ก้าวหนึ่งของ..ตำบลสุขภาวะ


เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 54 ทาง สปสช.เขต2 ได้จัดประชุม ชี้แจงโครงการความร่วมมือในการสนับสนุนการพัฒนาตำบลสุขภาพ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง  ระหว่าง สสส. สธ. สช. สพฉ. และ สปสช. ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และออกแบบกระบวนการสู่ตำบลสุขภาวะ

ผู้เข้าประชุม มาจาก ตำบลนำร่อง10 พื้นที่ ที่ เราช่วยกันเลือก และทำหนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการฯ จำนวนรวม 40 คน พอดิบพอดี  เริ่มต้นการประชุมด้วยการ แนะนำโครงการฯ ที่มา ของโครงการ จากนั้น แต่ละพื้นที่ แนะนำตัว และเล่าสิ่งดี ๆ ในพื้นที่หรืออะไรก็ได้ที่อยากจะเล่าให้เพื่อน ๆ ตำบลอื่นฟัง 

 

แลกเปลี่ยนกันพอสนุกสนาน  คุณหมอชาตรี ย้ำกับทุกท่านว่า งานนี้ ไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระ แต่ เป็นการร่วมแรง เอาสิ่งดี ๆ จากพื้นที่ มารวมกัน เช่นการจัดดอกไม้  เราไม่ได้จะชวนใครมาปลูก เพราะแต่ละพื้นที่ล้วนมีของดี ๆ ขอให้นำมารวมกัน ช่วยกันจัด ช่วยกันมอง

เมื่อทุกคนเห็นข้อดีร่วมกันแล้ว จึงช่วยกันเสนอ ความต้องการที่อยากเห็น โครงการให้ประโยชน์อะไร (อนาคตที่ปรารถนา) ฉันจึงนำมาแสดง แบบ Mind Map

อนาคตที่ทุกคนต้องการ มีประเด็นร่วมกัน

ประเด็นร่วมตามความถี่ จะสรุปได้อีกแง่มุมหนึ่ง คือ

ความคาดหวังต่อโครงการความร่วมมือ พัฒนาตำบลสุขภาวะ ของ 5 ส.
ลำดับ ความคาดหวัง ความถี่ รวม
1 เกิดความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างพื้นที่ ที่ประสบความสำเร็จต่าง ๆ  //////////// 12
2 ได้พัฒนาตำบลให้มีสุขภาวะ(ลดความเจ็บป่วย,จนน้อยลง,มีความสุขเป็นตำบลน่าอยู่,ผู้คนดูแลสุขภาพตนเองได้) /////////// 11
3 เกิดความรัก ความสามัคคี/ได้เพื่อน/หนุนเสริมซึ่งกันและกัน ///////// 9
4 มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ,เกิดการประสานงานร่วมจาก 5 ส.  ///// 5
5 ได้รู้ข้อมูลพื้นฐานของตำบลอย่างครบถ้วน รอบด้าน //// 4
6 เกิดแผนพัฒนาตำบลอย่างสมบูรณ์ จากข้อมูลที่ได้ //// 4
7 เกิดแนวคิด นวัตกรรมใหม่ ๆ  /// 3
8 ประชาชนตระหนักในการดูแลตนเอง เริ่มจากตนเอง พัฒนาไปสู่ตำบล สุขภาวะ /// 3
9 ได้พัฒนากองทุน ให้ประสบผลสำเร็จ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้, ก้าวหน้า,เข้มแข็ง) /// 3
10 กองทุนเป็นตัวเคลื่อนกิจกรรมด้านสุขภาพ ตลอดไป // 2
11 ได้งบประมาณตรงตามเป้าหมายมากขึ้น // 2
12 เกิดระบบเครือข่าย สู่ตำบลสุขภาวะเป็นรูปธรรม // 2
13 มีตำบลต้นแบบ และ ขยายออกสู่ตำบลอื่น ๆหรือ อำเภออื่นๆ // 2
14 มีแนวทางการใช้เงินชัดเจน และ กว้างขึ้น / 1

ดูจากความสนใจอันดับ 1ถึง 3 ล้วนเป็นเป้าหมายของโครงการ และเป้าหมายของสังคมทั้งสิ้น  ก้าวต่อไป คือ เครืองมือ และ วิธีการ จะได้มาซึ่งผลลัพธ์ สมประสงค์ของทุกฝ่าย

 

 

หมายเลขบันทึก: 442885เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2011 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชื่นชมผู้เก็บประเด็น ซึ่งเก็บประเด็นมาครบ และแจงความถี่มากน้อย การ "เก็บประเด็น" นั้นก็เปรียบเหมือนการจัดดอกไม้ในแจกัน ดอกไม้หลากสีต่างพันธุ์ ประเด็นก็หลากหลาย ที่สำคัญคือ ดอกไม้มิใช่ของผู้จัด ดอกไม้เป็นของต้นไม้ ประเด็นก็เป็นของพื้นที่ มิใช่ขององค์กรสนับสนุน และไม่ใช่ของผู้เก็บประเด็น

 

จากการเปิดใจหากันวันนั้น พบว่าเราต่างก็มี "ปลายทาง" เดียวกัน แต่ละคน แต่ละพื้นที่ก็ก้าวจากจุดที่ตนอยู่ ไปสู่อนาคต ซึ่งมีหลายมรรควิถี การตามไปหนุนให้ชุมชนค้นพบตนเอง พบความภูมิใจ พบจุดแข็งและโอกาสนั้น ต้องใช้เวลาและความทุ่มเทอย่างยิ่ง การ "จัดการ" จึงมีบทบาทสำคัญ จัดการตนเองให้ "เป็นภาชนะที่ว่าง" พร้อมเรียนรู้ จัดการความสัมพันธ์ จัดการทรัพยากรอันแสนจำกัด เวลาน้อยเหลือเกิน ค่าใช้จ่ายในการไปมาหากัน และการจัดการ "บอกความคืบหน้า" ให้พวกพ้อง และผู้สนับสนุนรับรู้ และร่วมออกมาก้าวด้วยกัน ซึ่งอาจต้องเรียนรู้ไป ปรับไป อย่างต่อเนื่อง นานหลายปี

หลังจากเริ่มปะติดปะต่องานได้บ้าง ฉันก็ได้เริ่มติดต่อ อบต.ทั้ง สิบแห่ง ว่าเริ่มเก็บข้อมูลกันเป็นอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งปรึกษา

วางแผนลงเยี่ยมพื้นที่ กะว่าจะไปให้ครบภายใน 1 เดือน ต่อจากนี้ ส่วนใหญ่ก็เริ่มเก็บข้อมูลกันแล้ว แต่มีบางพื้นที่ ที่เริ่มขยับ

หลังจากที่ฉันโทรไป(ติดตาม) แสดงว่าส่วนหนึ่ง เราก็ต้องไม่ทิ้งเขา แต่ฉันก็ไม่ได้เร่งเร้าอะไรมาก เพราะทราบดีว่า พื้นที่มีงาน

มากมายกันอยู่เต็มมือแล้ว และ ตำบลแรกที่เชิญให้ไปเยี่ยมเยียน คือ ไทรย้อย (วันที่ 17 มิย.) ตามมาด้วย หาดสองแคว

พอดีเขาจะมีคนมาดูงานกัน เขาก็เลยชวนเราไปด้วย จะได้ต้อนรับทีเดียว สำหรับหาดสองแคว เป็นพื้นที่ต้นแบบอยู่แล้ว

ฉันก็เลยจะถือโอกาส เชิญ คณะทำงานระดับจังหวัด ไปศึกษาดูงานด้วยกันเลย ช่วงวันที่ 19-21 มิย. หลังจากนี้ เป็น นครไทย

เขาบอกว่า สะดวกหลังวันที่ 22 แพลนงานได้ประมาณนี้ก่อน ส่วนที่อื่น ๆ กำลังปรึกษาภายในกัน ยังไม่ให้คำตอบ

ฉันก็ว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวไป สามแห่งนี้ก่อน หลังจากนี้ค่อยว่ากัน

ด้านการบริหารจัดการภายในสำนักงาน ก็มีความเห็นหลายฝ่าย ในการเชิญชวนหัวหน้ากลุ่มงานลงพื้นที่ ส่วนใหญ่ อยากให้

วางเป้าหมายของการลงพื้นที่ให้ชัดเจนก่อน ค่อยไปกัน แต่บางส่วน บอกว่า ไปดูให้เห็นเหมือนกันก่อน ค่อยกลับมาวางแผน

แล้วจริง ๆ มันควรจะเป็นอย่างไรกันหนอ???

ตามมาอ่านความคิดน้องๆ คนพบสุขครับ ตามมาให้กำลังใจกับ "นิสัย" ใหม่ คือ บันทึกความคิด และ "ความงอกงาม" ทุกวัน เก็บเล็กผสมน้อย แบบเดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ

เมื่อเวลาผ่านไปสัปดาห์หนึ่ง ย้อนกลับมาอ่าน จะพบว่าสิ่งที่บันทึกไว้มีค่า

วันหนึ่งๆ มี 86,400 วินาที มีเวลาพอจะบันทึก สบาย สบาย

ขอแก้ไขกำหนดลงพื้นที่ ของหาดสองแคว ค่ะ แขกของเขาคือ อบต.ต้นยวน จ. นครศรีธรรมราช จะมาถึงหาดสองแคว

เย็นวันที่ 20 ทานเลี้ยงและเข้าพักก่อน ค่อยเข้าฐานเรียนรู้วันที่ 21 มิย. ค่ะ

ก้าวมาอีกนิดหนึ่ง วันนี้(13 มิย 54) คุยกันเรื่องความคืบหน้าโครงการ ฉันก็มานั่งนึก ส่วนหนึ่งของโครงการ คือ เฉพาะการเลือกพื้นที่เราก็ตัดสินใจ ทั้งปรับ และเปลี่ยนกันหลายรอบ เมื่อข้อมูลเพิ่มขึ้น หรือบริบทเปลี่ยนไป รวมถึงความเหมาะสมกับระยะเวลาการดำเนินโครงการ จาก 19 แห่ง ที่ต่างกันแบบสุดขีด เป็น 15 พื้นที่ แต่เมือลองไปเก็บข้อมูลคร่าว ๆ แล้ว สุดท้ายเราก็รู้ว่า แค่ 10 เราก็ทำไม่ไหวแล้ว (ในเวลาจำกัด) สุดท้ายจึงเหลือ 10 พื้นที่ ที่เหมาะเจาะอย่างยิ่ง ส่งหนังสือไปเชิญเขาด่วน จากนั้น ประชุมชี้แจงโครงการ ปรากฎว่า ทั้ง 10 พื้นที่ ตอบรับเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี และ ได้เริ่มเก็บข้อมูลเบื้องต้นกันแล้ว เจ้าค่า

13 มิถุนายน คุณพุ่มพวง ดวงจันทร์ จากไป 19 ปี นับแต่ พ.ศ. 2535

คุณผึ้งนั้น "สุดยอด" หลายด้าน เธออ่านหนังสือไม่ออก แต่รู้โลกมากจริงๆ

ส่งมาเป็นกำลังใจให้ทีม ลองหาผลงานคุณผึ้งมาฟังซิครับ ใจมาเป็นกอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท