การสร้างมูลค่าเพิ่มของงานวิจัย


ไม่ใช่ผลิตวิจัยเพื่อขึ้นหิ้ง แต่ผลิตเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

                         การสร้างมูลค่าเพิ่มของงานวิจัย 

นิยามศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 

งานวิจัย  หมายถึง กระบวนการที่มีระเบียบแบบแผนในการค้นหาคำตอบของปัญหา หรือการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ตลอดจนถึงการประดิษฐ์คิดค้นที่ผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้าหรือทดลองวิเคราะห์และตีความข้อมูลตลอดจนสรุปผลอย่างเป็นระบบ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2554)

                งานสร้างสรรค์ หมายถึง ผลงานวิชาการ (ไม่จำเป็นต้องเป็นงานวิจัย) ที่มีการศึกษาค้นคว้าที่แสดงทางศิลปะหรือดนตรีอันเป็นที่ยอมรับ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2554)

                การสร้างมูลค่าเพิ่มของงานวิจัย หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติที่ส่งผลให้เกิดมูลค่าหรือคุณค่าเพิ่มขึ้น ในแต่ละขั้นตอนของการผลิตผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จนกระทั่งได้ผลผลิตเกิดขึ้น และผลผลิตไปสู่ผู้ใช้ประโยชน์ มีการใช้ประโยชน์จากผลผลิตที่เกิดขึ้น 

                กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ หมายถึง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ประโยชน์จากผลผลิตจากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น   อบต./ สอ. ที่จะรับผลผลิตจากงานสร้างสรรค์ ได้แก่ เครื่องวัดระดับความเค็มในอาหารเหลว ไปใช้ในการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหรือกลุ่มเสี่ยงเป็นต้น

                ผลผลิตจากงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์  หมายถึง ผลงานที่เกิดจากกระบวนการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์และตีความข้อมูล ตลอดจนสรุปผลอย่างเป็นระบบ

 แนวปฏิบัติในการสร้างมูลค่าเพิ่มของงานวิจัย

 

                การสร้างมูลค่าเพิ่มของงานวิจัย ผู้วิจัยรวมถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบพันธกิจด้านการบริหารงานวิจัย สามารถเพิ่มมูลค่าหรือคุณค่าให้แก่งานวิจัยได้ตลอดในทุกขั้นตอนของการผลิตจนถึงขั้นนำส่งผู้ใช้ผลวิจัย การเพิ่มมูลค่าหรือคุณค่า มีแนวปฏิบัติพอสังเขป ดังนี้

ผังขั้นตอนแนวปฏิบัติการสร้างมูลค่าเพิ่มของงานวิจัย

- คณะผู้บริหารของสถาบัน

- ผู้รับผิดชอบการบริหารงานวิจัย

- ผู้วิจัยวิจัย

- ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย

 

                      เริ่มต้น

 

 

 

       กำหนดประเด็นการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

-  หัวหน้าโครงการวิจัยและคณะวิจัย

-  ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย

-  ผู้ทรงคุณวุฒิ/ที่ปรึกษาโครงการวิจัย

 

 

สร้างทีมวิจัยและ

เขียนโครงการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

- คณะวิจัย

-  ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย

-  ตัวแทนผู้เกี่ยวข้องใน

   ประเด็นปัญหาการวิจัย    (ถ้ามี)

-  ผู้ทรงคุณวุฒิ/ที่ปรึกษา

 

 

 

 

 

ออกแบบการวิจัย

และเขียนรายงานวิจัย

 

 

 

 

 

 

- คณะวิจัย

- ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย

-  ตัวแทนผู้เกี่ยวข้องใน

   ประเด็นปัญหาการวิจัย  (ถ้ามี)

-  ผู้ทรงคุณวุฒิ/ที่ปรึกษา

-  กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์

 

 

 

เผยแพร่ผลงานวิจัย

 

 

 

 

 

 

-  คณะวิจัย

-  ฝ่ายสนับสนุนด้านทรัพย์สินทางปัญญา

 

คุ้มครองสิทธิ์

 

 

 

 

 

- คณะวิจัย

- ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย/ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา

- กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์

 

 

สร้างโอกาสในการ

นำผลวิจัยไปใช้

 

 

 

 

สิ้นสุด

 

 


ขั้นตอนการทำงานแนวปฏิบัติการสร้างมูลค่าเพิ่มของงานวิจัย                                                                       

ผู้รับผิดชอบ 

ขั้นตอน/กิจกรรม

 

รายละเอียดของขั้นตอน 

- คณะผู้บริหารของสถาบัน

- ผู้รับผิดชอบการบริหารงานวิจัย

- ผู้วิจัยวิจัย

- ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย

1.  กำหนดประเด็นการวิจัย

 

1.1

ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดหรือทบทวนประเด็นการวิจัยโดยศึกษาจากเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น

- นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ

- นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย

   ของหน่วยงาน

- มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา

- กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว

- มาตรฐานการอุดมศึกษา

- อัตลักษณ์  เอกลักษณ์  จุดเน้นของ

  สถาบัน

- แหล่งงบประมาณภายนอกและกรอบ

   การสนับสนุนทุนวิจัย

-  หัวหน้าโครงการวิจัยและคณะวิจัย

-  ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย

-  ผู้ทรงคุณวุฒิ/ที่ปรึกษาโครงการ

2. สร้างทีมวิจัยและเขียนโครงการวิจัย

 

2.1

ประชุมหารือสมาชิกทีมวิจัยและเลือกโจทย์วิจัยที่สอดคล้องกับประเด็นการวิจัยของหน่วยงานและความถนัดของตนเอง

 

 

2.2

ศึกษาและแสวงหาแหล่งทุนภายนอกโดยฝ่ายสนับสนุนการวิจัยนำเข้าข้อมูลและเผยแพร่เงื่อนไขและกรอบทิศทางการวิจัยของแหล่งทุนภายนอกสถาบัน

 

 

2.3

สรรหาสมาชิกทีมวิจัยเพิ่มเติมที่มาจากหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นโจทย์วิจัยและเป็นเจ้าของข้อมูลหรือปัญหาการวิจัย/ สมาชิกจากหน่วยงานที่สนับสนุนทุนวิจัย

 

 

2.4

ฝ่ายสนับสนุนอำนวยความสะดวกและจัดประชุมให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกทีมวิจัยกับผู้ทรงคุณวุฒิ

 

 

2.5

คณะวิจัยเขียนโครงการวิจัยและขอรับคำปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิและปรับแก้ไข

 

 

2.6

ฝ่ายสนับสนุนส่งโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากแหล่งทุน

- คณะวิจัย

-  ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย

 

3. ออกแบบการวิจัยและเขียนรายงานการวิจัย

 

3.1

คณะวิจัยทบทวนความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรอบแนวคิดการวิจัย  

ผู้รับผิดชอบ 

ขั้นตอน/กิจกรรม

 

รายละเอียดของขั้นตอน 

-  ตัวแทนผู้เกี่ยวข้องใน

   ประเด็นปัญหาการวิจัย    (ถ้ามี)

-  ผู้ทรงคุณวุฒิ/ที่ปรึกษา

 

3.2

ฝ่ายสนับสนุนประสานผู้ทรงคุณวุฒิ/ที่ปรึกษาโครงการวิจัยเพื่อจัดประชุมวางแผนดำเนินการวิจัย และสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีมวิจัยกับผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทนผู้เกี่ยวข้องในประเด็นปัญหาการวิจัย/โจทย์วิจัย

 

 

3.3

คณะวิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล และเขียนรายงานการวิจัย

 

 

3.4

ฝ่ายสนับสนุนอำนวยความสะดวกและจัดเวทีให้มีการทวนสอบการตีความจากข้อมูลที่รวบรวมได้ระหว่างคณะวิจัยกับเจ้าของข้อมูล ร่วมกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง

 

 

3.5

ดำเนินการเขียนรายงานการวิจัย

 

 

3.6

ฝ่ายสนับสนุนอำนวยความสะดวกและสร้างโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้วิจัยที่มีการศึกษาในประเด็น/โจทย์วิจัยเดียวกันหรือใกล้เคียงกันและผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์

 

 

3.7

คณะวิจัยดำเนินการปรับปรุงแก้ไขรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

- คณะวิจัย

- ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย

-  ตัวแทนผู้เกี่ยวข้องใน

   ประเด็นปัญหาการวิจัย  (ถ้ามี)

-  ผู้ทรงคุณวุฒิ/ที่ปรึกษา

-  กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์

4. เผยแพร่ผลงานวิจัย

 

4.1

 

 

 

4.2

คณะวิจัยร่วมกับฝ่ายสนับสนุนการวิจัยวิเคราะห์การรับรู้  ศักยภาพและความต้องการใช้ข้อมูลผลวิจัยของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการส่งเอกสารไปเผยแพร่

คณะวิจัย ร่วมกับฝ่ายสนับสนุนการวิจัยวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้จากผลวิจัยให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายโดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งตัวแทนผู้เกี่ยวข้องในประเด็นปัญหาการวิจัย/โจทย์วิจัยเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ความมุ่งหมายในการถ่ายทอดผลวิจัย ภาษาที่ใช้ เนื้อหาที่ถ่ายทอดและสื่อที่ใช้

 

 

4.3

ฝ่ายสนับสนุนอำนวยความสะดวกในการจัดทำสื่อเพื่อเผยแพร่

 

ผู้รับผิดชอบ 

ขั้นตอน/กิจกรรม

 

รายละเอียดของขั้นตอน 

 

 

4.4

คณะวิจัยร่วมกับฝ่ายสนับสนุนการวิจัยดำเนินการเผยแพร่ผลวิจัย

-  คณะวิจัย

-  ฝ่ายสนับสนุนด้านทรัพย์สินทางปัญญา

5. คุ้มครองสิทธิ์

5.1

ฝ่ายสนับสนุนด้านทรัพย์สินทางปัญญา สำรวจ รวบรวม คัดสรรผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถสร้างรายได้ในเชิงธุรกิจ เชิงพาณิชย์ เชิงสาธารณะ

 

 

5.2

คณะวิจัยเขียนเอกสารแบบฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา

 

 

5.3

ฝ่ายสนับสนุนดำเนินการติดต่อประสานกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญา

- คณะวิจัย

- ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย/ ด้านทรัพย์สินทางปัญญา

- กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์

6. สร้างโอกาสในการนำผลวิจัยไปใช้

 

6.1

ฝ่ายสนับสนุนด้านวิจัยและหรือด้านทรัพย์สินทางปัญญาสำรวจชิ้นงาน/ ผลงานที่มีความพร้อมในการดำเนินการด้านการใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะ เชิงธุรกิจ เชิงพาณิชย์ 

 

 

6.2

ฝ่ายสนับสนุนด้านทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับฝ่ายสนับสนุนการวิจัย จัดเวที/ จัดประชุม/จัดนิทรรศการเพื่อสร้างโอกาสให้กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์และผู้วิจัยได้พบกัน เพื่อแลกเปลี่ยน/ ซื้อขาย/นำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะ เชิงพาณิชย์ เชิงธุรกิจ

 

 

6.3

ฝ่ายสนับสนุนการวิจัยติดตามผลการใช้ประโยชน์


                การสร้างมูลค่าหรือการสร้างคุณค่าของงานวิจัยสามารถดำเนินการให้ตลอดทุกขั้นตอนของการวิจัย โดยที่ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญาและคณะวิจัยร่วมมือกันขับเคลื่อน มูลค่าเพิ่มหรือคุณค่าที่เกิดขึ้นบางครั้งไม่ใช่แค่จำนวนเงินแต่เป็นประโยชน์ในเชิงการเรียนรู้ และการพัฒนาทั้งทีมวิจัย ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และสถาบันของผู้วิจัย ซึ่งเป็นประโยชน์ที่มีคุณค่าเหนือสิ่งอื่นใด  

 

"  ไม่ใช่ผลิตผลงานเพื่อขึ้นหิ้ง แต่ผลิตเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า "

 


 

 

หมายเลขบันทึก: 442511เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2011 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ มาเยี่ยมชม มอบภาพลายเส้น จาก http://www.nature-dhrama.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท