สรุปการบ้าน 5


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, สรุปผลการวิจัย

บทที่ 5

สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการวิจัย

                ผลการวิจัย

                ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ได้ตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด

                คะแนนของนักเรียนหลังจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำศัพท์  ภาษาอังกฤษ สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

ข้อเสนอแนะ

                ข้อเสนอแนะทั่วไปจากการวิจัยครั้งนี้

                1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เป็นสื่อการเรียนการสอนที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เพื่อเพิ่มทักษะทางภาษาอังกฤษโดย ผู้เรียนสามารถเรียนรู้คำศัพท์จากบทเรียนและฝึกฝนจากแบบฝึกหัด ทดสอบความรู้หลังจากที่เรียนแล้ว คำศัพท์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยทั่วไปเป็นคำศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการนำเสนอภาพคำศัพท์ จะมีส่วนสำคัญที่จะสร้างความกระจ่างและชัดเจนในเนื้อหาบทเรียน ยังผลให้เกิดความเข้าใจแก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดีและสามารถนำไปใช้บูรณาการในวิชาต่าง ๆ เช่น การวาดภาพในวิชาศิลปะ เป็นต้น

                2. การนำเสนอภาพในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในเรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  ภาพที่นำมาเสนอต้องใกล้เคียงหรือเหมือนจริง ทั้งขนาดและลักษณะเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในภาพที่นำเสนอและสามารถนำไปสังเคราะห์ใช้ได้เมื่อพบเห็นของจริง

                3. สามารถพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยเพิ่มเนื้อหาบทเรียนให้มากขึ้น หรือเพิ่มเนื้อหาคำศัพท์ในเรื่องต่าง ๆ เช่น ด้านกีฬา เสื้อผ้า ผักและผลไม้  เพื่อให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น

                4. สามารถนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ไปใช้ร่วมในการสอนในสถานศึกษาอื่น ๆ ที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องคำศัพท์ หรือนำไปเป็นแนวทางให้ผู้สอนหรือวิทยากรนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้ต่อไป

                5. การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครูผู้สอนยังคงมีบทบาทสำคัญที่ต้องคอยชี้แนะ แนะนำการใช้บทเรียน ให้เรียนอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ก่อให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนด้วยเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ในเรื่องต่าง ๆ

                6. การใช้โปรแกรม Swish Max ในการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ผู้วิจัยพบว่าเราสามารถออกแบบให้มีการดำเนินบทเรียนได้เช่นเดียวกับโปรแกรม Flash อาจจะไม่ต้องใช้คำสั่งยุ่งยากมากมายเช่นเดียวกับโปรแกรม Flash แต่สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวและตัวอักษรให้เคลื่อนไหวได้ วางลำดับขั้นตอนโดยใช้ time line ในการดำเนินบทเรียน แต่สำหรับผู้วิจัยแล้วใช้โปรแกรม Swish Max สร้างบทเรียนเป็นฉาก ๆ (scene) เช่น การนำเข้าสู่บทเรียน การแจ้งวัตถุประสงค์ การเลือกเมนู หรือใช้เป็นตอนจบบทเรียน เป็นต้น แล้วจึง export file ออกมาใช้กับโปรแกรม Flash  เพราะเมื่อดำเนินการสร้างโดยใช้โปรแกรม Swish Max เพียงอย่างเดียว โดยตลอดบทเรียนแล้ว อาจจะเกิดปัญหา เช่น การสะดุด ไม่ต่อเนื่องของการดำเนินบทเรียน  แต่อย่างไรก็ตามโปรแกรม Swish Max สามารถใช้ได้สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์มากนักแต่ต้องการสร้างบทเรียนหรืองานที่ต้องการให้มีการเคลื่อนไหว สามารถใช้โปรแกรม Swish Max ได้แล้วจึงนำไปประยุกต์ใช้กับโปรแกรมอื่น เช่น Authoware เป็นต้น

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

                1. ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้วิจัยควรเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ให้พร้อม เช่น เนื้อหา ภาพ เสียงประกอบ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการสร้างบทเรียน

                2. ผู้วิจัยควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมที่จะใช้ในการสร้างบทเรียน ข้อดีและข้อจำกัด และความเหมาะสมของการใช้โปรแกรมในการจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อให้การดำเนินเนื้อเรื่อง บทเรียน แบบฝึกหัด และแบบทดสอบเป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งจะส่งผลให้บทเรียนนั้นเกิดประสิทธิภาพกับผู้เรียนอย่างแท้จริง

                3. ควรสนับสนุนให้มีการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในสาระต่าง ๆ หรือควรผลิตสื่อในรูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระดับชั้นอื่น ๆ รวมทั้งใช้ในการสอนซ่อมเสริมเพื่อผู้เรียนสามารถเรียนรู้โดยไม่จำกัดเวลา และสามารถเรียนได้ตามความสามารถของตนเอง อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้โดยไม่จำกัด

                4. ควรศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพทางการเรียนของผู้เรียน ศึกษารูปแบบ และวิธีการนำเสนอที่มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม เจตคติทางการเรียน ความคงทนในการจำเนื้อหาวิชาของผู้เรียนในการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ หรือสื่อประสมในลักษณะเดียวกัน

                5. ควรพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะ e-learning โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่

สรุปผลการวิจัยได้ว่า

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการเพิ่มทักษะทางการเรียน  ส่งผลให้เกิดความเข้าใจแก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

2. การนำเสนอภาพในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในภาพที่นำเสนอและสามารถนำไปสังเคราะห์ใช้ได้ชีวิตประจำวัน

3. การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครูผู้สอนยังคงมีบทบาทสำคัญที่ต้องคอยชี้แนะ แนะนำการใช้บทเรียน ให้เรียนอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเรียน

หมายเลขบันทึก: 442091เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2011 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท