ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ศรีสะเกษ
ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ศรีสะเกษ ศรีสะเกษ

ผ้าไหมลายลูกแก้ว ลายผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณะของจังหวัดศรีสะเกษ


ลายลูกแก้วเหลืองดอกลำดวนผ้าเอกลักษณ์ศรีสะเกษ

"ผ้าไหมลายลูกแก้ว ลายผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ"

         ผ้าไหมลายลูกแก้ว มีมาตั้งแต่อดีตกาลกว่า 200 ปีก่อน  การเรียกชื่อ ผ้าไหมแตกต่างไปตามท้องถิ่นบ้างเรียกว่า "ผ้าแพรเหยียบ" เหตุที่เรียกก็เพราะว่าผู้ทอจะต้องเลือกเหยียบไม้สลับตะกอ ซึ่งที 4 ตะกอ เพื่อให้ได้ลายผ้าที่เป็นลายเฉพาะของผ้าแพรเหยียบ  ซึ่งก็คือลายลูกแก้วตามที่ต้องการ

        แนวคิดการทอผ้า ได้จากไหมเปลือกนอกที่มีขนาดเส้นใหญ่หยาบ เมื่อทอผ้าจะผ้าเนื้อหนา หยาบ เหมาะสำหรับตัดเป็นเสื้อใส่ทำงานที่ต้องทำอย่างสมบุกสมบันใส่ทำนา ทำไร่ ทอ 4 ตะกอ ยกดอกเป็นลายลูกแก้ว ผู้ทอต้องเป็นคนที่มีความชำนาญทอผ้าเก่ง มีความละเอียดลออและความปราณีตชาวบ้านนิยมใส่ผ้าลายลูกแก้วในการทำงานมักนิยมย้อมผ้าด้วยผลมะเกลือจะทำให้ได้เสื้อที่มีความหนา น้ำหนักเพิ่มเสื้อย้อมมะเกลือมีคุณสมบัติซักแล้วไม่ต้องรีดสวมใส่ได้เลย ปี พ.ศ. 2545 สภาวัฒธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ประกาศให้ผ้าลายลูกแก้วสีเหลืองดอกลำดวนเป็นผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันการผลิตผ้าไหมลายลูกแก้วเป็นผลิตภัณฑ์สุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ  5 ดาว

ขั้นตอนการทอ

เส้นยืน  ย้อมสีเดียว เก็บตะกอ  4 ตะกอตามลวดลายที่กำหนด              

เส้นพุ่ง  ย้อมด้วยสีเดียวกับเส้นยืนหรือต่างกันก็ได้ ถ้าย้อมสีต่างกันจะได้สีที่แปลกออกไป

การทอ  ผ้าลายลูกแก้ว  4 ตะกอจะได้ตะกอเป็นตัวกำหนดลาย โดยไม่มีการแยกตะกอสำหรับทอลายขิด เพื่อเป็นพื้นของผ้า เวลาทอจะทอโดยการยกตะกอ

ยกตะกอ  1  กับ  3 และ 3 กับ 4  สลับกับการยกตะกอ ยก 2 ครั้ง เหยียบ 2 ครั้ง

ยกตะกอ  3  กับ  4 และ 1 กับ 4  สลับกับการยกตะกอ ยก 2 ครั้ง เหยียบ 2 ครั้ง

ยกตะกอ 1 กับ 2 และ  2  กับ 3  สลับกับการยกตะกอ  ยก 2 ครั้ง เหยียบ 2 ครั้ง

ยกตะกอ 3  กับ 4 และ 1 กับ 3   สลับกับการยกตะกอ  ยก 2 ครั้ง เหยียบ 2 ครั้ง

ยกตะกอ  1 กับ 2  และ 1 กับ 4  สลับกับการยกตะกอ  ยก  2 ครั้ง เหยียบ 2 ครั้ง

ครึ่งของลายลูกแก้ว

ยกตะกอ  3  กับ 4 และ 2 กับ 3  สลับกับการยกตะกอ  ยก 2 ครั้ง  เหยียบ 2 ครั้ง

ยกตะกอ  3  กับ  4 และ 1 กับ 4 สลับกับการยกตะกอ  ยก 2 ครั้ง  เหยียบ 2 ครั้ง

ยกตะกอ  1  กับ  2 และ 2 กับ 3 สลับกับการยกตะกอ  ยก 2 ครั้ง  เหยียบ  2 ครั้ง

ยกตะกอ  3  กับ  4 และ 1 กับ 4 สลับกับการยกตะกอ  ยก  2 ครั้ง เหยียบ  2 ครั้ง

ยกตะกอ  1 กับ  3  และ 3 กับ 4 สลับกับการยกตะกอ  ยก  2 ครั้ง เหยียบ  2  ครั้ง

 

 

หมายเลขบันทึก: 443269เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2011 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท