ความร้ายในโลกล้วน เหลือหลาย


ความร้ายในโลกล้วน เหลือหลาย

 

 

 

 

 

ความร้ายในโลกล้วน             เหลือหลาย
รุมรอบรบกายใจ                   เกลื่อนแท้
สิ่งอื่นจักหักหาย                    หาห่อน  มีฤา
เว้นแต่ความดีแก้                   กลับร้ายกลายดีฯ...

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ)

 

ความขัดแย้งในโลกเป็นปรากฏการณ์ [Phenomena] เกิดขึ้นมากมาย และคงจะเป็นธรรมดาที่จะเกิดมีขึ้นต่อไปอีก คงจะตราบนานเท่านานหากมนุษย์ยังไม่เสมอกันในทิฐิ

 

ทำไมความขัดแย้งจึงเกิดขึ้น 

ความขัดแย้งเป็นขั้วตรงกันข้ามกับความปรกติสุข ความสงบสุข ความเงียบสงบ เป็นต้น ความขัดแย้งจึงเป็นสิ่งอันไม่น่าปรารถนา ตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักว่าอย่างไร คือ ”ความดี ความชั่วจึงเกิดขึ้น เมื่อมนุษย์รู้ว่าความงามเป็นเช่นไร ความเลวทรามย่อมเกิดมีขึ้นมา” ความแตกต่างจึงกลายเป็นความขัดแย้ง เพราะมนุษย์เข้าไปจัดการ  กำหนดและให้ความหมาย

 

ความขัดแย้งจึงไม่ใช่สิ่งที่ไม่น่าปรารถนาหากไม่เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางจิตของมนุษย์ อันไม่น่าปรารถนาของมนุษย์เฉพาะบุคคล กลุ่ม สังคม หรือตามช่วงอายุ  วัย วุฒิภาวะและอารมณ์ เพราะในบริบทของแต่ละสังคมย่อมนิยาม ให้ความสำคัญกับสิ่งต่างๆ แตกต่างกันออกไป ความไม่ขัดแย้งจึงหาได้จากที่ไหน มนุษย์จึงรู้จักกับความขัดแย้งและอยู่กับความขัดแย้งมาอย่างชาชิน และสามารถจัดการกับสภาวการณ์ดังกล่าวคือ ความขัดแย้งนั้นได้ จนสร้างสังคม และอารยธรรมดังที่ปรากฏอยู่ปัจจุบัน ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นสังคมแบบศิวิไลน์ [Civilization society] หรือพหุสังคมอันเป็นสังคมที่หลากหลาย [Plural society]

 

ความขัดแย้งเป็นเพียงโลกทัศน์ [World views] และชีวทัศน์ [World life]

 

ความขัดแย้งเป็นมุมมองของมนุษย์ที่มีต่อโลกอันอยากให้โลกได้เป็นดังที่ต้องการ มากกว่าการให้มองโลกดังที่โลกเป็นคือ “เป็นธรรมดา” ความเป็นธรรมดาคือมีเพียงปัจเจกบุคคลเท่านั้นที่จะเข้าใจโลกมิใช่ให้โลกเข้าใจปัจเจกบุคคล มีเพียงตัวของปัจเจกเท่านั้นที่จะเข้าใจ ตระหนักรู้ เรียนรู้ และรับรู้ความจริง ตามที่เป็นไปของโลกผ่านชีวิตของตนเอง

 

มนุษย์ผู้สร้างความขัดแย้ง 

มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ไม่ว่าโดยศักดิ์ศรี และคุณค่าของตน โดยเฉพาะมุมมองทางพระพุทธศาสนาที่มนุษย์เท่าเทียมกันโดยความประพฤติ และคุณงามความดี มิใช่ชาติหรือตระกูล สังคม ฐานะ วัยหรือการศึกษา มนุษย์ไม่ได้แตกต่างกันหากแต่การทำอันเกิดแต่มุมมองของตนที่ทำให้เกิดความแตกต่างกันมากน้อย โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับสิ่งต่างๆ ของมนุษย์แต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป  เมื่อมนุษย์ให้ความสำคัญและนำไปสู่การครอบครองเพื่อให้ได้มาในเวลาเดียวกัน ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้น

 

ความต้องการเกินจำเป็นคือต้นเหตุแห่งความขัดแย้ง 

เมื่อความต้องการของคนเกิดพร้อมกันในเวลาเดียวกันกับสิ่งเดียวกัน จึงทำให้เกิดความขัดแย้ง แย่งชิงเพื่อการได้มาครอบครองมากกว่าการใช้สอยเพื่อประโยชน์อันแท้จริงให้เหมาะกับอัตภาพเพื่อทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ ความต้องการคือตัว “ตัณหา” จึงเป็นรากเหง้าแห่งความขัดแย้งที่นำมาสู่ปัญหานานานัปการ การต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่จึงเป็นการต่อสู้กับความต้องการภายในของตนเอง อันเกิดแต่จิตใจของบุคคลมากกว่าการสู้กับสิ่งที่เป็นข้าสึกภายนอก การต่อสู้ที่จำเป็นของมนุษย์จึงเป็นการสู้กับความต้องการของตนเอง หากสามารถขจัดเสียซึ่งความต้องการกับตัวตัณหาอันเป็นความทะยานอยากได้ย่อมสามารถขจัดเสียซึ่งความขัดแย้งได้อย่างยั่งยืน

 Large_dsc03632

สนทนาพาที

.

คำสำคัญ (Tags): #ความขัดแย้ง
หมายเลขบันทึก: 442616เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2011 08:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท