460 เข้าใจเข้าถึงอินเดีย...ต้องเข้าใจคริกเก็ต (5)


กติกา

 

 

ความหมายทั่วไปที่ต้องรู้ก่อนเข้าใจวิธีเล่น

คริกเก็ตใช้ผู้เล่นทีมละ 11 คน เล่นในสนามรูปวงรี (เกือบกลม)   มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวระหว่าง 450 ฟุต(137 เมตร) - 500 ฟุต (150 เมตร)

นี่คือภาพสนามคริกเก็ตมองจากมุมสูง สี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ สีน้ำตาลตรงกลางคือลานพิช

ยังไม่ต้องดูรายละเอียดในภาพ รู้เพียงว่านี่คือสนามสำหรับเล่นคริกเก็ต พื้นสนามส่วนใหญ่เป็นหญ้าคล้ายสนามฟุตบอล เส้นเขตรอบนอกคือเส้นที่กำหนดเขตสนามซึ่งจะแสดงว่าหากลูกบอลออกนอกเส้นเขตนี้ก็เท่ากับลูกออกนอกเขตซึ่งมีผลต่างๆ กัน 

เส้นรอบในคือเส้นที่ทีมฝ่ายผู้ขว้างมักจะยืนตามจุดต่างๆ เพื่อรอดักรับลูกที่ผู้ตีตีออกไป

  

 

ลานพิช

ตรงกลางสนามมีลานสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ สำหรับขว้างและตีลูก ขนาดกว้าง  10 ฟุต ยาว 20.12 เมตร  (โดยประมาณ) ที่เรียกว่าพิช Pitch ปลายทั้งสองด้านมีเสาไม้ 3 เสาตั้งเรียงกันเป็นแถวเรียงสาม เรียกว่า Stemps ตั้งไว้ ระหวางเสาทั้ง 3 มีไม้เล็กๆ 2 ชิ้นวางขัดไว้ เรียกว่า Bail รวมเสาทั้ง 3 และไม้ เรียกว่ารวมว่า wicket (ดูภาพประกอบ)

ในภาพข้างบนเราจะเห็นทีมชุดสีน้ำเงินเป็นฝ่ายขว้าง ผู้เล่นคนหนึ่งกำลังขว้างลูกคริกเก็ตเข้าใส่ผู้ตีชุดสีเหลืองซึ่งเป็นฝ่ายตี 1 คนที่ยืนรอตีลูกอยู่อีกปลายหนึ่งของลาน และผู้ตีชุดสีเหลืองอีกคนหนึ่งยืนรออยู่ที่แนวไม้ 3 อันข้างเดียวกับผู้ขว้าง ในขณะที่ผู้เล่นชุดสีน้ำเงินอีก 2 คน ยืนรอรับลูกข้างหลังผู้ตี สำหรับคนที่ใส่เสื้อสีฟ้ามีหมวกสีขาวคือกรรมการ

 

นี่คือไม้ 3 อันรูปร่างและมีลักษณะดังภาพ ช่องไฟระหว่างไม้ทั้ง 3 ต้องมีระยะเล็กกว่าขนาดของลูกคริกเก็ต ลูกบอลที่ถูกขว้างมาหากตรงแนวที่ไม้ทั้งสามตั้งอยู่ โดนลูกไม้จะล้ม ไม้ขัดจะกระเด็นออก เรียกว่าโดนทำวิกเก็ต มีผลให้ผู้ตีต้องถูกปรับออกไปทันที

 

ภาพผู้ตี Batsman ยืนประจำอยู่หน้าไม้ 3 อันในลานพิช ในลักษณะยืนหันข้าง ไม้อยู่ในมือ เตรียมพร้อมที่จะตีลูกที่จะถูกขว้างจากผู้ขว้างทีมตรงข้าม สังเกตุผู้ตีใส่หมวกกันมีโครงเหล็กกันตรงใบหน้า ใส่ถุงมือ มีไม้ตี มีที่ป้องกันขาถึงเข่า เพราะลูกคริกเก็ตที่ขว้างนี้ จะแรงมาก หากไม่มีสติ ผู้ตีอาจโดนลูกที่กระดอนจากพื้นกระทบส่วนต่างๆ ของร่างกายทำให้บาดเจ็บได้ จึงต้องมีเครื่องป้องกันร่างกาย

ตอนนี้ก็รู้แค่นี้ก่อนครับ ก่อนจะถึงวิธีเล่นในตอนต่อไป

*ขอบคุณภาพจากวิกิพีเดีย

คำสำคัญ (Tags): #คริกเก็ต
หมายเลขบันทึก: 442146เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2011 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท