แผนการสอนกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาคเรียน ที่ 1 /2554


การเรียนไม่มีวันสิ้นสุด

คำอธิบายรายวิชา 

          ศึกษา ลักษณะบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศ บุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐ เขตแดนของรัฐ อำนาจของรัฐ รวมทั้งการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เขตอำนาจของรัฐทางทะเล และกำหนดเขตทางทะเล ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายใน ความรับผิดระหว่างประเทศของรัฐ การระงับข้อพิพาทของรัฐ

1. วัตถุประสงค์รายวิชา(Objective) เมื่อนิสิตเรียนรายวิชานี้แล้ว นิสิตมีความรู้ ความสามารถ และเกิดทักษะ ดังนี้

1.1. เพื่อ ให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสังคมระหว่างประเทศ ลักษณะโครงสร้าง ความหมาย ตลอดจนความแตกต่างของกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศ

1.2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศ, ผู้ทรงสิทธิในกฎหมายระหว่างประเทศตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่าง ประเทศและกฎหมายภายใน

1.3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายทะเล การแบ่งอาณาเขตทางทะเล และสิทธิ หน้าที่ของรัฐในอาณาเขตทางทะเลส่วนต่างๆ

1.4. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับ เอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูต เขตอำนาจแห่งรัฐ 

1.5. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ (Legal Implementation) โดยผ่านการศึกษาในหัวข้อ ความรับผิดของรัฐ  หลักกฎหมายว่าด้วยการใช้กำลังในกฎหมายระหว่างประเทศ และการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ

1.6. เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงกระบวนทัศน์หรือนิติวิธีในทางกฎหมายระหว่างประเทศ และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้

 

2. เนื้อหา โดยละเอียด

2.1 สัปดาห์ที่ 1 :   บทนำว่าด้วยการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ

                              - การศึกษาเชิงนิติศาสตร์โดยแท้

                        - การศึกษานิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริง

                        - การศึกษาเชิงคุณค่า

 

                        สังคมระหว่างประเทศ  

2.1.1   ลักษณะโครงสร้างของสังคมระหว่างประเทศ

2.1.2   กฎหมายระหว่างประเทศสะท้อนโครงสร้างของสังคมระหว่างประเทศ

2.1.3        คำจำกัดความของกฎหมายระหว่างประเทศ

2.1.4        ประเภทของกฎหมายระหว่างประเทศ

2.1.5        บทบาทของกฎหมายระหว่างประเทศในสังคมโลก

2.1.6        การบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ

2.1.7        ประสิทธิภาพของกฎหมายระหว่างประเทศ

2.1.8        จุดอ่อนของกฎหมายระหว่างประเทศ

2.1.9    พัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ

2.2      ความท้าทายต่อสังคมระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน

 บทความ/ ตำรา ที่ อาจารย์assign

   - จตุภูมิ  ภูมิบุญชู. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ.

   - จตุภูมิ  ภูมิบุญชู. คำแนะนำในการเขียนตอบข้อสอบกฎหมายระหว่างประเทศ. 

   - จันตรี  สินศุภฤกษ์. กฎหมายระหว่างประเทศกับการเมืองระหว่างประเทศ.  สำนักพิมพ์วิญญูชน 2547  

   - ชุมพร  ปัจจุสานนท์.  กฎหมายระหว่างประเทศกับสังคมระหว่างประเทศ. ในเอกสารการสอนชุดวิชา กฎหมายระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ หน่วยที่ 1-8. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2538.

S.K. Kapoor International Law & Human Rights. 18th ed. central law agency. Allahabad 2011. pp. 1-23

เอกสารประกอบการเรียนชุดที่ 1 ปรับปรุง 2011  กดเพื่ออ่านเอกสาร

2.2 สัปดาห์ที่ 2 บ่อเกิดกฎหมายระหว่างประเทศ

2.2.1 สนธิสัญญา

2.2.2 จารีตประเพณี

2.2.3 หลักเกณฑ์ทั่วไปกฎหมาย

2.2.4 คำตัดสินของศาลและ
2.2.5 ความเห็นของนักนิติศาสตร์

2.2.6  ข้อมติขององค์การระหว่างประเทศ

2.2.7  Soft law / Positive law

เอกสารประกอบการเรียนชุดที่ 2 ปรับปรุง 2011 กดเพื่ออ่านเอกสาร

เอกสารอ่านเพิ่มเติม

Case Paquete Habana Case U.S. SC 1900

Asylum Case  ICJ 1950

Anglo-Norwegian Fisheries Case ICJ 1951

US Nationals in Morocco Case ICJ 1952

Lotus case PICJ 1927

North Sea Continental shelf  Case 1969

Namibia Case ICJ 1971 A.O. p.47

The Wimbledon Case PCIJ 1923

Eastern Carelia Case PCIJ 1923

Charzow Factory Case PCIJ 1927 P 29

Western sahara case  ICJ 1974

เกร็ดความรู้เรื่องสงครามปลาค๊อด Cod Wars

- Anthony  D Amato Manifest Intent and the Generation by Treaty of Customary Rules of International Law A.J.I.L., Vol 64 (1970) pp. 892-899 (อ่านหากสนใจ)

เอกสารประกอบการเรียน กฎหมายสนธิสัญญา

 

 NEW  งานสำคัญที่มอบหมาย รายงานส่วนบุคคล  กดเพื่อdownload ใบงาน

NEW  website น่าสนใจเกี่ยวกับสิทธิผู้ลี้ภัย

NEW วิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาในศาลโลก โดย อ. ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช

NEW ภารกิจสำคัญปัจจุบันของรัฐ : กิจการด้านการต่างประเทศ โดย อ. ประสิทธิ ปิวาวัฒนพานิช

New ธงคำตอบข้ออสอบกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ข้อสอบกลางภาค 2554

NEW การทำหนังสือสัญญาตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550โดย ศ. ดร. จุมพต  สายสุนทร

NEW การยอมรับและบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศในประเทศไทยโดย รศ. ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

New ตารางสำหรับสรุปย่อ คดี กดเพื่อ Download

New ตัวอย่างการตอบ ข้อสอบปัญหาตุ๊กตา กดเพื่อ Download

New โจทย์สำหรับงานชิ้นที่ 2  กดเพื่อ Download

New คะแนนสอบกลางภาค(ภาคปกติ) ไม่เป็นทางการ กดเพื่อ Download

New คะแนนสอบกลางภาค(ภาคพิเศษ) ไม่เป็นทางการ กดเพื่อ Download

 

เอกสารประกอบการเรียนชุดที่ 3 ปรับปรุง 2011 กดเพื่ออ่านเอกสาร

เอกสารประกอบการเรียนชุดที่ 4 ปรับปรุง 2011 กดเพื่ออ่านเอกสาร

เอกสารประกอบการเรียนชุดที่ 5 ปรับปรุง 2011 กดเพื่ออ่านเอกสาร

เอกสารประกอบการเรียนชุดที่ 6 ปรับปรุง 2011 กดเพื่ออ่านเอกสาร

เอกสารประกอบการเรียนชุดที่ 7ปรับปรุง 2011 กดเพื่อ Download เอกสาร

 เอกสารประกอบการเรียนชุดที่ 8 ปรับปรุง 2011 กดเพื่อ Download เอกสาร

 เอกสารประกอบการเรียนชุดที่ 9  กดเพื่อ Download เอกสาร

 เอกสารประกอบการเรียนชุดที่ 10  กดเพื่อ Download เอกสาร

ตัวอย่างข้อสอบเก่าลองเทำเล่น  กดเพื่อ Download เอกสาร


. การดำเนินการจัดการเรียนการสอน

- บรรยาย / ตั้งคำถาม

- สัมมนา / อภิปราย

- การทำศาลระหว่างประเทศจำลอง

 

4. สื่อการสอน 

4.1 แผ่นใส

4.2 ตำราและเอกสารประกอบการสอน

4.3 แบบฝึกหัด

 

5. การวัดและประเมินผล

5.1 คะแนนความมีส่วนร่วมและทดสอบระหว่างเรียน            5        คะแนน
5.2 รายงานเดี่ยว                                                     15      คะแนน
5.3 คะแนนสอบกลางภาค                                           20     คะแนน
                                                                                
5.4 คะแนนสอบปลายภาค                                          40      คะแนน

หมายเลขบันทึก: 443312เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2011 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)

ขอบคุณนะครับอาจารย์สำหรับไฟล์ข้อมูล

ขอบคุณค่ะ อาจารย์

อาจารย์ครับ ที่อาจารย์ว่า " สังคมระหว่างประเทศนั้นเป็นสังคมกึ่งอนาธิปไตย"

กระผมยังมีความสงสัยอยู่ว่า เหตุใดสังคมระหว่างประเทศจึงมีลักษณะเป็น " กึ่ง " อนาธิปไตย เพราะผมคิดว่าสังคมระหว่างประเทศมีความเป็น อนาธิปไตยเต็มรูปแบบแล้ว เหตุเพราะ ความสัมพันธ์ในสังคมโลกวางอยู่บนความร่วมมืออย่างสมัครใจ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งในบางกรณีก็ปรากฎชัดถึงหลัก Self-Help อันเป็นลักษณะที่แสดงถึงความไร้กฎเกณฑ์ที่แน่นอนระหว่างรัฐในการอยู่ร่วมกันในสังคมโลก ไม่ต่างอะไรกับสังคมยุคบรรพกาลที่อาศัยความแข็งแรงในการอยู่รอด ผมมองว่าสังคมระหว่างประเทศมีลักษณะคล้าย stateless society หากมองในระดับรัฐ

ดังนั้น กระผมจึงได้เรียนมา ณ ที่นี้ เพื่อขอความกระจ่างทางปัญญาครับ

อ.ค่ะ หาเนื้อหาในส่วนของ Public International Law ไม่พบค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

@ สุทธิชัย ครับที่ครูบอกว่าสังคมระหว่างประเทศเป็นกึ่งอนาธิปไตยเพราะว่า โดยทฤษฎีกฎหมายแล้วมันไม่มี รัฐหรือองค์กรใดมี อำนาจเหนือกว่ารัฐอื่น หรือ องค์กรที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ส่งผลให้รัฐทุกรัฐเท่าเทียมกัน ไม่มีรัฐบาล โลก ไม่มีความแตกต่างของรัฐต่างๆ ภาวะเช่นนี้เราเรียกว่าเป็นอนาธิไตย แต่อย่าลืมว่า สภาวการณ์ที่จะเป็นอนาธิปไตยได้นั้นต้องไม่มีศูนย์กลางอำนาจใดๆ เลย ไม่มีการใช้การบีบบังคับ Coercion หรือทัณฑ์ ให้ปฎิบัติตาม แต่จะเห็นว่าในสังคมระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ แม้จะยอมรับว่ามีภาวะของการเป็นอนาธิปไตย Anarchy แต่ในสังคมโลก เรายังมีกฎหมาย มีการใช้บังคับกฎหมาย และมีการเริ่มรวม ศูนย์กลางอำนาจเข้าสู่ UN หรือองค์การระหว่างประเทศ เช่น EU เป็นต้น ซึ่งในกรณ๊ของ EU นั้นจะเห็นไเด้ชัดว่า EU มี Supra National Power คือมีอำนาจเหนือรัฐ ที่จะกำหนดให้รัฐต้องปฏิบับติตามได้ เหตุนี้ เราจึงไม่อาจกล่าวได้ว่าสังคมระหว่างประเทศเป็นอนาธิปไตย 100% เราจึงกล่าวว่า เป็นสังคมกึ่งอนาธิปไตยครับ

@52242293 ครูอยากทราบครับว่า "เนื้อหาในส่วนของ Public International Law" ที่คุณกำลังหานั้นหมายถึงอะไรครับ ขอคำถามชัดๆ อีกครั้งครับ

ขอบคุณครับอาจารย์

ผมเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วครับ ขอบพระคุณมากครับอาจารย์ที่ช่วยสั่งสอนกระผม

แต่งานของอาจารย์ที่มอบหมายให้นี้

Case Paquete Habana Case
Eastern Carelia Case PCIJ 1923
Western sahara case  ICJ 1974 

3 cases นี้คือ แทน case Fisheries jurisdiction กับ Anglo-Norwegian ใช่ไหมครับ หรือว่าเพิ่มเติมจากอีก 2 cases ดังกล่าวครับ

@ สุทธิชัย 3 เรื่องนี้อ่านเรื่องย่อที่ครูให้ไป หรือ อ่านจากภาษาไทยในตำราของท่านอาจารย์จุมพต แล้วพยามจับประเด็นให้ได้ว่า สามเรื่องนี้ชี้ให้เห็นอะไรในประเด็นที่เกี่ยวกับบ่อเกิดกฎหมายระหว่างประเทศครับ ส่วนคคิี Fisheries jurisdiction กับ Anglo-Norwegian Case ให้อ่านภาษาไทยจากในหนังสือท่านอาจารย์จุมพตก่อนครับ ผมกำลังรวบรวมให้พวกคุณว่า จะต้องอ่านCaseในส่วนไหนบ้างครับ เสร็จแล้วจะรีบ Up load ให้ครับ

ครูเอาเอกสารประกอบการเรียนชุดที่ 2 ขึ้นให้้แล้วนะ

อาจารย์ Nuclear Test Case ที่อาจารย์บอก ไม่ทราบว่าเป็นกรณีพิพาทระหว่างรัฐไหนครับ ในเว็บของ ICJ มันมีอยู่ 3 กรณี คือ

1973

Nuclear Tests (New Zealand v. France)

Nuclear Tests (Australia v. France)

1995

equest for an Examination of the Situation in Accordance with Paragraph 63 of the Court's Judgment of 20 December 1974 in the Nuclear Tests (New Zealand v. France) Case

ในปี 1973 มีNUCLEAR CASE 2 คดี จะอ่านคดีไหนก็ได้ครับ ไม่ว่าจะเป็น New Zealand v. France หรือAustralia v. France เพราะทั้งสองคดีต่างก็พูดถึง หลัก Unilateral act create obligation เวลาอ่านให้ลองสังเ้กตที่หัวคดี p 253 ใน คดี Australia v. France หรือ p.457 ในคดีระหว่าง New Zealand v. France ครับ จะมีพูดสรุป ไว้ว่าในคำพิพากษาดังกล่าวตัดสินประเด็นอะไรไว้บ้าง แล้ว ค่อย scan หา รายละเอียดส่วนที่ศาลให้เหตุผลอีกทีครับ

ส่วนคำตัดสินในปี 1995 มีสองกรณีครับ กรณีแรกเป็นการที่ Australia ร้องขอให้ศาลดำเนินการออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และขอให้ศาลตีความคำพิพากษาในปี 1973 โดยในกรณีนี้ไม่ได้ฟ้องเป็นคดีใหม่ครับ

และอีกกรณ๊ในปี 1995 เป็นการยื่นขอให้ศาลพิจารณาความชอบธรรมของการใช้อาวุธนิวเคลียร์ครับ A.O.

ครูเอารายละเอียดรายงานครั้งที่ ๑ ขึ้นให้แล้วนะครับ ใช้ทั้งนิสิตภาคปกติ และนิสิตภาคพิเศษเลยนะครับ

หัวข้อรายงาน มันโหลดไม่ได้ ครับ

อาจารย์คะ โหลดหัวข้อรายงานไม่ได้ค่ะ

ครูแก้link.ให้แล้วนะครับ ลองดูอีกครั้งนะครับ

อาจารย์ครับ ส่วนเชิงอรรถนี่เมื่อมีการใส่ลงไปแล้วรู้สึกว่าจะกินพื้นที่หน้ากระดาษไปพอสมควร จึงทำให้เนื้อหาเลยออกมาเป็นประมาณ

6 หน้า มิทราบว่าจะอนุญาตให้ทำในปริมาณดังกล่าวได้หรือไม่ครับ

ขออภัยครับ กระผมขอยกเลิกคำถามข้างต้นครับ

ไม่ต้องกังวลนะเดี๋ยวครูจะตรวจให้ หน้า ไม่ใช่สาระสำคัญครับ อยากเห็นวิธีการตอบครับ ขอบใจมาก

อาจารย์ครับ เอกสารการเรียนการสอนที่นำมาลงบล็อกนี้ มิทราบว่าอีกนานไหมครับจึงจะมีการเพิ่มเติมจนถึงเท่าที่เรียนถึงในปัจจุบันครับ

ตอนนี้ครูกำลังปรับปรุง PPT อยู่นะครับ เพราะอันเดิมนั้นครูไม่ได้ใช้มาสองปีแล้ว ครับ เลยปรับไปสอนไป ต้องขอโทษด้วยที่ช้านะครับ เด๊๋ยวครูจะทยอยส่ง ppt ให้ไปxerox ตอนต้นชั่วโมงก่อนเรียนนะครับ ขอบใจมาก

ถ้าอยากอ่านก่อนไปลองดูที่ http://www.gotoknow.org/blog/viewbhoom/186338 เป็นversion 3 ปีที่แล้วครับ เนื้อหายังใช้แทนกันได้ครับ

มีนิสิตมาสอบถามครับว่า การที่รัฐจะอ้างเหตุการป้องตัว เพื่อยกเว้นความรับผิดระหว่างประเทศนั้น คำว่า "ป้องกัน"ในที่นี้ หมายถึงป้องกันตัวจากอะไร เละใครมีสอทธิในหการกล่าวอ้าง จากการค้นใน Draft article on the responsibility of state for the wrongful acts ครับ ครูพบว่า การป้องกันตัวที่รัฐจะอ้างยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศได้นั้นต้องเป็นการป้องกันตัวจากการใช้กำลังของรัฐอื่น ตามกฎบัตรสหประชาชาติครับ ที่จริงประเด็นนี้ท่าน ศาสตราจารย์ จุมพตท่านก็ได้กล่าวไว้ในหนังสือคำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศของท่านนะครับถ้าอ่านดูดีๆ จะเห็น

สิทธิมนุษยชนมันมีสถานะเป็นอะไรในทางกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นจารีตประเพณี หรืออนุสัญญาหรือหลักกฎหมายทั่วไปค่ะ

555555555555 แล้ว คุณค้นเจอว่ายังไงล่ะ

เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ หรือจารีตประเพณีระหว่างประเทศ

สู้ๆ ครับ ลองหาก่อน อย่างนี้มันง่ายไป อิอิ

ปล. ครูใบ้เรื่องอื่นในรายงานเยอะแล้ว

เบน ครูจะตอบคำถามเป็น เรื่องๆ ไปอย่างนี้นะครับ

1. เรื่องร่างข้อบทในเรื่องความรับผิดของรัฐ เท่าที่ครูศึกษาและเทียบดู ในหนังสือของท่านอาจารย์จุมพต ท่านยังใช้ร่างข้อบทใน ปี 1997 ซึ่งปัจจุบันได้ปรับแก้ เป็นร่างข้อบท ฉบับ 2001 เข้าใจว่า ท่านอาจารย์จุมพต กำลังปรับแก้อยู่ ดังนั้นในการศึกษา เรื่องการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ในส่วนที่ว่าด้วย ความรับผิดของรัฐ ให้ศึกษาได้จากลิงค์ นี้ครับ

http://untreaty.un.org/ilc/summaries/9_6.htm

ขอบคุณมากครับ อาจารย์

ผมรู้สึกว่ามันนานมากนะครับเรื่อง State Responsibility เริ่มคณะกรรมการชุดแรกตั้งแต่ปี 1949 จนบัดนี้ 2011 รวม 72 ปีแล้วก็ยังไม่มีวี่แววว่าตัว Draft Article จะได้กลายเป็นอนุสัญญาเสียที

ประเด็นที่สอง เรื่องความคุ้มกันจากเขตอำนาจรัฐ art 8 para.2 (b). ในCommentaries ได้ให้อรรถาธิบายไว้ว่า เป็นกรณีที่รัฐ เข้าแสดงสิทธิ ในทรัพย์สิน ในกรณีที่ บุคคลอื่น พิพาทกันในศาลของรัฐอื่นเกี่ยวกับ สิทธิในทรัพย์สินของรัฐ การที่รัฐเข้าแสดงสิทธิในศาลของรัฐอื่นที่มีเขตอำนาจไม่ถือเป็นการ ที่รัฐยินยอมให้รัฐเจ้าของเขตอำนาจศาลใช้อำนาจอธิปไตยทางศาลเหนือรัฐที่เข้าแสดงสิทธิได้แต่หากเป็นกรณีรัฐฟ้องไปยังศาลของรัฐอื่นที่มีเขตอำนาจเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์โดยตรง รัฐก็ไม่อาจอ้างความคุ้มกันได้ เนื่องถือเป็นการเริ่มคดีใหม่

จะเห็นได้ว่าในคำอธิบายไม่ได้ให้เหตุผลไว้ แต่ในความเห็นครู ครูคิดว่าเป็นกรณีที่รัฐเข้าปกป้องสิทธิของตนเอง โดยไม่ได้ฟ้องคดีใหม่ กรณีจึงไม่ถือเป็นการที่รัฐสมัครใจให้ศาลของรัฐอื่นที่มีเขตอำนาจเหนือคดี ใช้เขตอำนาจทางศาลเ้หนืิอ ตนครับ  อย่างไรก็ตามขอครูตามงานดูร่างเก่าๆ ก่อนหน้านี้อีกทีถ้าได้ยังไงจะมาตอบอีกครั้งครับ

Paragraph 2

(7) A State does not consent to the exercise of jurisdiction of another State by entering a conditional appearance or by appearing expressly to contest or challenge jurisdiction on the grounds of sovereign immunity or State immunity, although such appearances accompanied by further contentions on the merits to establish its immunity could result in the actual exercise of jurisdiction by the court.85 Participation for the limited purpose of objecting to the continuation of the proceedings will not be viewed as consent to the exercise of jurisdiction either.86 Furthermore, a State may assert a right or interest in property by presenting prima facie evidence on its title at issue in a proceeding to which the State is not a party, without being submitted to the jurisdiction of another State, under paragraph 2 (b). But, if a State presents a claim on the property right in a proceeding, that is regarded as an intervention in the merit and accordingly the State cannot invoke immunity in that proceeding

ดูรายละเอียดเพิ่มที่ http://untreaty.un.org/ilc/texts/instruments/english/commentaries/4_1_1991.pdf  หน้า 30 ครับ

เพชรพิทักษ์ แนวคิดเรื่อง absolute liability นั้นมีสนธฺสัญญาระบุไว้นะครับ คือ

1.Convention on International Liability for Damage Caused by Space Objects 1972

2. Vienna Convention on Civil Liability Nuclear damage 1963

3. Paris Convention on Third party Liability in the Field of Nuclear Energy 1960

สนใจลองอ่าน บทความนี้ดูครับ

http://law.du.edu/documents/djilp/35No1/State-Responsibility-Liability-Alexandre-Kiss.pdf

ขอบคุณมากครับอาจารย์

อ.วิว ครับ ผมอยากทราบว่า มีรัฐใดบ้างครับที่ ลงนาม ในปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 ครับ

ขอบคุณครับ

นับ แต่วันที่ 17 กันยายน 2554 เป็นต้นไป นิสิตที่ประสงค์จะปรึกษาอาจารย์ จตุภูมิ ให้มาแจ้งให้อาจารย์ทราบ และลงไปรอพบที่ห้องเลขานุการคณะ

ครูถอดบทเรียนผลการสอน กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองภาคพิเศษได้อย่างนี้นะครับ

 

สรุปการถอดบทเรียนการเรียนการสอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง นิสิต ภาคพิเศษ1/2554

by Chatubhoom Bhoomiboonchoo on Sunday, October 2, 2011 at 11:08am

1. นิสิตส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องหารหาหลักกฎหมายระหว่างประเทศมาปรับใช้กับคดี เนื่องจากยังไม่เข้าใจนิติวิธีในกฎหมายระหว่างประเทศและสภาพสังคมระหว่าง ประเทศที่ส่งผลให้ สังคมระหว่างประเทศต่างกับสังคมในประเทศมากพอ

2. ในเรื่องการอ้างหลักกฎหมายระหว่างประเทศ นิสิตไม่ได้บอกสถานะ Lex lata หรือ Lex ferenda  หรือ ว่าเป็นสถานะทางกฎหมายว่ามาจากที่มาของกฎหมายประเภทใด

3.นิสิต เข้าใจสับสนเรื่องเขตอำนาจรัฐ และเอามาพันกับกฎหมายภายใน โดยเฉพาะกรณีการซ้อนทับกันของเขตอำนาจรัฐ Concurrent of jurisdiction   โดยเฉพาะกรณี การกระทำความผิดบนเรือต่างชาติในน่านน้ำภายใน และ การซ้อนทับกันของเขตอำนาจในเขตเศณษฐกิจจำเพาะ และเขตต่อเนื่อง

4. นิสิต ไม่วางหลักกฎหมายเรื่ององค์ประกอบของความรับผิดของรัฐ / เขตอำนาจรัฐและปรับบทตามองค์ประกอบ

5. การอ้างคดีเพื่อสนับสนุนหลักกฎหมายนั้น นิสิตยังไม่สามารถอ้างได้  และไม่สามารถวิเคราะห์ เชื่อมโยงความเห็นทางกฎหมายในคดี และ ในโจทย์ได้

5. นิสิตเข้าใจสับสนเรื่องการแก้ไขเปลี่ยนแปลง และการแก้ไขเพิ่มเติมในสนธิสัญญา

**************************************************

 

บทเรียนสู่อาจารย์

1. การสอนให้พูดช้าๆ ยกตัวอย่างเยอะๆ ที่เชื่อมโยง ใกล้ตัว ง่ายๆ และเห็นภาพมากกว่านี้

2.การ สอนเรื่องการซ้อนทับกันของเขตอำนาจควรยกตัวอย่างและมีแผนภาพให้เห็นชัด ควรมีแบบฝึกหัดให้เด็กๆ ทำมากกกว่านี้ การให้เด็กๆ ทำรายงาน ค้นคว้ายังไม่เพียงพอ และต้องมีตัวอย่างการเขียนตอบข้อสอบ ที่มีการวางหลักกฎหมายให้เด็กๆ ดูด้วยเพื่อความเข้าใจ

3. เน้นให้เด็กหัดเขียน วิเคราะห์คดี และ อ้างเหตุผลในคดีต่างๆ สนับสนุน คำตอบของตนเองเป็น และควรเน้นถึงคุณค่าการวางหลักกฎหมายประกอบการตอบข้อสอบ

4.ควรทำคลังข้อสอบเก่าให้เด็ก ฝึกหัดทำ

 

ใครมีข้อแนะนำเพิ่มเติม แวะมาเม้นได้เลยนะครับ ครูจะได้เอาไปปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการสอนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท