ชนิดและลักษณะการแปล


ชนิด/ลักษณะของการแปล

การแปลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด อย่างกว้าง ๆ ดังนี้

1. การแปลตรงตัว (literal translation) – หรือการแปลตามตัวอักษร เป็นการแปลโดยพยายามคงความหมายและโครงสร้างของต้นฉบับไว้มากที่สุด มุ่งความถูกต้องแม่นยําเป็นหลัก แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง (Structure) และการใช้คําบ้าง เพื่อให้เป็นไปตามหลักการใช้ภาษาของภาษาฉบับแปล  การแปลลักษณะนี้ใช้ในกลุ่มนักวิชาการหรือกลุ่มเฉพาะอาชีพที่ต้องการความถูกต้องของ สาระข้อเท็จจริง เพื่อจุดประสงค์ในด้านการศึกษาค้นคว้าหรือการนําไปปฏิบัติ เช่น การแปลฉลากยา ขั้นตอนการทดลอง คู่มือปฏิบัติการเป็นต้น นอกจากนี้ กฎหมายสนธิสัญญาระหว่างประเทศ รายงาน และเอกสารราชการต่าง ๆ ก็ใช้วิธีการแปลแบบตรงตัวเช่นกัน

 

 

 

2. การแปลสรุปความ หรือเอาความ (non-literal translation) – การแปลลักษณะนี้ ไม่ได้มุ่งรักษาโครงสร้าง ตามความหมายหรือรูปแบบของต้นฉบับอย่างเคร่งครัด มีการโยกย้ายขยายความหรือตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงรูปคํ าหรือไวยากรณ์ได้ การแปลลักษณะนี้นิยมใช้กับเรื่องที่ไม่จํ าเป็นต้องรักษาความถูกต้องแน่นอนของต้นฉบับ ใช้ในสื่อมวลชนทุกประเภทโดยเฉพาะเพื่อความบันเทิงผู้แปลอาจอ่านจบทีละย่อหน้า ทําความเข้าใจกับเนื้อหา วิธีคิด จุดมุ่งหมายของผู้เขียนและสิ่งที่ละไว้ในฐานที่เข้าใจ เมื่อสรุปเนื้อหาหลักของต้นฉบับแล้วจึงถ่ายทอดออกมาโดยเรียบเรียบใหม่ และการแปลลักษณะนี้เป็นการแปลที่นิยมแพร่หลาย ตัวอย่างของการแปลลักษณะนี้ คือ การแปลนวนิยายเรื่องสั้น นิทาน บทวิทยุ โทรทัศน์

ลักษณะของภาษาในงานแปลที่ดี

 

ภาษาในการแปลที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

 

1. มีความชัดเจน คือเป็นภาษาที่มีลักษณะกระชับ ไม่ใช้คําที่ไม่จําเป็น รูปประโยคควรเป็นประโยคสั้น ๆ หลีกเลี่ยงโครงสร้างประโยคที่ซับซ้อน สลับที่ ใช้ข้อความที่แสดงความคิดได้แจ่มแจ้ง เช่น ประโยคเดียวแสดงความคิดเดียว ไม่กํากวมหรือชวนให้ตีความได้หลายแง่หลายมุม

2. มีความเหมาะสม ผู้แปลต้องเลือกใช้ลีลาการเขียนให้สอดคล้องกับลักษณะของเรื่องที่จะแปล เช่น ถ้าแปลนวนิยายก็อาจใช้สํ านวนโวหารเหมาะ ๆ ให้เกิดภาพพจน์ได้ แต่ถ้าแปลงานด้านกฎหมายหรือการแพทย์ต้องใช้ศัพท์เฉพาะ และลีลาการเขียนที่สั้น ๆ ไม่ใช้คําหรูหราหรือสํานวนอ้อมค้อมแต่อย่างใด

3. มีความเรียบง่าย ใช้ภาษาที่เรียบง่ายและสัมพันธ์กับความคิดที่กระจ่างแจ้งและต้องตรงตามต้นฉบับ

4. มีความสมเหตุสมผล ในภาษาแต่ละภาษา มีความสมเหตุสมผลต่างกัน เวลาแปลภาษาที่ใช้ก็ต้องให้มีความสมเหตุสมผลเท่า ๆ กับที่ภาษาต้นฉบับมีด้วย

 

คุณสมบัติของนักแปลที่ดี นักแปลที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้ คือ

 

1. ต้องเข้าใจนัย (sense) และความหมาย (meaning) ของผู้เขียนต้นฉบับเป็นอย่างดีว่าผู้เขียนมีจุดประสงค์ อย่างไร ต้องการจะให้อะไรกับผู้อ่าน เพื่อจะได้ถ่ายทอดจุดประสงค์นั้น ๆ ไปยังผู้อ่านฉบับแปลได้ถูกต้อง

 

 

 

2. ผู้แปลต้องมีความรู้ทั้งภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปลอย่างดีเยี่ยม เพื่อจะให้แปลได้อย่างถูกต้อง

3. ผู้แปลควรพยายามเลี่ยงการแปลคําต่อคําอย่างที่สุด มิฉะนั้นจะทําให้ผู้อ่านฉบับแปลไม่สามารถเข้าใจฉบับแปลได้

4. ผู้แปลควรใช้รูปแบบของภาษาที่เป็นมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ และใช้กันอยู่ทั่วไปไม่ใช่คิดคําสแลงใหม่ ๆ ขึ้น หรือใช้คํ าที่ไม่สุภาพไม่เป็นที่นิยม

5. ผู้แปลต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคําสํานวนที่เหมาะสม ให้ถูกต้องกับความหมายตามต้นฉบับและรักษาบรรยากาศ (tone) ของต้นฉบับไว้

          กล่าวโดยย่อก็คือ ผู้แปลต้องเข้าใจภาษาทั้งสอง คือทั้งภาษาต้นฉบับและภาษาฉบับแปลเป็นอย่างดี ต้องมีความรู้และภูมิหลังในเรื่องที่จะแปลพอสมควร ต้องมีความสามารถใช้ภาษาอย่างดีเพื่อที่จะได้ถ่ายทอดความคิดของผู้เขียนต้นฉบับให้ผู้อ่านฉบับแปลรู้เรื่อง เข้าใจและอ่านได้อย่างอรรถรส

ที่มา   http://www.onec.go.th

หมายเลขบันทึก: 442421เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2011 19:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 02:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท