การศึกษา


การศึกษา

การศึกษาทางเลือก (Alternative Education) เป็น การศึกษาเชิงอุดมคติ เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะของรูปแบบการศึกษาที่ไม่ใช่การศึกษาแบบเดิม มักจะถือว่าเป็นโรงเรียนอิสระ (Free School) หรือ เป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ไม่มีสถาบันการศึกษา (non-institutional) และยึดหลักชุมชนเป็นหลัก (Community-based) ลดบทบาทของการจัดการศึกษาในรูปแบบโรงเรียน และหากเป็นการจัดการศึกษาในโรงเรียน ก็จะเป็นการจัดการศึกษาแบบก้าวหน้า (Progressive)

ล่าสุด จากรายงานติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (สกศ., อ้างแล้ว) ได้รวบรวมค้นหานิยามความหมายทางการศึกษาทางเลือก จากเว็บไซต์หลายแห่งจากหลายประเทศ ซึ่งสุดท้าย กล่าวโดยสรุป ในต่างประเทศ ได้ให้ความหมายการศึกษาทางเลือกที่สอดคล้องโดยส่วนใหญ่ว่า

“การ ศึกษาทางเลือก เป็นรูปแบบการศึกษาที่ไม่ใช่ หรือต่างจากรูปแบบการศึกษากระแสหลัก มีปรัชญาการศึกษาใหม่ที่มีรากฐานมาจากปรัชญาที่หลากหลายและไม่ยึดติดกับ ปรัชญาดั้งเดิม โดยมีการเรียนการสอนที่มีขอบเขตกวย้างขวางและหลากหลายรูปแบบมากกว่าการศึกษา กระแสหลัก ที่ยึดความต้องการของบุคคลและชุมชนเป็นหลัก”

สำหรับ ในประเทศไทย รายงานการวิจัยเรื่อง “การศึกษาทางเลือก : ฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ โดย สุชาดา จักรพิสุทธิ์และคณะ (อ้างแล้ว) ที่พยายายามให้นิยามความหมายของการศึกษาทางเลือกในบริบทสังคมไทย ในช่วงที่การศึกษาทางเลือกยังถูกมองว่า “เถื่อน” (คำของผู้วิจัย) ในความหมายของทางราชการ คือไม่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาชาติ

ความ พยายาม ในการให้นิยามความหมาย การศึกษาทางเลือกของสังคมไทยในงานวิจัยของสุชาดาฯ ได้ใช้วิธีการจัดกลุ่มระดมความคิด (Focus Group) แยกตามภูมิภาค จากโจทย์การศึกษาทางเลือก คืออะไร ได้คำตอบดังนี้

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 441479เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2011 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท