ภาษาถิ่นในภาษาไทย


วรรค ข

-                    

แข่น                             ว.แข็ง,แน่น  แข่นอั้นตั้น  แข่นโจ้โก้

เข็ง                               น. ปลาหมอ  เช่น ปาเข็งข่อนแจนาไผสิป่อย

ขี้ถี่                               ก.ขี้เหนียว

ขาบ                 ก.  กราบ  เช่น ขาบพระ ขาบพ่อแม่ ตัวอย่าง  บาก็ยอมือไหว้พนมกรก้มขาบ

ขื่น                   (ออกเสียงยาว)วิ. ขม,พะอืดพะอม,คลื่นเหียน เช่น หมากเขือขื่น ตัวอย่าง อยากผูก

                        คอตายใต้ต้นหมากเขือขื่น

เขิน                  วิ. สั้น  (เสื้อผ้า),ขาด ๆ เกิน ๆ เช่น ซิ่นเขิน กลอนเขิน ตัวอย่าง ใส่กระโปรง

                        เขินหญ่างเวินอยู่เทิงฮ้าน

ข่วง                 น. เขต,คุ้ม,บริเวณ,นั่งร้านเล็ก ๆ สำหรับสาว ๆ ใช้เข็ญฝ้าย เช่น สาวลงข่วง 

                        ตัวอย่าง  เดือนสามคล้อยผู้สาวคอยญามลงข่วง

ขวง                 วิ. ขวาง,ประหลาด,ผิดธรรมชาติ เช่น อย่าขวงหลาย

                        ตัวอย่าง  เด็กน้อยหมู่นี้มาคือขวงแท้

ข้ง                    (ออกเสียงสั้น) ก.แพร่,ขยาย,ออกลูก เช่น เช่น ไก่ข้งออกมาแล้ว

                        ตัวอย่าง   มาข้งหลายแท้นอ

ขุ                      ก. ร่วง,หล่น,เขี่ย,คุ,ลุกโชน  เช่น  ถ่านไฟขุ ขุขี้กะบอง

                        ขุขี้กะบองแหน่มันสิมอดแล้ว

ไข่                วิ. บวม,ปูด ,นูน,โน ดู ไค่ เช่น  หัวไข่ ตัวอย่าง  เด็กน้อยเล่นก้อนดินถืกหัวกันจนไข่

 

หมายเลขบันทึก: 443413เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2011 08:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 08:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท