำหรับผู้สอนที่ใช้วิธีนี้ในรายวิชาอื่นๆ ในการผสมผสานการเรียนการสอนสำหรับ
ผู้เรียนในระดับสูง ควรผสมผสานระหว่างรูปแบบการเรียนมากว่าการผสมกิจกรรม
สำหรับผู้เรียน
1. ผู้ที่จะเรียนในระบบของการเรียนการสอนรูปแบบนี้ ควรทำความเข้าใจกับแนวทางการเรียนให้ถ่องแท้ ผู้เรียนต้องตระหนักว่าตนเองจะต้องมีวินัยและสามารถควบคุมตนเองได้ จึงจะทำให้การเรียนประสบผลสำเร็จ ผู้เรียนจะต้องพึ่งตนเองในการเรียนรู้และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเองได้เพราะการเรียนในรูปแบบนี้ผู้สอนจะไม่ควบคุมเหมือนการเรียนในชั้นเรียนปกติ การวางแผนการเรียนไม่จำเป็นว่าผู้เรียนจะต้องวางแผนเมือนกัน ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนวางแผนและออกแบบการเรียนเอง
2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะต้องฝึกทักษะการค้นคว้า หาความรู้ในแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย พึงระลึกไว้เสมอว่าการเรียนวิธีนี้จะคุ้มค่ามากน้อยนั้นขึ้นอยู่ว่าผู้เรียนจะใช้ประโยชน์ของแหล่งการเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใด เพราะการผสมผสานในที่นี้ มีความหมายกว้างและหลากหลายทั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเองข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการพัฒนาและใช้วิธีสอนรูปแบบผสมผสานในรายวิชาอื่นๆและพัฒนารูปแบบการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียนที่แตกต่างกัน

2. ควรมีการออกแบบการสอนผสมผสานที่ตอบสนองคุณลักษณะของผู้เรียนที่แตกต่างกันด้านร่างกาย ความสามารถ หรือความแตกต่างด้านบุคลิกภาพ
3. ควรมีการพัฒนารูปแบบการสอนแบบผสมผสานโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนโดยแท้จริง ไม่ควรมีขอบเขตมากนัก เพื่อเป็นการตอบสนองแนวคิดด้านจิตวิทยาโดยตรง
4. ควรมีการศึกษาในเชิงสำรวจหาข้อมูลจากหลายๆฝ่ายเช่นผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อจะได้สร้างและพัฒนารูปแบบการสอนแบบผสมผสานให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนได้จริงๆ
5. ควรพัฒนาและวิจัยรูปแบบของการจัดการการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มีอยู่หลากหลายเพื่อที่จะได้คำตอบว่ารูปแบบใดมีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนมากกว่ากัน

 

หมายเลขบันทึก: 443489เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2011 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท