สรุปการบ้าน 2


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, เอกสารที่เกี่ยวข้อง

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

       คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษ Computer-assisted Instruction หรือเรียกชื่อย่อว่า CAI นอกจากคำนี้แล้ว มีคำหลายคำที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด (concept) ของ CAI เช่น Computer-aided Instruction (CAI) เป็นศัพท์เดิมจากประเทศสหรัฐอเมริกามีความหมายว่า  การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วย แต่ในประเทศแถบทางยุโรปจะใช้คำว่า Computer-based  Training (CBT) ซึ่งหมายถึง การสอนโดยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ส่วนคำว่าComputer-aided Learning (CAL) หมายถึงการเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วย และ Computer-based Education (CBE) หมายถึง การเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการให้ (มนต์ชัย เทียนทอง, 2545)

ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

       คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อช่วยขยายขอบเขตความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนและความสามารถในการสอนของครู โดยการนำสื่อประสมเข้ามาช่วยในการนำเสนอ เช่น ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหวและเสียงเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว  ผู้เรียนสามารถดำเนินการเรียนรู้ตามการนำเสนอของบทเรียน ซึ่งจะออกแบบให้ผู้เรียนได้รับผลย้อนกลับตามการตอบสนองของตนและเมื่อเรียนจบ ผู้เรียนจะได้รับการประเมินผลการเรียนรู้ของตนและทราบผลของการเรียนรู้ของตน สามารถตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา  นอกจากนี้ยังเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

หลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามแนวคิดของ กาเย่ (Robert Gangné)

       1. เร่งเร้าความสนใจ (gain attention)

       2. บอกวัตถุประสงค์ (specify objective)

       3. ทบทวนความรู้เดิม (activate prior knowledge)

       4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (present new information)

       5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (guide learning)

       6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (elicit response

       7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (provide feedback

       8. ทดสอบความรู้ใหม่ (assess performance

       9. สรุปและนำไปใช้ (review and transfer)

ทฤษฎีการเรียนรู้

       ทฤษฎีการเรียนรู้อาจจำแนกได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

       1. กลุ่มพฤติกรรมนิยมหรือกลุ่มเชื่อมโยง (Association Theories or Stimulus –Response Theories)

       2. กลุ่มทฤษฎีสนาม (The Organismic, Gestalt, Field or Cognitive Theories)

       3. กลุ่มทฤษฎีสังคม (Social Learning Theory)

การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา

       หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศพุทธศักราช 2544 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2544)

        ช่วงชั้นที่ 3 (จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3)

       1. เข้าใจและใช้ภาษาต่างประเทศ แลกเปลี่ยนและนำเสนอข้อมูลข่าวสาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แสดงความรู้สึกนึกคิด และความคิดรวบยอด โดยใช้น้ำเสียง ท่าทางในรูปแบบที่เหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ

       2. มีทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศเน้นการฟัง-พูด-อ่าน ตามหัวเรื่องเกี่ยวกับตนเองครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เวลาว่างและสวัสดิการ การซื้อขาย ลมฟ้าอากาศ การศึกษาและอาชีพ การเดินทางท่องเที่ยว การบริการสถานที่ ภาษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายในวงศัพท์ ประมาณ 2,100-2,250 คำ (คำศัพท์ที่เป็นนามธรรม มากขึ้น)

       3. ใช้ประโยคผสม (compound sentence) และประโยคซับซ้อน (complex sentence) สื่อความหมายตามบริบทต่าง ๆ ในการสนทนาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

       4. อ่าน เขียน ข้อความที่เป็นความเรียงและไม่เป็นความเรียง ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่มีตัวเชื่อมข้อความ (discourse markers)

       5. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางภาษา และชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าของภาษาตามบริบทของข้อความที่พบตามระดับชั้น

       6. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ สืบค้นข้อมูลความรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ที่เรียนตามความสนใจและระดับชั้น

       7. ฝึกฝนการใช้ภาษาต่างประเทศทั้งในและนอกโรงเรียน เพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง หาความเพลิดเพลินและเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

        งานวิจัยในประเทศ

       เกศสุดา รัชฎาวิศิษฐกุล (2547) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อรูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผลการวิจัยรูปแบบการเรียนการสอนมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และยังมีเจตคติและแรงจูงใจ ที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษสูงขึ้น 

       ณัฐธยาน์ อ่อนมั่น (2547) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพ  81.78/81.78 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

        งานวิจัยต่างประเทศ

       Liu (1992) ศึกษาผลการสอนโดยใช้ Hypermedia คือคอมพิวเตอร์ ร่วมกับวีดิโอดิสก์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ คำศัพท์ ในกลุ่มผู้เรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ซึ่งผลปรากฏว่าหลังการทดสอบหลังเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่เพียงแต่เพิ่มจำนวนคำศัพท์เท่านั้น แต่ยังพัฒนาความสามารถในการใช้คำศัพท์อย่างเหมาะสม

       Mayer (1997) ได้วิเคราะห์ข้อความในรายวิชาการเรียนภาษาที่คัดเลือกมาจากบางกลุ่มการเรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการแนะนำ สำหรับครูผู้สอนภาษาต่างประเทศผลการวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาเครื่องมือที่ได้ปรับปรุงเป็นผลสำเร็จ เพื่อการวิเคราะห์ข้อความสำหรับโปรแกรมการสอนภาษาที่สมบูรณ์

       จากผลการวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ จะเห็นว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ใช้เวลาในการเรียนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการสอนแบบปกติอีกทั้งยังตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล การนำเสนอที่น่าสนใจและรูปแบบแปลกใหม่ของบทเรียน จึงทำให้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้รับความสนใจจากนักวิจัยและนักการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

        สรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถดำเนินการเรียนรู้ตามการนำเสนอของบทเรียน ซึ่งจะออกแบบให้ผู้เรียนได้รับผลย้อนกลับตามการตอบสนองของตนและเมื่อเรียนจบ ผู้เรียนจะได้รับการประเมินผลการเรียนรู้ของตนและทราบผลของการเรียนรู้ของตน

หมายเลขบันทึก: 442058เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2011 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท