เทคนิคการแปล จากการเดาศัพท์


เทคนิคในการแปล การวิเคราะห์งานแปล การแปลข้อความจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย รวมถึงปัญหาที่มีในการแปล เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจในวิชาการแปลอย่างดี และเห็นการแปลแต่ละประเภทที่หลากหลาย ซึ่งเป็นแนวทางที่จะให้ผู้อ่านนำไปปฏิบัติได้

       หากเราจะแปลงานให้สำเร็จและสละสลวยแล้วเราเองก็ควรที่จะรู้   คำศัพท์  และเทคนิคการเดาศัพท์ ง่ายๆ   มี 2 ขั้นตอนคะ

1. การเดาความหมายจากข้อความแวดล้อม (Context clues)

         ตัวอย่างเช่น Elvis Presley was afraid of being assassinated, and he wore a bullet-proof vest, but he couldn't stay away from the crowds who loved him.

         จากประโยคข้างต้น ความหมายของคำว่า assassinate น่าจะหมายถึง ฆ่า เพราะข้อความที่ตามมาบอกว่า เขาใส่เสื้อเกราะกันกระสุน ดังนั้นสิ่งที่ Elvis Presley กลัวก็น่าจะหมายถึงการถูกฆ่าหรือจากตัวอย่างเช่น

His sister is so indolent. She sleeps late and never does chores unless yelled at.

          คำว่า indolent น่าจะหมายความว่า ขี้เกียจ เพราะจากประโยคที่ตามมาว่าเธอหลับดึกและไม่ทำงานบ้าน นอกจากจะถูกตะโกนสั่ง

1.1  การเดาคำศัพท์โดยดูจากคำเชื่อมที่บอกคำจำกัดความ

      หรือนิยาม (Definition)      

                    คำเชื่อมเหล่านี้ ได้แก่  

                        to be                            be called

                        mean ( gled)                called

                        to be know as              refer to

                        can be defined as        can be thought of

        ตัวอย่างที่ 1

            A body of water surrounded by land is usually called a lake.

            lake         =   a body of water surrounded by land

           ตัวแนะ     =   is called\

 

 

 

 

 

 

        ตัวอย่างที่ 2

            A committee may be defined as any group interacting in regard

            to a common purpose.           

           committee    =  any group interacting in regard

                                     to a common purpose

            ตัวแนะ       =   be defined as

 

 

1.2  การเดาคำศัพท์โดยดูจากคำเชื่อมที่แสดงการพูดซ้ำความหมาย

      (Renaming or Restatement)

                    คำเชื่อมเหล่านี้ ได้แก่

                             or                                   that is to say  ( หรือ i.e.)

                        that is                            in other words

                        to put in another way   viz ( อ่านว่า namely)

 

        ตัวอย่างที่ 1

            You  can take an escalator, or a moving staircase, to go down to the plateform.

            escalator      =    a moving staircase

            ตัวแนะ      =    or

 

        ตัวอย่างที่ 2

            These two circles are concentric. In other words, they have the same center.  

           concentric     =   having the same center

               ตัวแนะ      =   in other words

 

 

 

 

 

 

 

 

1.3 การเดาคำศัพท์โดยดูจากคำเชื่อมที่แสดงการเปรียบเทียบที่คล้ายคลึงกัน

     (Similarity)

 

             คำเชื่อมเหล่านี้ ได้แก่

                        as                                   like

                        as...........as                    alike

                        likewise                         as if

                        similar                            just as

                        just the same as            in the same way

                        comparity                      compared with

                        as though

 

        ตัวอย่างที่ 1

            Like John who loves  to stroll in the park, Jane thinks it is a good

       way to spend an evening walking in the park.

            stroll      =   walking

           ตัวแนะ   =    like

 

        ตัวอย่างที่ 2

            If you invert the letter "W" you will get the letter "M". In the same way,

       you get the letter "u" by turning the letter "n" upside down.           

              invert       =  turning the upside down

            ตัวแนะ       =  in the same way

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.4 การเดาคำศัพท์โดยดูจากคำเชื่อมที่แสดงความขัดแย้ง

     (Contrast and Concession)

                คำเชื่อมเหล่านี้ ได้แก่

                        but/yet                          though / although/

                        eventhough                   however / nevertheless  

                        o¬n the other hand

                        while / whereas             o¬n the contrary                

                        in contrast                     as opposite to

                        in spite of                      despite

          ตัวอย่างที่ 1

            Some people endure great suffering without complaining at all,

        while those who cannot cope with pain complain endlessly.

 

             ประโยคนี้มีคำเชื่อมคือ  while เชื่อมข้อความที่ขัดแย้งกัน ข้อความแรกกล่าวว่า

       บางคน "endure"  ความทุกข์ยากลำบากได้โดยไม่บ่นเลย  ข้อความหลังกล่าวว่า

       แต่บางคนที่ไม่สามารถทนกับความทุกข์ เจ็บปวดได้ (cannot cope with pain)

       จะบ่นโดยไม่มีที่สิ้นสุด (complain endlessly)  ข้อความหลังจะมีความหมายตรงข้าม

       กับข้อความแรก ดังนั้นพอจะเดาได้ว่า  endure  ซึ่งตรงข้ามกับ  cannot cope with

       pain  คือ ทน ทนทาน หรือ bear นั่นเอง  ในพจนานุกรมให้ความหมายคำนี้ไว้ว่า

       bear, put up with ซึ่งใกล้เคียงกับที่เดาไว้นั่นเอง

 

         ตัวอย่างที่ 2

             An elephant is immense, comparing to a mouse.      

        mouse (หนู ) เป็นสัตว์ขนาดเล็ก  (small)

        แต่  elephant   (ช้าง) เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ (big)

          immense =/= small       ( not small /big)

         ดังนั้น  immense = big

 

 

 

 

 

1.5 การเดาคำศัพท์โดยดูจากคำเชื่อมที่แสดงตัวอย่าง (Examplification)

                คำเชื่อมเหล่านี้ ได้แก่

                        e.g./for example

                        for instance                     such as

                        like                                  ex.                 

                        as follows

        ตัวอย่างที่ 1

            Do you participate in o¬ne of the more popular avocations, such as

        jogging, tennis or stamp collecting?

 

        อธิบาย     avocations        เป็นคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย

                          such as             เป็นคำชี้แนะ หรือคำสัญญาณ

                          jogging, tennis, stamp collecting      เป็นตัวอย่างที่ผู้เขียนยกขึ้นมา   

        เพราะฉะนั้น  avocations  ก็คือ งานอดิเรก  (hobbies)  ทั้งนี้เพราะ jogging

                 (การวิ่งเหยาะ ๆ)  tennis และ  stamp collecting  เป็นงานอดิเรกทั้งสิ้น    

        ตัวอย่างที่ 2

            When  you arrange the condiment shelf, put the salt and pepper next

      the paprika.

  

        อธิบาย     condiment           เป็นคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย

                          salt and pepper  เป็นตัวอย่างที่ผู้เขียนยกขึ้นแสดง

              ดังนั้น  condiment          ก็คือ เครื่องปรุงรส ทั้งนี้เพราะ salt (เกลือ)  และ pepper

                                                      เป็นเครื่องปรุงรสอาหาร    

 

                                               

 

 

 

 

 

 

 

1.6 การเดาคำศัพท์โดยดูจากคำเชื่อมที่บอกการอธิบายสาเหตุ

     และความเป็นเหตุเป็นผล (Cause and Effect or Result)

                คำเชื่อมเหล่านี้ ได้แก่

                        because                        since

                        as                                  now that

                        for                                 because of

                        owing to                        due to

                        o¬n account of                therefore

                        as a result                     so

                        that is why                     hence     

 

       ตัวอย่างที่ 1

            The flowers bloomed earlier but are languishing now because of

      the heat and lack of rain .

 

       cause (สาเหตุ)  =  the heat and lack of rain (ความร้อนและขาดฝน)

       effect (ผล)  = The flowers are languishing (ดอกไม้จึง languishing)

 

        ตัวแนะ =  because of

 

         ดังนั้น languishing  จึงน่าจะมีความหมายว่าเหี่ยวเฉา ( withered)

          เพราะความร้อนและขาดฝน

 

           ตัวอย่างที่ 2

            Travellers needed food and shelter for the night, so inns were

      built and markets opened

 

          

 

 

 

 

            cause (สาเหตุ)  =  Travellers needed food and shelter  for

                                            the night

             effect (ผล)        =  inns were built and markets opened

 

              ตัวแนะ  =   so

 

              ดังนั้น shelter จึงแปลว่าที่พักอาศัย ( a place to live in)

             นักท่องเที่ยวต้องการอาหาร  และที่พัก  ดังนั้นจึงมีการสร้าง

             โรงแรมและที่พัก    

 

1.7 การเดาคำศัพท์โดยดูจากเครื่องหมายวรรคตอน (Punctuation)

 

         1. เครื่องหมาย ,  (comma)        2. เครื่องหมาย -- (dash)    

         3. เครื่องหมาย  :  (colon)          4. เครื่องหมาย (  )  (parentheses)    

 

              คำหรือข้อความที่อยู่หลังเครื่องหมายตามข้อ 1 - 3  หรืออยู่ในวงเล็บ

        ตามข้อ 4 บอกความหมายหรือให้ตัวอย่างคำหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า

 

        ตัวอย่างที่ 1

            Deglutition, or swallowing, moves food from the mouth to the stomach.

             ประโยคนี้ข้อความที่ตามหลังเครื่องหมาย , (comma) จะอธิบายคำที่มาข้างหน้า

        คือ   Deglutition  ว่ามีความหมายเดียวกับ swallowing  (กลืน) สำหรับประโยคนี้

        อาจสังเกตตัวแนะ ", or" ร่วมด้วยก็ได้ว่า คำที่มาข้างหน้า    ", or" จะมี    

      ความหมายใกล้เคียงกับคำที่ตามมาหลัง  ดังนั้นสรุปได้ว่า

      Deglutition คือ swallowing  (กลืน)  นั่นเอง

 

        ตัวอย่างที่ 2

            Are you averse --opposed  to the court decision.

 

      

 

 

 

    ประโยคนี้ข้อความที่ตามหลังเครื่องหมาย --(dash)  จะอธิบายคำที่มาข้างหน้า

      คือ averse  ดังนั้นพอจะสรุปได้ว่า  averse  คือ opposed  หรือ ต่อต้าน หรือ

      ตรงข้ามนั้นเอง

 

        ตัวอย่างที่ 3

            Cleaning up waterways is an enormous task: the job is so large, in fact, that the

       government may not be able to save some of the rivers and lakes which have been

       polluted.

             ประโยคนี้เมื่อเห็นเครื่องหมาย : (colon)  ผู้อ่านจะทราบความสัมพันธ์ของ

      ทั้งสองข้อความทันทีว่า สิ่งที่มาข้างหน้าจะมีความหมายใกล้เคียงหรือเท่ากับสิ่งที่

      ตามมาข้างหลัง  ดังนั้น  enormous task ก็คือ the job (that) is so large  (งานใหญ่)

       นั่นเอง

        ตัวอย่างที่ 4

            Catching crooks with pilfered items is indeed difficult; thieves do not often

        hold o¬n to the stolen goods.

 

             คำว่า  pilfered ในข้อความแรกควรจะมีความหมายใกล้เคียงกับคำในข้อความ

      ข้างหลัง pilfered items   คือสิ่งของที่ถูก  pilfered   โดยโขมย (crooks) ก็ควรมี

      ความหมายเหมือนกับ stolen goods (ของที่โขมยมา) นั่นเอง  ดังนั้นสรุปได้ว่า

      pilfered คือ stolen

 

        ตัวอย่างที่ 5

            Here are several comments about the pros and cons (advantages and disadvantages)

        of buying a second-hand car from a dealer.

 

            ในที่นี้มีคำในวงเล็บตามหลังคำว่า pros and cons ทำให้เดาได้ว่า pros

        น่าจะแปลว่า advantages ข้อดี และ cons คือ disadvantages ข้อเสียของการซื้อรถ

      ใช้แล้ว

 

 

 

 

1.8  การเดาคำศัพท์โดยดูจากเนื้อความหรือข้อความที่อยู่รอบ ๆ คำนั้น (context) 

            ขั้นตอนในการเดาคำศัพท์โดยใช้เนื้อความรอบ ๆ หรือบริบท มีดังนี้ 

        1. ดูประเภทของคำ  (part of speech) ว่าเป็น  noun, verb, adjective หรือ adverb

เป็นต้น

        2. พิจารณาความสัมพันธ์ของคำที่ไม่ทราบความหมายกับคำต่าง ๆ ในประโยคนั้น เช่น     ถ้าคำที่ไม่ทราบเป็น noun ลองดูว่ามีคำ adjective ขยายบ้างไหม หรือมี verb ตัวใดเกี่ยวข้องกับ noun นั้นบ้าง หรือถ้าคำนั้นเป็น verb ก็ดูความสัมพันธ์กับ noun ใดบ้าง และมี verb ขยายหรือไม่                                               

        3.พิจารณาความสัมพันธ์ของข้อความหรือประโยคที่มีคำซึ่งไม่ทราบความหมายนั้น

กับข้อความ หรือ  ประโยคอื่น ๆ บางครั้งความสัมพันธ์ของประโยคเหล่านี้อาจมีคำเชื่อม เช่น  but, because,  like,  i.e.ให้เห็นชัดเจนแต่บางครั้งเมื่อไม่มีอาจต้องพิจารณาความสัมพันธ์เอาเองว่า  มันเป็นข้อความที่เป็นเหตุเป็นผลกัน หรือคล้อยตามกัน  หรือขัดแย้งกัน  เป็นต้น

         4. ใช้ข้อมูลที่ได้จากข้อ 1-3 มาพิจารณาความหมายของคำศัพท์นั้น

         5. เมื่อได้ความหมายแล้ว ควรตรวจสอบทบทวนอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าความหมายนั้น

ใกล้เคียงความจริงที่สุด  ด้วยการทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

             5.1 ดูว่าคำหรือข้อความที่เดาได้นั้นเป็นคำประเภทเดียวกับคำศัพท์ตัวนั้น

                  หรือเปล่า เช่น เป็น noun, verb  เหมือนกันหรือเปล่า  ถ้าไม่เหมือนกัน

                   แสดงว่าคงต้องมีอะไรผิดสักอย่าง

             5.2 ให้ลองแทนคำศัพท์นั้นด้วยคำที่เดามาได้ถ้าทำให้ประโยคนั้นมีความหมาย

                   ดีแสดงว่า    คำที่เดามาได้คงจะใช้ได้แล้ว      

  ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้เพื่อฝึกขั้นตอนในการเดาความหมายของคำศัพท์   

               ตัวอย่าง

                   This butter was out of the refrigerator too long; it smells bad

            and must be rancid.                

                        สมมติคำว่า  rancid คือศัพท์ตัวที่ไม่ทราบความหมาย  ลองฝึกการเดา

ตามขั้นตอน ดังนี้

                    1. ดูประเภทของคำ rancid เป็นคำ adjective เพราะตามหลัง verb to be

                    2. ดูว่าเกี่ยวข้องกับคำอื่น ๆ ในประโยคอย่างไร ในที่นี้ rancid  เป็นคำ

                        adjective บอกสภาพของเนย (butter)

                    3. ดูความสัมพันธ์ของข้อความที่สอง (it smells bad and must be rancid)

                        กับข้อความแรก (This butter was out of refrigerator too long)

                    

 

                     ทั้งสองข้อความไม่มีตัวเชื่อมให้เห็นชัดเจน แต่ดูจากความหมายรอบ ๆ

                       ได้ว่า เป็นเหตุเป็นผลกัน เพราะเมื่อนำเนยออกจากตู้เย็นนาน ๆ 

                        ผลคือมันจะมีกลิ่นไม่ดีและต้อง rancid

                    4. เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้วลองเดาความหมายดูในขั้นตอนนี้บางครั้ง

                       อาจใช้ประสบการณ์ช่วยด้วยก็ได้ ลองคิดดูว่าเมื่อเนยอยู่นอกตู้เย็นนาน ๆ

                       นอกจากมันจะอ่อนตัวลง ยังมีกลิ่นไม่ดีแล้วจะบูด เน่า หรือเสียในที่สุด

                        ดังนั้น rancid  น่าจะมีความหมายเท่ากับ บูด เสีย หรือ bad, spoiled นั่นเอง

                    5. ตรวจสอบความหมายที่ได้

                        5.1  ดูประเภทของคำ คำที่เดาได้ว่า bad หรือ spoiled  เป็นคำ adjective

                               เช่นเดียวกับ rancid 

                        5.2  ลองแทนคำว่า rancid  ด้วย bad หรือ spoiled ความหมายที่ออกมา

                              จะได้ว่า

                         .....it smells bad and must be bad or spoiled  คือเนยที่อยู่นอกตู้เย็นนาน ๆ

               จะมีกลิ่นไม่ดีและบูดเสีย ความหมายก็ใช้ได้ดี ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า

               ความหมายที่เดาได้นี้ น่าจะดีที่สุด เมื่อลองตรวจสอบจากพจนานุกรมอีกที

               คำว่า rancid มีความหมายว่า decaying fat and butter; having gone bad

               นับว่าความหมายที่เดาได้นั้นใกล้เคียงที่สุดแล้ว

1.9 การเดาคำศัพท์ด้วยการวิเคราะห์ส่วนขยาย (Modifier type)

           บางครั้งผู้อ่านก็สามารถตีความหมายของคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยได้

      ด้วยการวิเคราะห์ส่วนส่วนขยาย  (modifier) ที่ปรากฏอยู่ในข้อความแวดล้อมนั้น ๆ

      ส่วนขยายที่ปรากฏโดยมากมักจะมีคำขึ้นต้น เช่น who, which, where,  that, with,

      with out หรือวลี (phrase) ที่ขึ้นต้นด้วย verb+ing  หรืออาจจะขึ้นต้นด้วย verb ช่อง 3

     ตามติดคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยนั้นมา ซึ่งผู้อ่านสามารถตีความหมายของศัพท์

    ที่ไม่คุ้นเคยนั้นได้ทันทีจากส่วนขยายที่บ่งบอกเพิ่มเติมไว้นี้

      

 

 

 

 

 

 

 

 ตัวอย่างที่ 1

             Mr. Brown is an anarchist, who think that all governments are bad.

        อธิบาย           

          anarchist    เป็นศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย                        

          who             เป็นคำชี้แนะการเริ่มต้นของส่วนขยาย

          a person who think that all governments

          are bad      เป็นความหมายของศัพท์ไม่คุ้นเคยที่พบอยู่ในส่วนขยาย

          ดังนั้น anarchist ก็คือ บุคคลที่คิดว่ารัฐบาลทุกแห่งเป็นรัฐบาลที่เลว

        ตัวอย่างที่ 2

                Nylon and polyester are synthetic fibers made by man.

        อธิบาย    

           synthetic  เป็นศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย

           made        เป็นกริยาช่อง 3 แสดงส่วนขยาย  ซึ่งหมายความว่า

           that are made

           fibers that are made by man

           เป็นความหมายของศัพท์ไม่คุ้นเคยที่พบอยู่ในส่วนขยาย

           synthetic fiber ก็คือ เส้นใยที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมนุษย์

          ดังนั้น  synthetic  จึงแปลได้ว่า สังเคราะห์

 

        ตัวอย่างที่ 3

              John is a member of an anarchist community  where there are no leaders.

        อธิบาย    

           anarchist community  เป็นศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย

           where      เป็นคำชี้แนะการเริ่มต้นของส่วนขยาย

           a community without any leaders

            เป็นความหมายของศัพท์ไม่คุ้นเคยที่พบอยู่ในส่วนขยาย

           ดังนั้น anarchist community ก็คือ ชุมชนที่ไร้ผู้นำ

 

 

 

 

 

2.  การเดาความหมายโดยวิธีแยกรากศัพท์

         เราอาจแยกส่วนประกอบของคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ยาวๆ ออกเป็น Prefix, Root และ/หรือ Suffix โดยที่ Prefix หมายถึง คำที่วางหน้าส่วน Root (รากศัพท์) แล้วทำให้เกิดความหมายหรือทำให้ความหมายของ Root นั้นเปลี่ยนไป เช่น          

Re- = again :

Reuse = use again

Reload = load again

Reheat = heat again

 

Inter- = between :

Interact = act in between

 

En- or Em- + adj. = to make :

Ensure = to make sure

Enlarge = to make large

 

En- or Em- + n. or v. = to put into or o­n :

Endanger = to put into danger

Empanel = to put in a panel

 

         ส่วน Root หรือรากศัพท์ เป็นส่วนที่เราต้องเพ่งความสนใจเป็นพิเศษเพราะมันเป็นส่วนที่ให้ความหมายหลัก แต่ก็เป็นส่วนที่เราต้องจำมากที่สุดด้วย เช่น

aqua = water : Aquarium = an artificial pond for water creatures

fact = make,do : Manufacture = to make (goods) using machinery

ject = throw : Trajectory = a path of something thrown in the air

vert = turn,change : Convert = to change from o­ne form to another

port = carry : Portable = that can be easily carried

 

 

 

 

 

         สุดท้ายก็เป็น Suffix ซึ่งเป็นส่วนที่บอกถึงหน้าที่ (Part of speech) ของคำนั้นๆ เช่น

 

Portable (adjective) = that can be easily carried

Portably (adverb) = in the way that can be easily carried

Portage (noun) = (cost of) carrying goods ; carrying boats

Portative (adjective) = of carrying ; able to be carried

 

         อย่างไรก็ตาม การเดาความหมายโดยวิธีแยกรากศัพท์นี้ไม่สามารถใช้ได้กับคำศัพท์ทุกคำ เพราะคำบางคำ มีที่มาจากคำเฉพาะของมันเอง ไม่ได้เกิดจากการประกอบกันของ Prefix, Root และ Suffix ดังกล่าว เช่นคำว่า Injury (n) แปลว่า การบาดเจ็บ ไม่ได้เกิดจากคำว่า In (ที่เราอาจเผลอคิดไปว่าเป็น Prefix) ต่อกับคำว่า Jury

(ที่เราคิดว่าเป็น Root) ที่แปลว่าคณะลูกขุน จะเห็นว่า Injuryไม่ได้มีความหมายเกี่ยวอะไรกับคณะลูกขุนเลย เป็นต้น

 

**ถ้าเราวิเคราะห์ให้ลึกๆ อีกที เราจะทราบว่าเมื่อเราทดลองแยกรากศัพท์แล้วส่วนของ Root ที่ถูกแยกออกจาก Prefix และ Suffixมักจะเป็นรากศัพท์ของกรีกหรือลาตินซึ่งไม่ได้มีความหมายตรงกับความหมายของคำๆนั้นเมื่อเป็นคำภาษาอังกฤษโดยตัวมันเองตัวอย่างเช่น         

Tangent(n) = a straight line that touches the outside of a curve

        

ซึ่งสามารถแยกออกเป็น Root ซึ่งก็คือ Tang เป็นรากศัพท์หมายถึง touch แต่คำว่า Tangนี้เองก็เป็นคำในภาษาอังกฤษโดยตัวมันเองซึ่งแปลว่า รสชาด(เปรี้ยว)จี๊ดหรือกลิ่นฉุน จะเห็นว่าคำแปลของ Tangent นั้นไม่เกี่ยวข้องกับรสชาติหรือกลิ่นฉุนเลย

**จุดนี้เราต้องแยกให้ออก คราวนี้มาถึงขั้นตอนของการแยกรากศัพท์ ขั้นแรกต้องแยก Prefix หรือ Suffix ออกไปก่อน โดยนึกถึง Prefix/Suffix ที่เราคุ้นเคย แล้วจึงค่อยมาพิจารณา Root ทีหลัง บางครั้งเราอาจต้องใช้วิธีทดลองแยกหลายๆ แบบ ถ้าเราไม่รู้จัก Prefix/Suffix นั้นๆ เช่น คำว่า Dermatitis ถ้าแยกเป็น De- + rmat + -itis เพราะคิดว่าคำนี้มี Prefix เป็น De- (หมายถึงทำให้เลวลง,ลดลง) และ Suffix เป็น -itis (หมายถึงการอักเสบ) จะเห็นว่า Root "rmat"นั้นไม่มีความหมาย หรือถ้าแยกเป็น Derm- + atit + is โดยคิดว่า Derm- เป็น Prefix ที่แปลว่าเกี่ยวกับผิวหนัง Root "atit" และ Suffix "is" ก็ไม่มีความหมายอีกที่จริงแล้วต้องแยกเป็น Dermat- + itis โดย Dermat- เป็น Root

 

 

 

 

แปลว่าผิวหนังหรือเกี่ยวกับผิวหนัง ส่วน -itis เป็น Suffix หมายถึงการอักเสบ เพราะฉะนั้นคำว่า Dermatitis ก็คือการอักเสบของผิวหนัง นั่นเอง

**สังเกตว่าคำนี้ไม่มี Prefix   ดังนั้นจะเห็นว่า คนที่มีความรู้เรื่อง Root, Prefix และ Suffix มากๆ จะสามารถเข้าใจความหมายของคำศัพท์มากมาย

         Prefixes

        คำศัพท์ที่มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกมักมี Prefix ทำหน้าที่เป็น Preposition ซึ่งจะลงท้ายด้วยสระ ถ้า Root ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยสระด้วย จะเกิดการลดรูปโดยตัดสระท้าย Prefix นั้นทิ้ง (ยกเว้น Peri-) เช่น Prefix "meta-"ถ้านำหน้า Root "morphosis" เกิดคำว่า metamorphosis แต่ถ้านำหน้า "encephalon"จะเกิดคำว่า metencephalon แต่คำว่า Peri-(รอบๆ) รวมกับ Otic (เกี่ยวกับหู) ก็ยังเป็น Periotic ที่แปลว่า รอบๆหู

ส่วน Prefix ที่มาจากภาษาลาตินอาจเปลี่ยนพยัญชนะท้ายตามพยัญชนะที่ขึ้นต้นของ Root เพื่อให้การออกเสียงคำนั้นง่ายขึ้น เช่น Prefix "ad-" รวมกับ Root+Suffix "finity"จะกลายเป็น Affinity หรือ Prefix "in-"กับ Root+Suffix "radiation" กลายเป็น Irradiation เป็นต้น

         คำประกอบโดยทั่วไป ถ้า Root หรือ Suffix ที่ตามมาขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ก็มักจะมีการเติม "o" หรือ "i"ระหว่างกลาง เช่น Aerosol ที่แปลว่า คอลลอยด์ที่มีตัวกลางเป็นแก๊ส มาจาก Aer-

 

(อากาศ) + o + -sol (คอลลอยด์ชนิดหนึ่ง) หรือ Lumbocostal ที่แปลว่าเกี่ยวกับส่วนเอวต่อกับซี่โครง มาจาก Lumb- (เอวหรือสีข้าง) + o + -costal (เกี่ยวกับกระดูกซี่โครง) หรือ Curvilinear ที่แปลว่า เป็นเส้นโค้งมาจาก Curv- (เส้นโค้ง) + i + -linear (เป็นเส้น)เป็นต้น

ที่มา  http://inter.eduzones.com

 

 

หมายเลขบันทึก: 442418เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2011 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท