บันทึกการจัดหลักสูตรให้ KGS


Leadership Program

เมื่อวันที่ 24-25 พ.ค. ที่ผ่านมามีโอกาสได้รับเชิญให้ไปจัดหลักสูตรให้กับบริษัท KGS ในหัวข้อการพัฒนาภาวะผู้นำ ในครั้งนั้นผมใช้ชื่อการสัมมนาว่า 2 be Big:Applying Leadership within you ก็นับว่าเป็นการฝึกอบรมสัมมนาที่น่าสนใจมากครับกับจะนวนผู้เข้าอบรมประมาณ 40 คน โดยโจทย์ของการจัดอบรมครั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาผู้บริหารระดับกลางให้มีภาวะผู้นำ

แต่การจัดสัมมนาครั้งนี้ผมไม่ได้สอนเนื้อหาว่าหัวหน้างานควรเป็นอะไรหรืออย่างไร อะไรควรไม่ควรทำ แต่ผมแนะนำให้เขารู้จักกับภาวะผู้นำในมุมมองใหม่

1. เกือบทุกครั้งที่พูดถึงเรื่อง leadership เกือบทุกท่านคิดถึงองค์กร นึกถึง Organizational Chart นึกถึง Chain of command หรือสายการบังคับบัญชา ดังนั้นในคอร์สนี้ผมเลยทำให้ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงว่าที่จริงแล้วการเป็นผู้นำหรือการสร้างภาวะผู้นำนั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก Leadership คือความสัมพันธ์ ระหว่างคนนำและคนตามในสภาวะการนั้นๆ หรืออาจบอกได้ว่ามันคือการสร้างอิทธิพลจูงใจและการสร้างอิทธิพลนี้ก็เกิดขึ้นได้หลายทางไม่เฉพาะกับเจ้านายต่อลูกน้อง แต่กับลูกน้องต่อเจ้านายด้วย และก็จะครอบคลุมถึงรวมถึงการมีอิทธิพลต่อคนรอบข้างด้วย

คนเรานี้มีส่วนต่างๆ ในชีวิตที่เราต้องสัมผัสด้วยครับ เช่น ครอบครัว สังคม หรือแม้กระทั่งตัวเองท่านก็ต้องนำด้วย ในการสัมมนาผมได้ถามคำถามผู้ร่วมสัมมนาครับว่าใครคือผู้ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตท่านมากที่สุด มากกว่า 80% ตอบว่าครอบครัวหรือพ่อแม่เป็นผู้มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตมากที่สุด มากกว่าเจ้านายหรือคนอื่นๆ นั่นก็แสดงให้เห็นแล้วครับว่าคนใกล้ต้วเรานั้นเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อเรามาที่สุดและก็ทำให้เขาเป็นผู้นำด้วย ในทางกลับกัน แล้วท่านล่ะเป็นผู้มีอิทธิพลหรือสร้างแรงบันดาลใจให้ใครบ้าง ครับไม่มากก็น้อยใช่หรือไม่ครับ

2. เมื่อพูดถึงภาวะผู้นำมักมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่างความหมายหรือแนวทางปฏิบัติระหว่างผู้นำและผู้จัดการ เพื่อเป็นการให้ความกระจ่างผมเลยให้ชุดของสมรรถนะหรือพฤติกรรมที่แตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการแต่ไม่บอกในตอนแรกครับว่ามันต่างกันอย่างไรแต่ให้ผู้เข้าอบรมได้ลองแลกเปลี่ยนในกลุ่มดูก่อน ผลที่ได้ออกมาคล้ายคลึกกันครับคือยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเล็กน้อยอย่างเช่นในเรื่องของผู้นำซึ่งคนเป็นผู้นำมักจะใช้คำถามว่าอย่างไรหรือ How ในการถามลูกน้องมากกว่าผู้จัดการซึ่งมักจะถามว่า What อะไร

3. Kouzes and Posner กูรูที่ผมเคารพเกี่ยวกับ Leadership กล่าวไว้ครับว่าพื้นฐานของภาวะผู้นำนั้นคนเราต้องทราบซะก่อนว่า Values หรือคุณค่าที่เรายึดถือคืออะไร และเป็นแนวทางเดียวกันกับ values ขององค์กรหรือไม่ ยกตัวอย่างถ้าท่านยึด value คือความรับผิดชอบ แล้วท่านบอกกันลูกท่านว่าพ่อหรือแม่จะไปดูการแสดงของลูกที่โรงเรียน แต่ด้วยความกระทันหันทันด่วน ท่านได้รับมอบหมายจากเจ้านายให้ไป deal งานกับลูกค้าในวันและเวลาเดียวกัน ท่านจะเลือกสิ่งไหน เห็นไหมครับว่าคุณค่าหรือ value ตัวเดียวกันแต่ทำให้เราแสดงออกต่อเหตุการณ์ไม่เหมือนกัน ผมตอบไม่ได้ครับว่าท่านควรเลือกอะไร ท่านต้องเป็นคนตอบปัญหาเหล่านี้เอง ผมเพียงทำให้ท่านได้ตระหนักถึงสิ่งที่ท่านยึดถือเท่านั้นครับ และในตอนท้ายของการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ผมได้ให้ผู้เข้าอบรมทำกิจกรรมเรียกว่า Values builder คุณค่านั้นเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้แต่รู้สึกได้ครับ และดูเหมือนเป็นสิ่งที่เราปฏิบัติกับมันเหมือนมันไม่มีตัวตนแต่กลับเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเราครับ เพื่อเป็นการทำให้มันกระจ่างจับต้องได้ ผมเลยให้ผู้อบรมสร้าง Values ขึ้นมาโดยใช้ตัวต่อที่เรียกว่า ZOOM ครับ ในกิจกรรมนี้ผมให้ในกลุ่มหารือก่อนว่า Values ขององค์กรนั้นควรมีรูปร่างอย่างไร และในกลุ่มให้ช่วยกันระดมสมองและต่อเป็น Values ของเขาออกมา นับว่าเป็นกิจกรรมที่ทำให้ทุกท่านมีส่วนร่วมจริงๆ ครับ

 สำหรับValues ของแต่ละกลุ่มก็จะมีลักษณะที่ต่างกันนะครับ ท่านสามารถชมได้ตามภาพด้านล่างนะครับ น่าสนใจจริงๆ ครับ

คำสำคัญ (Tags): #ภาวะผู้นำ leadership
หมายเลขบันทึก: 443019เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2011 14:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท