การพัฒนาบทเร่ียนบนเว็บ(บทที่2)


สรุปบทที่ 2

การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web – Based Instruction)

ความหมายของบทเรียนผ่านเว็บ

นักวิชาการและนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมาย ดังนี้

วิชุดา รัตนเพียร (2542) ได้ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการนำเสนอ

โปรแกรมบทเรียนบนเว็บเพจ โดยการนำเสนอผ่านบริการเวิร์ล ไวด์ เว็บ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ออกแบบและสร้างโปรแกรมการสอนผ่านเว็บจะต้องคำนึงถึงความสามารถและบริการที่หลากหลายของอินเทอร์เน็ต และนำคุณสมบัติเหล่านั้นมาใช้เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนมากที่สุด  ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า ลักษณะการเรียนการสอนผ่านเว็บนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

ตามวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อสนับสนุนด้านการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ การนำเครื่องมือสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตช่วยในการสืบค้นและเข้าถึงข้อมูล การใช้คุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหา และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง และการจำแนกโครงสร้างของเว็บตามคุณประโยชน์ของการใช้เว็บในด้านต่างๆ

ประโยชน์การเรียนการสอนผ่านเว็บ

การเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้อย่างอิสระ ส่งเสริม

การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ช่วยสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ การช่วยเหลือ และการ

ร่วมมือกัน

กิดานันท์ มลิทอง (2543) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเว็บดังต่อไปนี้

1. ขยายขอบเขตของการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกหนแห่งจากห้องเรียนปกติไปยังบ้านและที่

ทำงานทำให้ไม่เสียเวลาในการเดินทาง

2. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนรอบโลกในสถานศึกษาต่างๆ ที่ร่วมมือกันได้มีโอกาส

ได้เรียนรู้ได้พร้อมกัน

3. ผู้เรียนควบคุมการเรียนตามความต้องการและความสามารถของตนเอง

4. การสื่อสารโดยใช้อีเมล์ (กระดานข่าว การพูดคุยสด ฯลฯ ทำให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวาขึ้น

กว่าเดิม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนช่วยเหลือกันในการเรียน

5. กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการสื่อสารในสังคม และก่อให้เกิดการเรียนแบบร่วมมือ ซึ่งที่จริงแล้ว

การเรียนแบบร่วมมือสามารถขยายขอบเขตจากห้องเรียนหนึ่งไปยังห้องเรียนอื่นๆ ได้ โดยการ

เชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต

6. การเรียนด้วยสื่อหลายมิติทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาได้ตามความสะดวก โดย

ไม่ต้องเรียงลำดับกัน

7. การเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นวิธีการที่ดีเยี่ยมในการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ของ

สถานการณ์จำลอง ทั้งนี้เพราะสามารถใช้กราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ในลักษณะที่

ใกล้เคียงกับชีวิตจริงได้

8. ข้อมูลของหลักสูตรและเนื้อหารายวิชาสามารถหาได้โดยง่าย

9. การเรียนการสอนมีให้เลือกทั้งแบบประสานเวลา คือ เรียนและพบกับผู้สอนเพื่อปรึกษา

หรือถามปัญหาได้ในเวลาเดียวกัน และแบบไม่ประสานเวลา คือเรียนจากเนื้อหาในเว็บเพจและติดต่อผู้สอนทางอีเมล์

คำสำคัญ (Tags): #เทคโนโลยี
หมายเลขบันทึก: 442372เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2011 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 00:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท